ในอนาคต กล้วยอาจกลายเป็นผลไม้ที่หายาก เนื่องจากภูมิภาคลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ซึ่งเป็นแหล่งส่งออกกล้วยหลักของโลก กำลังเผชิญกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง ทั้งอุณหภูมิที่สูงขึ้น ภัยแล้ง พายุ และโรคพืชที่เพิ่มมากขึ้น กล้วยที่เรารับประทานกันส่วนใหญ่ในปัจจุบันคือพันธุ์คาเวนดิช ซึ่งมีความหลากหลายทางพันธุกรรมต่ำ ทำให้เสี่ยงต่อการล้มตายจากโรคปานามา ซึ่งเป็นเชื้อราร้ายแรงที่กำลังแพร่ระบาดในพื้นที่ปลูกกล้วยหลักของโลก
องค์กร Christian Aid และผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้มีการดำเนินการเร่งด่วน ทั้งจากประเทศที่พัฒนาแล้วให้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และจากภาคอุตสาหกรรมอาหารให้ทบทวนระบบการผลิต ปรับตัวให้ยั่งยืนขึ้น และให้ความเป็นธรรมกับเกษตรกร นอกจากนี้ ผู้บริโภคสามารถช่วยได้ด้วยการเลือกซื้อกล้วยแฟร์เทรดหรือกล้วยออร์แกนิก ซึ่งช่วยสนับสนุนรายได้ของเกษตรกรและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม&ldquoกล้วย&rdquo เป็นพืชอาหารที่ได้รับความนิยมและเป็นที่คุ้นเคยของผู้คนทั่วโลก
ผู้เชี่ยวชาญเสนอให้เร่งวิจัยกล้วยพันธุ์ใหม่จากแหล่งพันธุกรรมที่ยังไม่ถูกใช้อย่างเต็มที่ โดยใช้เทคโนโลยีการตัดแต่งพันธุกรรมและการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์กล้วยที่แข็งแรง ทนต่อโรค และสภาพอากาศในอนาคตได้ดีขึ้น เพื่อความมั่นคงด้านอาหารของโลกในระยะยาว