img
:::
กิจกรรมยามว่าง

การรับประทานอาหารในช่วงดึกลดความสามารถในการเผาผลาญแคลอรี นอนหลับไม่สนิท ทำให้ร่างกายมีไขมันสะสม

การรับประทานอาหารในช่วงดึกลดความสามารถในการเผาผลาญแคลอรี นอนหลับไม่สนิท ลดพลังงาน และทำให้ร่างกายมีไขมันสะสม ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
การรับประทานอาหารในช่วงดึกลดความสามารถในการเผาผลาญแคลอรี นอนหลับไม่สนิท ลดพลังงาน และทำให้ร่างกายมีไขมันสะสม ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ ‘THE STANDARD’ ระบบเผาผลาญในร่างกายมนุษย์ล้วนมีเวลาการทำงานอย่างชัดเจน จากการศึกษาใหม่เกี่ยวกับ ‘เวลาในการกินอาหารเย็น’ สามารถสร้างความแตกต่างอย่างมากต่อสุขภาพมนุษย์ และพบว่าการกินอาหารดึกอาจทำให้หิวมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม: สวนวชิรเบญจทัศหรือสวนรถไฟดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ซากุระเมืองไทยกำลังบานเต็มพื้นที่สวยงามมากๆ

การศึกษาก่อนหน้านี้โดย Frank A.J.L. Scheer, Ph.D. ผู้อำนวยการโครงการ Medical Chronobiology ใน Brigham and Women’s Hospital’s Division of Sleep and Circadian Disorders แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ต่อการกินอาหารดึกที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงโรคอ้วน ไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น และการลดน้ำหนักที่บกพร่อง

แต่สำหรับการศึกษาใหม่ตั้งใจที่จะให้ความสำคัญไปที่ ‘การเผาผลาญของเซลล์’ พบว่าการกินอาหารในช่วงดึกสามารถทำอะไรได้มากกว่าการลดความอยากอาหารเพียงชั่วคราว นักวิจัยได้ควบคุมปริมาณแคลอรี ตารางมื้ออาหาร และตารางการนอนหลับของอาสาสมัครทั้ง 16 คนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน แต่มีการวางแผนอย่างรอบคอบเพื่อขจัดสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกเริ่มกินอาหารเวลา 08.00 น., 12.00 น. และ 16.00 น. ส่วนกลุ่มที่สองเริ่มเวลา 12.00 น., 16.00 น. และ 20.00 น.

อ่านข่าวเพิ่มเติม: FUNNY BUNNY ร้านคาเฟ่ที่เปิดขึ้นเพื่อเลี้ยงดูกระต่ายที่ถูกทอดทิ้ง เปิดมาแล้ว 2 ปีกว่ามีกระต่าย มากว่า 30 ตัว  

หลังจากหยุดพักไปไม่กี่สัปดาห์ ทั้งสองกลุ่มได้สลับเวลาการกินอาหาร และพบว่า ‘หิวมากขึ้น เผาผลาญไขมันน้อยลง’ ผลการวิจัยพบว่าความหิวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าสำหรับผู้ที่กินอาหารตอนกลางคืน นักวิจัยสรุปว่าการรับประทานอาหารในช่วงดึกลดความสามารถในการเผาผลาญแคลอรี นอนหลับไม่สนิท ลดพลังงาน และทำให้ร่างกายมีไขมันสะสม นอกจากนี้การกินอาหารว่างตอนเที่ยงคืนอาจไม่ตอบสนองต่อความหิวด้วยซ้ำ “การกินตอนดึกทำให้อัตราส่วนของ Ghrelin และ Leptin เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยตลอดวงจรการนอนหลับ หรือตื่นตลอด 24 ชั่วโมง” Frank Scheer กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก: THE STANDARD

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading