[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)
สำนักงานความเสมอภาคทางเพศ เปิดตัว "ภาพลักษณ์ทางเพศปี 2021" ซึ่งอ้างอิงจากดัชนีความไม่เท่าเทียมทางเพศ (Gender Inequality Index, GII)ล่าสุดของปี 2019 ซึ่งรวบรวมโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ตาม5 ตัวชี้วัดใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ การเสริมสร้างขีดความสามารถ และแรงงาน ซึ่งจากการวัดความเท่าเทียมกันทางเพศในประเทศต่างๆ พบว่าไต้หวันดีขึ้นถึง 3 อันดับเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 6 ของโลกและสูงที่สุดในเอเชีย
ในปี 2019 ค่าจ้างเฉลี่ยรายชั่วโมงของชายและหญิงในไต้หวันแตกต่างกันถึง 14.2% ซึ่งลดลงจาก 10 ปีที่แล้ว 3.7% ถือว่าช่องว่างค่าจ้างระหว่างเพศโดยเฉลี่ยทำได้ดีกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา
เกี่ยวกับสิทธิความเท่าเทียมกันในการแต่งงานของคนเพศเดียวกันของไต้หวัน ได้ผ่านกฎหมายพิเศษเกี่ยวกับการแต่งงานของคนเพศเดียวกันในปี 2019 ณ เดือนพฤษภาคม 2020 ทำให้มีคู่รักเพศเดียวกันทั้งหมด 4,087 คู่ทั่วประเทศ ได้จดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดย 1,257 คู่เป็นผู้ชายและ 2,830 คู่ เป็นผู้หญิง
เพศวิถีชี้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า การแบ่งเพศในเมื่อก่อนทำให้ในระดับอุดมศึกษามีการเลือกวิชาเรียนที่แต่ต่างกัน โดยผู้ชายส่วนใหญ่จะเลือกเรียนในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ส่วนผู้หญิงส่วนใหญ่ จะเลือกเรียนด้านวรรณกรรม ส่งผลให้การทำงานเกิดการแบ่งเพศเกิดขึ้น โดยนักวิจัยหญิงของไต้หวันคิดเป็น 22.6% ซึ่งสูงกว่าของญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แต่ต่ำกว่าสหราชอาณาจักร 38.6% และฟินแลนด์ 33.7% ถึง 3 เท่า