วันที่ 23 มกราคม 2568 ถือเป็นวันสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย เมื่อประเทศไทยได้เริ่มบังคับใช้กฎหมาย สมรสเท่าเทียม อย่างเป็นทางการ อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถจดทะเบียนสมรสได้ทั่วประเทศ โดยมีผลบังคับใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งยอมรับสิทธิของทุกเพศอย่างเท่าเทียม
กฎหมายสมรสเท่าเทียมเป็นผลจากการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศที่กินเวลากว่า 10 ปี หลังจากการเสนอ "ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต" ในปี 2563 จนกระทั่งเกิดการแก้ไขกฎหมายในปี 2567 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
เอกสารที่ใช้สำหรับการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียม
- บัตรประชาชนตัวจริง (ยังไม่หมดอายุ)
- ทะเบียนบ้าน ของทั้งสองฝ่าย
- ใบรับรองโสด (กรณีเคยจดทะเบียนสมรสมาก่อน ต้องมีใบหย่าหรือเอกสารยืนยันโสด)
- สัญญาก่อนสมรส (ถ้ามี)
- สำหรับผู้เยาว์ที่อายุไม่ครบ 20 ปี ต้องมี หนังสือยินยอมจากผู้ปกครอง
สำหรับชาวต่างชาติ:
- ใบรับรองโสดจากสถานทูต พร้อมคำแปลภาษาไทยและรับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศ
- หนังสือเดินทางตัวจริง
นอกจากการจดทะเบียนสมรสแล้ว ยังมีกิจกรรมพิเศษในงาน "สมรสเท่าเทียม : Marriage Equality" ที่จัดขึ้น ณ พารากอน ฮอลล์ ซึ่งรวมทั้งพิธีจดทะเบียนสมรสแบบสัญลักษณ์ การเสวนา และกิจกรรมเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศไพรด์พาเหรด เตรียมความพร้อมกรุงเทพฯ จัดงาน เวิลด์ไพรด์
การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ไม่เพียงสะท้อนถึงความก้าวหน้าของสังคมไทย แต่ยังเปิดโอกาสให้คู่รักทุกเพศสามารถสร้างครอบครัวอย่างเท่าเทียมและมีสิทธิตามกฎหมายได้อย่างสมบูรณ์.