หน่วยบริการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรุงไทเป ได้เชิญผู้ที่กำลังจะกลายเป็น“ครูใหญ่” ที่เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คนแรกของไต้หวันมาแบ่งปันประสบการณ์ หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅) เดินทางจากเวียดนามมาไต้หวันพร้อมครอบครัวตอนอายุ 9 ขวบ แม้จะมีชีวิตที่ลำบากยากจน แต่เธอก็มีความมุ่งมั่นและตั้งใจศึกษาเล่าเรียน เธอได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับการเรียนการสอน จนกลายเป็นต้นแบบในแวดวงการศึกษา ได้รับรางวัล"ครูดีเด่น"ซึ่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศในการเป็นครู อีกทั้งยังสอบติดคุณสมบัติการเป็นครูใหญ่และรอการบรรจุ กำลังจะกลายเป็นครูใหญ่คนแรกของไต้หวันที่มีรากฐานเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่
หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มาจากเวียดนาม ทำงานด้านการศึกษามากว่า 26 ปี เคยได้รับรางวัล"ครูดีเด่น"ซึ่งเป็นรางวัลแห่งเกียรติยศสูงสุดในวงการการศึกษา หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅) ปัจจุบันกำลังฝึกงานที่กองการศึกษานครนิวไทเป มีโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และเธอจะกลายเป็นครูใหญ่คนแรกของไต้หวันที่เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คนแรก หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅)กล่าวย้อนไปว่า ตอนที่เธอถือกำเนิดนั้นเป็นช่วงสงครามเวียดนาม คุณพ่อจึงได้พาเธอและครอบครัวย้ายมาไต้หวัน เนื่องจากครอบครัวมีฐานะลำบาก เธอจึงเติบโตมาจากศูนย์บริการสวัสดิการสังคม ในช่วงการศึกษาเล่าเรียน เธอต้องทำงานนอกเวลาไปด้วย จนสามารถส่งเสียตัวเองให้สำเร็จการศึกษาได้ในที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: ไถหนานรณรงค์ "การเรียนรู้ที่หลากหลายสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่" สะไภ้เวียดนามเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท
ครูใหญ่หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามกล่าวว่า ตอนแรกที่มาถึงไต้หวัน ครอบครัวมีฐานะยากจนมาก ที่บ้านมักจะมีน้ำปลาจากเวียดนาวางอยู่บนโต๊ะอาหาขวดหนึ่ง เอามาคลุกข้าวหรือเติมในอาหารก็จะช่วยเพิ่มรสชาติของอาหารให้อร่อยขึ้น และน้ำปลาก็เป็นดั่งเครื่องเตือนใจตัวเอง ชีวิตต้องผ่านประสบการณ์การเรียนรู้มากมาย ถึงจะสามารถลิ้มรสรสชาติที่งดงามของชีวิตได้ และเธอรู้ดีว่า การศึกษาเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เธอหลุดพ้นจากความยากจน เธอจึงแบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของตน เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สอง มีความมุ่งมั่นในการเดินทางเพื่อพิชิตความฝันของตนอย่างกล้าหาญ
นอกจากนี้ หยางเสี่ยวเหมย(楊小梅) ยังได้กล่าวว่า อนาคตหลังจากที่ได้เป็นครูใหญ่ จะดูแลนักเรียนผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นที่สองอย่างต่อเนื่อง และจะส่งเสริมหลักสูตรการศึกษานานาชาติในโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และนักเรียนไต้หวันมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ขณะเดียวกันก็ยังสนับสนุนให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สอง "กล้าพูดภาษาแม่" เพื่อแสดงศักยภาพและให้รู้สึกภูมิใจในฐานะที่เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่
อ่านเพิ่มเติม: ที่อาหลี่ซาน เด็กเรียนหัวกะทิผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สองชาวเวียดนาม สอบติด ม.ชิงต้า
ซูหุ้ยเหวิน(蘇慧雯) ผู้อำนวยการหน่วยบริการสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกรุงไทเปกล่าวว่า ปีนี้จะจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งรวมถึงแผนกลไกการสมัครกองทุนพัฒนาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ โครงการมอบทุนการศึกษาแก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตร-ธิดา โครงการบ่มเพาะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 รวมถึงโครงการสานฝันผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตรหลานเป็นต้น เพื่อให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่สอง สามารถแสดงศักยภาพของตนได้เต็มที่ และกลายเป็นพลังใหม่ของไต้หวัน