ตามข้อมูลของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงมหาดไทยได้เก็บข้อมูลจนถึงปลายเดือนตุลาคม 2021 มีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันทั้งหมดมากเกินกว่า 1 ล้านคนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการมาเรียนที่ไต้หวัน มาทำงาน หรือแต่งงาน ประสบการณ์การฝ่าฟันเอาชนะอุปสรรค์ในไต้หวัน ส่งเสริมความเป็นพหุวัฒนธรรมให้แก่ไต้หวัน ทำให้นานาชาติสามารถมองเห็นไต้หวันสถานที่แห่งนี้ ก็เพราะว่าผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ทำคุณประโยชน์ให้ไต้หวันสามารถกลายมาเป็นแบบอย่างที่ดีสู่สากล กลายมาเป็น แสงแห่งใหม่ของไต้หวัน
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] จึงได้จัดทำหน่วย แสงแห่งใหม่ของไต้หวันขึ้น สัมภาษณ์ผู้มีความรักในไต้หวัน ที่ใช้ความสามารถตนเองในการทำให้ไต้หวันสามารถก้าวไปสู่เวทโลกและมีอิทธิพลต่อสากล
แสงแห่งใหม่ของไต้หวัน หลินยวี่เมิ่ง (林雨夢, Meital Margulis)
หลินยวี่เมิ่งผู้มาจากอิสราเอล มาเป็นสะใภ้ไต้หวันกว่าสิบปีแล้ว ทุกวันหลังเลิกงานก็จะรับประทานอาหารไต้หวันร่วมกันกับพ่อเขยแม่เขยและลูก ๆ เป็นช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดของเธอ
หลินยวี่เมิ่งบอกว่า ตอนเด็กเธอไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่าไต้หวันอยู่ที่ไหน เพียงแค่ได้เห็น Made in Taiwan แค่นั้น พ่อของเธอผู้ทำงานด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง ได้แนะนำให้เธอเรียนภาษาจีน จะได้มีโอกาสหางานมากขึ้น
ภายหลังจากการจบการศึกษาปริญญาตรี เธอก็ขอทุนมาไต้หวัน ตอนแรกวางแผนจะกลับบ้านหางานหลังจากมาเรียนภาษาจีนที่ไต้หวันเพียง 1 ปี แต่คาดไม่ถึงว่ามาถึงไต้หวันในวันที่ 10 การที่ได้พบกับผู้ชายคนหนึ่งบนรถไฟ ทำให้เธอได้อยู่ไต้หวันจนถึงทุกวันนี้
ภายหลังจากการมาเป็นสะใภ้ไต้หวัน หลินยวี่เมิ่งก็มีลูกที่น่ารัก 2 คน เวลาว่างจากการดูและลูก ๆ เธอก็ใช้เวลาไปกับการเขียนเว็บบล็อก Taiwanit โดยใช้ภาษาฮีบรูในการบันทึกเรื่องราวการใช้ชีวิตในไต้หวันของเธอ และก็เพราะว่าอิสราเอลไม่ค่อยรู้จักไต้หวันกัน ทำให้บล็อกของเธอกลายมาเป็นสิ่งสำคัญที่คนที่ใช้ภาษาฮีบรูค้นหาไต้หวันก็จะต้องเจอบล็อก Taiwanit ของเธอ
ทำให้หลินยวี่เมิ่งได้รู้ว่า จริง ๆ แล้ว ไต้หวันกับอิสราเอลมีความร่วมมือกันมากมาย แต่ขาดบุคลากรที่เป็นตัวกลางในการเป็นล่าม และช่วยเหลือ ทำให้เธอเริ่มมีโอกาสได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัย บริษัทต่าง ๆ มาเป็นผู้แปลและค่อยช่วยเหลือสื่อสารในภารกิจการทำงาน
ในปี 2018 สำนักท่องเที่ยวของไต้หวันก็ได้มีแผนที่จะเผยแพร่การท่องเที่ยวไต้หวันไปสู่ประเทศอิสราเอล ภายหลังจากการที่เห็นหลินยวี่เมิ่งเขียนบล็อก Taiwanit ของเธอขึ้นจึงได้ชวนเธอเป็นพรีเซ็นเตอร์การท่องเที่ยว ถ่ายทำวิดีโอเกี่ยวกับการท่องเที่ยวไต้หวัน และทำให้เธอเป็นตัวแทนเผยแพร่การท่องเที่ยว ทำให้ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในไต้หวันได้มีโอกาสเข้าร่วมเทศกาลการท่องเที่ยวของอิสราเอล และได้เข้าชมกิจการการท่องเที่ยวของอิสราเอล
ในขณะเดียวกัน ทัวร์อิสราเอลและไต้หวันก็ได้เชิญเธอไปร่วมวางแผนเกี่ยวกับการเดินทางต่าง ๆ ในช่วงเวลาเพียง 2 ปีก็มีนักท่องเที่ยวจากอิสราเอลเดินทางมาไต้หวันมากกว่า 2 หมื่นคนแล้ว
ไม่เพียงแต่สำนักท่องเที่ยวไต้หวันที่ติดต่อมายังเธอ องค์กรการศึกษา รัฐบาลต่างก็เชิญเธอมาทอดสะพานความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวัน-อิสราเอล กระทรวงเศรษฐกิจก็ได้แนะนำบริษัทในไต้หวันให้ไปร่วมมือกับอิสราเอลผ่านการช่วยเหลือของเธอ
และมีบริษัทต่าง ๆ ในอิสราเอลมากมายที่เชิญเธอมาเป็นที่ปรึกษาข้ามวัฒนธรรม ให้เธอได้จัดคอร์สในการแนะนำวัฒนธรรมไต้หวัน รวมทั้งเทคนิคการพูดคุยและทำธุรกิจกับบริษัทไต้หวัน
หลินยวี่เมิ่งบอกว่า “อิสราเอลสอนให้เด็กเดินตามฝัน และไม่ย่อท้อ” หลินยวี่เมิ่งเดินทางมาไต้หวันก็ได้ใช้จิตวิญญาณความเป็นอิสราเอล นอกจากจะสอนลูก ๆ ทั้งสองคนแล้ว เธอยังหวังว่าวัยรุ่นไต้หวันจะกล้าที่จะเดินตามความฝัน ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา หลินยวี่เมิ่งก็ได้ร่วมมือกับศูนย์การลงทุนไต้หวัน-อิสราเอล TXI Center เผยแพรการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาระหว่างไต้หวันและอิสราเอล มีสถานศึกษาที่ร่วมมือกันมากกว่า 80 แห่ง และกลายมาเป็นตัวแทนเผยแพร่การศึกษาในไต้หวันของมหาวิทยาลัย Israel Institute of Technology ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในอิสราเอล ความร่วมมือทางการศึกษาที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้ ทำให้ไต้หวัน อิสราเอล ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือด้านการศึกษาหรือธุรกิจ รวมทั้งการและเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลสามารถมีการพัฒนามาได้เช่นนี้
ระยะเวลากว่า 10 ปีที่หลินยวี่เมิ่งได้เป็นสะพานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและอิสราเอล แม้กระทั่งอดีตผู้แทนสำนักเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำเมืองเทลอาวีฟ(Taipei Economic and Cultural Office in Tel Aviv) ก็ยังได้ชื่นชมในสิ่งที่เธอได้ทำ
เรื่องราวพิชิตฝันของหลินยวี่เมิ่ง กลายมาเป็นแบบอย่างที่ดีของวัยรุ่นในอิสราเอลและไต้หวัน และก็เพราะหลินยวี่เมิ่งที่ทำให้ชาวอิสราเอลมากมายได้มองเห็นไต้หวัน