:::

อุดมคติของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ชาวเวียดนาม

ภาพ/จาก โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)
ภาพ/จาก โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมมือกับ [Listener] เปิดตัวเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนหรือครอบครัวที่เขียนโดยผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 อาศัยการพิจารณาตกตะกอนตนเองของพวกเขา ทำให้บทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างมีความลึกซึ้งและครอบคลุมมากขึ้น [Listener] เป็นแพลตฟอร์มองค์กรพัฒนาเอกชน NGO ที่คอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและสาธารณสุขสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2

บทความนี้ “การกลับมาของหัวใจดวงใหม่” เขียนโดย โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi) และ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ได้นำเนื้อหาของบทความนี้มาแปลเป็น 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ

การกลับมาของหัวใจดวงใหม่

ผู้เขียน : โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)

แม่ของฉันเป็นคนเวียดนาม พ่อของฉันเป็นคนไต้หวัน ส่วนฉันเป็น “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2” ที่หลาย ๆ ปีมานี้เรามักจะได้ยินได้เห็นกันบ่อย ๆ

ภาพ/จาก โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)

สำหรับฉันแล้ว เอกลักษณ์ด้านสถานะตัวตนของฉันมันทำให้ฉันมองโลกได้กว้างขึ้น ที่โชคดีกว่านั้นคือ ระหว่างเส้นทางการเจริญเติบโตของชีวิต คนอื่นปฏิบัติต่อฉันดีมากแทบจะไม่เจอเรื่องแย่ ๆ อะไรเลย แต่สิ่งที่ผู้คนมักถามฉันคือ “เธอคิดว่าเธอเป็นคนไต้หวัน หรือเป็นคนเวียดนาม” ตอนเด็ก ๆ ฉันมักตอบแบบไม่ได้ไตร่ตรองอะไรมากมาย จนเกิดเหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้ฉันเปลี่ยนความคิดของตนเองอย่างสิ้นเชิง ครั้งหนึ่งฉันได้เดินทางกลับไปเยี่ยมญาติที่เวียดนาม ขณะที่คุยกับญาติ ๆ ได้แต่อาศัยคุณแม่เป็นล่ามช่วยแปลภาษาให้ จนกระทั่งมีอยู่ครั้งหนึ่งได้มีโอกาสเดินทางไปที่บ้านคุณยาย ขณะที่คุณป้ากำลังช่วยฉันอธิบายคำศัพท์ที่ฉันฟังไม่รู้เรื่องอยู่นั้น คุณยายเดินผ่านมาได้ยินพอดี คุณยายพูดอยู่ประโยคหนึ่งส่งผลต่อฉันเป็นอย่างมากว่า “ไอ๊หยา เขาเป็นคนไต้หวันฟังไม่เข้าใจหรอก ไม่ต้องอธิบายแล้ว”

ตอนนั้นที่ฉันได้ยินประโยคนี้ ภายในใจนั้นสับสนยิ่งนัก ที่แท้คุณยายไม่ได้คิดว่าฉันเป็นคนเวียดนามหรอ เขาไม่ได้คิดว่าฉันเป็นคนของตัวเองหรอ ตอนนั้นฉันตัดสินใจที่จะเรียนภาษาเวียดนามทันที หลังกลับมาถึงที่ไต้หวัน ฉันก็ได้ตั้งใจขะมักขะเม่นในการเรียนภาษาเวียดนาม

นอกจากการคุยกับคุณแม่เป็นประจำทุกวันแล้ว ฉันยังโทรศัพท์กลับไปหาญาติ ๆ ที่เวียดนามบ่อยครั้ง เส้นทางการเรียนภาษาเวียดนามของฉันถือว่าค่อนข้างราบรื่น แต่ก็เกิดเรื่องน่าขำหลายเรื่อง ปีต่อมาได้มีโอกาสกลับไปที่เวียดนามอีกครั้ง การพูดคุยสนทนาในชีวิตประจำวันไม่มีอุปสรรคปัญหาอีกต่อไป คุณป้ายังได้เดินไปพูดกับคุณยายด้วยว่า “นิ (ชื่อเวียดนามของฉัน) ตอนนี้เขาพูดภาษาเวียดนามได้เก่งแล้วนะ และก็เป็นคนเวียดนามแล้วด้วย”

ภายในใจของฉันดีใจสุดขีด และเป็นเพราะแบบนี้ ฉันถึงได้ตระหนักรู้ว่า สถานะของฉันไม่ได้เป็นเพียงผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ของไต้หวันเท่านั้น ในขณะเดียวกันฉันยังเป็นคนเวียดนามด้วย

ภาพ/จาก โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)

ภาษาช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนได้เร็วที่สุด ในขณะที่คุณและผู้อื่นมีการใช้ภาษาเดียวกัน ความสนิทสนมของพวกคุณก็จะสามารถพัฒนาได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ตอนนี้ถ้าหากมีคนมาถามฉันว่า ฉันเป็นคนที่ไหน ฉันจะตอบพวกเขาไปว่า ฉันเป็นคนไต้หวันและก็เป็นคนเวียดนามด้วย ก่อนหน้านี้เคยได้ยินเพื่อน ๆ ที่มีภูมิหลังคล้ายกันกับฉันอยู่หลายคนบอกว่า ทางบ้านไม่สนับสนุนให้พวกเขาเรียนภาษาแม่ของตนเอง แต่แม่ของฉันยังคงยืนหยัดที่จะใช้ภาษาแม่พูดคุยสนทนากับฉันเหมือนเดิม ให้ฉันได้สร้างความสัมผัสรับรู้ทางด้านภาษาตั้งแต่ยังเด็ก ต้องขอบคุณการตัดสินใจของคุณแม่มาก ๆ ทั้งยังช่วยให้เส้นทางการเรียนรู้ภาษาของฉันไม่มีอุปสรรคขวางกั้นอีกด้วย

หลายคนยังคงมีภาพจำที่ไม่ค่อยดีต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 อยู่ ครั้งหนึ่งทางโรงเรียนจัดสอบชิงทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนด้อยโอกาส สิ่งที่ทำให้ฉันแปลกใจคือ หนึ่งในผู้มีสิทธิ์สอบรวมถึงบุตรธิดาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ด้วย ดูเหมือนว่าสังคมทั่วไปยังคงมีภาพจำที่ว่าผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 เป็นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสอยู่ ฉันย้อนกลับมามองตัวเอง ฉันเองก็เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 คนหนึ่งที่ไม่กล้าที่จะบอกสถานะของตนเองให้ผู้อื่นรู้ แต่เมื่อได้เห็นคนเวียดนามหลายคนมั่นใจที่จะบอกว่าตัวเองเป็นคนเวียดนามฉันก็รู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างมาก  ที่แท้แต่ไหนแต่ไรมา ฉันไม่เคยโดดเดี่ยวเดียวดายเลย ยังคงมีอีกหลาย ๆ คนที่ออกมาพยายามทำสิ่งต่าง ๆ เพื่อต้องการเปลี่ยนภาพจำของคนในสังคม รอคอยว่าสักวันหนึ่ง ทุกคนกล้าที่จะพูดสถานะของตนเองอย่างมั่นใจ

ในเส้นทางการเติบโตของฉัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนิสัยความเคยชินในการดำรงชีวิต เรื่องการกิน แม้กระทั่งเรื่องทัศนคติ คุณแม้มีผลกระทบต่อฉันเป็นอย่างมาก ฉันผู้ที่เกิดมาในความแตกต่างทางวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ แต่ไหนแต่ไรมาก็คิดว่าการที่มีสองสถานะเช่นนี้ทำให้ฉันรู้สึกภาคภูมิใจ คุณแม่ยืนหยัดที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมของตนเองให้ฉันตั้งแต่ยังเด็ก คุณแม่บอกว่า “ถึงแม้ว่าเธอจะเกิดอยู่ที่ไต้หวัน เติบโตอยู่ที่ไต้หวัน แต่เลือดอีกครึ่งหนึ่งในตัวเธอฉันเป็นคนให้ อย่าได้ลืมละ เธอก็เป็นคนเวียดนามเหมือนกัน”

สำหรับฉันแล้ว เมื่อได้เกิดกายเนื้อมาเป็นคน ก็ไม่ควรมีข้อจำกัดใด ๆ ทั้งสิ้น ขอเพียงแค่เห็นด้วยกับพื้นแผ่นดินนี้ วันนี้ไม่ว่าฉันจะมีสัญชาติเป็นอะไร ต่างเป็นของทุกคนทั้งนั้น ฉันรักไต้หวันบ้านเมืองที่เลี้ยงฉันให้เติบใหญ่ ฉันรักในเวียดนามบ้านเมืองผู้ใหญ่กำเนิดฉัน ขาดที่ใดที่หนึ่งไป ก็ไม่สามารถสร้างฉันให้เป็นอย่างวันนี้ได้

ผู้เขียน : โง ดินห์ นี (Ngô Đình Nhi)
ปีเกิด : ค.ศ.2001
ปัจจุบันกำลังศึกษา : สถาบันเทคโนโลยีแห่งตะวันออก (Oriental Institute of Technology) สาขาการพยาบาลด้านเทคนิค ชั้นปีที่ 1
งานปัจจุบัน : เจ้าหน้าที่พยาบาลในสถานบริบาลระยะยาว

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading