หลี่ลาเชว่เวย (李拉雀薇) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไทย เมื่ออายุ 25 ปีได้พบรักกับหนุ่มวิศวกรชาวไต้หวันที่ไปทำงานในประเทศไทย เธอแต่งงานกับชาวไต้หวันเป็นเวลา 32 ปีและมีลูกด้วยกัน 3 คน ตอนแรกฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าไต้หวันอยู่ที่ไหนของโลกนี้ เมื่อได้มาอาศัยอยู่ที่ไต้หวัน ด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรมของไต้หวันและไทยฉันจะต้องปรับตัว จนถึงตอนนี้ ไม่เพียงแต่สอบผ่านการเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร ทำผม และแปลภาษาเท่านั้น ผ่านความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับสังคมที่นี่ จนในที่สุดได้รับบัตรประจำตัวประชาชนไต้หวัน และกลายเป็นวิทยากรที่คอยสื่อสารทางด้านวัฒนธรรมระหว่างไทยและไต้หวัน
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในไต้หวันเกินเวลาที่กำหนดเดินทางเข้ามอบตัวด้วยตนเองโทษเบา ให้ สตม. ช่วยคุณกลับบ้าน
ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไทย กระตือรือร้นช่วยงานสวัสดิการสาธารณะ ได้รับรางวัลคุณแม่ตัวอย่าง ภาพ/โดย หลี่ลาเชว่เวย (李拉雀薇)
หลังจากที่หลี่ลาเชว่เวยเรียนจบมหาลัย เธอได้เริ่มเข้าร่วมกิจกรรมที่ทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจัดขึ้น และได้ไปเรียนภาษาจีนเสริมอย่างจริงจัง อีกทั้งเธอไปเรียนในหลักสูตรการจัดการร้านอาหารที่วิทยาลัยอาชีวะ สอบผ่านใบรับรองด้านบะหมี่สไตล์จีนและอาหารจีนระดับ C, ใบรับรองการตัดแต่งทรงผม และเข้ารับการฝึกอบรมล่ามอาสาสมัครสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ทางสำนักกิจการสังคมนิวไทเปจัดขึ้น
ปัจจุบันเธอทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยในโรงเรียนประถมเขตซินเตี้ยนและหยงเหอหลายแห่ง และยังเป็นล่ามอาสาสมัครของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองอีกด้วย นอกจากนี้ เธอยังมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณต่าง ๆ รวมถึงเป็นคุณแม่นักเล่านิทานประจำห้องสมุดประชาชน และช่วยตัดแต่งทรงผมให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : เน็ตไอดอลไทยแชร์เรื่องราวชีวิตที่สุดแสนจะแฮปปี้ในฐานะลูกสะใภ้ไต้หวัน ชาวเน็ตถึงขั้นอยากจะหาสามีไต้หวันเหมือนกันกับเธอเลยทีเดียว
ในปี 2017 หลี่ลาเชว่เวยได้รับเลือกให้เป็นคุณแม่ตัวอย่างในเมืองนิวไทเป ภาพ/โดย หลี่ลาเชว่เวย (李拉雀薇)
ในปี 2017 หลี่ลาเชว่เวยได้รับเลือกให้เป็นคุณแม่ตัวอย่างในเมืองนิวไทเป และได้รับคำชมเชยจากรัฐบาลเมืองนิวไทเป หลี่ลาเชว่เวย กล่าวว่า เธออยู่ที่ไต้หวันมานานกว่า 32 ปีแล้ว ถือว่าอยู่ในไต้หวันนานกว่าในประเทศบ้านเกิดของเธอเองซะด้วย การแต่งงานย้ายมาอยู่ที่ไต้หวันไม่ใช่แค่การดูแลสามีและลูก ๆ ของเธอเท่านั้น เธอยังมีโอกาสใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองในการช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลืองานสาธารณะในไต้หวัน เธอหวังว่าตนเองจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะและช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไทยและกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในไต้หวันให้ได้มากกว่านี้