:::

กรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพของแรงงานในไต้หวัน ใคร 60 ปีต้องรีบเช็ค

กรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพของแรงงานในไต้หวัน ใคร 60 ปีต้องรีบเช็ค ภาพ/นำมาจาก freepik
กรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพของแรงงานในไต้หวัน ใคร 60 ปีต้องรีบเช็ค ภาพ/นำมาจาก freepik

ด้วยกรมการจัดหางานได้รับการประสานจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานให้ประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพของแรงงานในไต้หวัน ซึ่งตามกฎหมายกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวันกำหนดให้แรงงานท้องถิ่นและแรงงานต่างชาติทุกคน (ยกเว้นตำแหน่งผู้อนุบาลและผู้ช่วยงานบ้าน) ต้องเข้าเป็นสมาชิกและชำระค่าธรรมเนียมกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน ซึ่งจะทำให้สิทธิในการเรียกร้องขอรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนฯ ได้แก่ กรณีเจ็บป่วยและประสบอันตราย เนื่องจากการทำงานหรือนอกงาน กรณีเสียชีวิตในงานหรือนอกงาน และเงินบำเหน็จชราภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ประกาศผลการประกวดรางวัลวรรณกรรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างชาติครั้งที่ 8 ประจำปี 2023

กรมการจัดหางานประชาสัมพันธ์สิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพของแรงงานในไต้หวัน ใคร 60 ปีต้องรีบเช็ค ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก勞工保險局

คุณสมบัติของผู้ได้รับสิทธิประโยชน์

1. เป็นสมาชิกกองทุนประกันภัยแรงงาน ครบ 1 ปี ขึ้นไป – แรงงานไทยในภาคการผลิต ภาคการก่อสร้าง และผู้อนุบาลในองค์กรต้องเข้ากองทุนฯ ทุกคน ยกเว้นผู้อนุบาลในครัวเรือนและผู้ช่วยงานบ้าน ซึ่งไม่อยู่ในความคุ้มครองของกฎหมายมาตรฐานแรงงานไต้หวัน

2. แรงงานไทยอายุครบ 60 ปีขึ้นไป – โดยเคยเดินทางไปทำงานไต้กวันและปัจจุบันเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว เมื่ออาบุครบ 60 ปีขึ้นไป (ผู้ที่เกิดก่อนหรือเกิด พ.ศ. 2500) สามารถยื่นขอรับบำเหน็จชราภาพได้ตามที่กำหนด

เงื่อนไขการรับสิทธิประโยชน์

1. ผู้ที่เป็นสมาชิกกองทุนฯ ส่งเงินเข้ากองทุนฯ รวมแล้วไม่ถึง 15 ปี จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ (จ่ายเป็นเงินก้อนเพียงครั้งเดียว) ในอัตราปีละ 1 เดือนของอัตราเงินเดือนที่แจ้งเอาประกัน โดยเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนลาออกจากการเป็นสมาชิกกองทุนฯ

2. เป็นสมาชิกกองทุนฯ จัดส่งเงินเข้ากองทุนฯ รมแล้วไม่ถึง 3 ปี คิดอัตราเงินเดือนที่แจ้งเอาประกัน โดยเฉลี่ยตามระยะเวลาที่เป็นสมาชิกจริง

3. กรอกแบบคำร้องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพ (ขอรับคำร้องฯ ณ สำนักงานแรงงานทุกแห่ง และ/หรือสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงแรงงาน)

4. ผู้มีสิทธิจัดเตรียมเอกสารแสดงตน ดังนี้

4.1 แบบคำร้องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพ ลงลายมือชื่อให้เหมือนกับหนังสือเดินทาง (ไม่ต้องกรอกข้อมูลลงในแบบคำร้องฯ) จำนวน 2 ฉบับ

4.2สำเนาใบถิ่นที่อยู่ (Alien Resident certificate : บัตร ARC)

4.3 สำเนาหนังสือเดินทางใช้เดินทางไปทำงานที่ไต้หวัน

4.4 สำเนาทะเบียนบ้าน แปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน (การสะกดชื่อต้องตรงตามหนังสือเดินทาง)

4.5 สำเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน

4.6 รายละเอียดบัญชีธนาคาร โดยให้ธนาคารเป็นผู้ออกฉบับภาษาอังกฤษ โดยลายมือชื่อของผู้มีอำนาจในการลงนามจะต้องตรงกับลายมือชื่อที่ธนาคารส่งให้กองสัญชาติและนิติกรณ์ กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมระบุหมายเลขลำดับของลายมือชื่อกำกับไว้ด้วย มิเช่นนั้นกองสัญชาติและนิติกรณ์จะไม่รับรองเอกสารดังกล่าว

ทั้งนี้ ผู้ร้องจะต้องลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องเอกสารทุกฉบับ และลายมือชื่อต้องเหมือนรายมือชื่อในหนังสือเดินทาง พร้อมผ่านการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ และสำนักเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทยเปประจำประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เปิดตัวกลไกการประเมินภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อสืบทอดภาษาแม่และสร้างความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมต่อไป

ตามข้อมูลของสำนักประกันแรงงาน ก่อนที่คนงานจะยื่นขอเงินบำนาญ สามารถไปที่เว็บไซต์ของสำนักประกันแรงงานเพื่อสอบถามเกี่ยวกับ “ใบสมัครออนไลน์” หรือนำเอกสารแสดงตนไปที่สำนักงานของสำนักประกันแรงงาน เพื่อสอบถามที่เคาน์เตอร์และลองคำนวณจำนวนเงินที่ท่านจะได้รับก็ได้เช่นกัน

การขอรับสิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จตามกฎหมายกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวันผู้ยื่นคำร้องจะต้องทราบว่าตนเองเป็นผู้ประกันตนที่ชำระเงินเข้าสู่ระบบกองทุนป้องกันภัยแรงงานไต้หวัน และจะต้องมีเอกสารประกอบการขอรับสิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพครบถ้วนจึงจะได้รับอนุมัติสิทธิประโยชน์ดังกล่าว

กรมการจัดหางานจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้มีคุณสมบัติได้รับสิทธิประโยชน์เงินบำเหน็จชราภาพตามกฎหมายกองทุนประกันภัยแรงงานไต้หวัน ติดต่อยื่นแบบคำร้องขอรับเงินบำเหน็จชราภาพและเอกสารแสดงตน ได้ที่ สำนักงานแรงงานจังหวัดทุกจังหวัด หรือสำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี เขตดินแดง กรุงเทพฯ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ ฝ่ายคุ้มครองสิทธิประโยชน์ สำนักงานประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ โทรศัพท์ 0 2232 1239

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading