:::

รู้ทัน กลโกงมิจฉาชีพ ! ที่มาในรูปแบบ "ผู้ซื้อปลอม" ใช้วาทศิลป์เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย

"ผู้ซื้อปลอม" ใช้วิธีการ "ขอยกเลิกคำสั่งซื้อที่ชำระเงินในรูปแบบการผ่อนชำระ" เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย    ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
"ผู้ซื้อปลอม" ใช้วิธีการ "ขอยกเลิกคำสั่งซื้อที่ชำระเงินในรูปแบบการผ่อนชำระ" เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

หน่วยสืบสวนคดีอาญา เผยว่า ช่วงนี้ มีคดีฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับ "ผู้ซื้อปลอม" เข้ามาหลอกลวงผู้ขาย ผ่านช่องทางการประมูลสินค้าออนไลน์ เพิ่มมากขึ้น ทั้งใน แพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าของเซเว่นอิเลฟเว่น แฟมิลี่มาร์ท รวมถึงการประมูลสินค้าบนช้อปปี้ ต่างพบการหลอกลวงที่มาในรูปแบบของ "ผู้ซื้อปลอม"  ซึ่งในอดีต การหลอกลวงผ่านการประมูลออนไลน์ โดยส่วนมากจะใช้วิธี "รับเงินแต่ไม่ส่งสินค้า" ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อ แต่ในปัจจุบัน กลับพบกรณีผู้ขาย ถูกผู้ซื้อหลอกแทน ซึ่งสุดท้าย มิจฉาชีพจะใช้กลยุทธ์ โน้มน้าวใจด้วยคำพูด และวาทศิลป์ เช่น "การขอยกเลิกคำสั่งซื้อที่ชำระเงินในรูปแบบการผ่อนชำระ" เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ตำรวจจัดบูธรณรงค์ ต่อต้านการทุจริต ในงาน "ประเพณีลอยกระทงและการแข่งขันเซปักตะกร้อ" ที่เมืองนิวไทเป

"ผู้ซื้อปลอม" ใช้วิธีการ "ขอยกเลิกคำสั่งซื้อที่ชำระเงินในรูปแบบการผ่อนชำระ" เพื่อหลอกเอาเงินจากผู้ขาย ภาพ/จากหน่วยสืบสวนคดีอาญา

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ยังได้แบ่งปันรายละเอียดของคดีฉ้อโกงที่เกี่ยวข้องกับ "ผู้ซื้อปลอม" ซึ่งเป็นคดีที่เกิดขึ้นในเมืองนิวไทเป ผู้เสียหายเป็นเพศหญิง แซ่หง อายุ 22 ปี โดยเล่าว่า ผู้เสียหายรายนี้ได้รับข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ถูก “ผู้ซื้อปลอม” หลอกว่า ต้องการซื้อสำลีล้างเครื่องสำอางราคา 500 เหรียญไต้หวัน ที่เธอขายอยู่บนเฟซบุ๊ก และเสนอว่าขอรับของผ่านเซเว่นอิเลฟเว่น ผู้เสียหายจึงได้ทำการเปิดร้านค้าใหม่ในอีกแพลตฟอร์ม หลังส่งลิงค์สั่งซื้อสินค้าไปให้แล้ว “ผู้ซื้อปลอม” ก็ได้อ้างต่อว่า "ไม่สามารถกดสั่งซื้อสินค้าได้และบัญชีถูกระงับ" จากนั้น ทำการส่งลิงก์ของฝ่ายบริการลูกค้าปลอมไปให้ผู้เสียหาย ที่ไม่คุ้นเคยกับระบบการทำงานของร้านค้าในแพลตฟอร์มนี้ และหลอกให้เพิ่มเพื่อนในไลน์ โดยอ้างว้าเป็นไลน์ของฝ่ายบริการลูกค้า จากนั้นฝ่ายบริการลูกค้าปลอม ก็ได้พูดคุยกับเธอผ่านไลน์ และบอกว่า ผู้เสียหาย "ยังไม่ได้ยืนยันตัวตน" จึงยังไม่สามารถใช้งานแพลตฟอร์มซื้อขายสินค้าของเซเว่นอิเลฟเว่นได้ และได้ขอข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้เสียหาย จากนั้นไม่นาน ผู้เสียหายก็ได้รับโทรศัพท์จากฝ่ายบริการลูกค้าของธนาคารปลอม แอบอ้างว่า "จะช่วยดำเนินการยืนยันตัวตนและแก้ไขข้อผิดพลาดให้" โดยขอให้ผู้เสียหายทำการโอนเงินผ่านธนาคารออนไลน์ หลังจากดำเนินการยืนยันเสร็จสมบูรณ์แล้ว จะคืนเงินให้ ผู้เสียหายหลงเชื่อสนิทใจ ทำตามคำแนะนำของอีกฝ่ายทุกขั้นตอน ในวันรุ่งขึ้น เธอก็ตกใจที่พบว่า ถูกหลอกเงินไปทั้งหมด 30,000 เหรียญไต้หวัน

ด้วยเหตุนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องการเตือนประชาชน ไม่ให้เพิ่มเพื่อนจากไลน์ที่ไม่รู้จัก หรือกดลิงก์จากแหล่งที่มาที่ไม่รู้จัก โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลรั่วไหล และตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading