:::

ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มมากขึ้น รัฐบาลเรียกร้องประชาชนให้ลดการชุมนุมรวมกลุ่มกัน

ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มมากขึ้น  ภาพแสดงสถานีตรวจคัดกรองขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภาพจาก/คณะกรรมการกิจการจีนโพ้นทะเล
ไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 เพิ่มมากขึ้น ภาพแสดงสถานีตรวจคัดกรองขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ภาพจาก/คณะกรรมการกิจการจีนโพ้นทะเล

ตามรายงานข่าวของ “ฐานเศรษฐกิจ” วันที่ 21 ก.พ.65 นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น สธ.จึงประกาศการเตือนภัยโควิดระดับ 4 ทั่วประเทศ จากสถานการณ์การแพร่ระบาด สัปดาห์ที่ผ่านมา ยอดผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยคาดการณ์ 1-2 สัปดาห์ นี้ระดับผู้ติดเชื้อยังคงอยู่ในระดับสูง ปฏิเสธมาจากการรวมกลุ่มกันในการสังสรรค์ โดยขอให้หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่แออัดหรือพบคนหมู่มาก หากพบว่าตัวเองมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เบื้องต้นขอให้ได้ตรวจด้วยชุดตรวจคัดกรองโควิด-19 ด้วยตัวเอง หรือ ATK ได้ทันที ทั้งนี้การฉีดวัคซีนโควิด-19 ครบ 2 เข็ม อาจจะไม่เพียงพอต่อการติดเชื้อ ดังนั้น ขอให้ประชาชนไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นโดยเร็วหากครบกำหนดระยะเวลา ด้วยสถานการณ์ผู้ติดเชื้อที่ยังคงสูงขึ้นทำให้กระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นจะต้องยกระดับเตือนภัยโควิด จากระดับ 3 เป็นระดับ 4 ทั่วประเทศ ได้แก่ งดเข้าสถานที่เสี่ยง, งดทานอาหารร่วมกัน ดื่มสุราในร้าน, เลี่ยงไปซื้อของที่มีคนจำนวนมาก เช่น ตลาด ห้าง, เลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นนอกบ้าน, งดร่วมกิจกรรม กลุ่มตามเกณฑ์ต่างๆ, มาตรการทำงานที่บ้านให้ได้ร้อยละ 50-80, ชะลอการเดินทางข้ามจังหวัดหากจำเป็นใช้รถยนต์ส่วนตัว, เลี่ยงไปต่างประเทศ, หากเข้าประเทศต้องปรับตัวในสถานที่กักกัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 3 สามารถยื่น “ขอลางานเนื่องจากฉีดวัคซีน” กับบริษัทได้

สธ.ประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปเดินทางเข้าไทยต้องตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ภาพจาก/คลังภาพ pixabay

สธ.ประกาศเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไปเดินทางเข้าไทยต้องตรวจ RT-PCR 2 ครั้ง ภาพจาก/คลังภาพ pixabay

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สธ. กล่าวว่า สถานการณ์โควิด-19 ในขณะนี้เป็นการเตือนภัยโควิด-19 ระดับ 4 โดยยกระดับจังหวัดเสี่ยงสูงเป็นทุกจังหวัด พร้อมขอความร่วมมืองดเข้าสถานที่เสี่ยง (เปิดเฉพาะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต) เลี่ยงการรวมกลุ่ม ชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่ และทำงานที่บ้าน (Work From Home: WFH) เนื่องจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 13-19 ก.พ. 65) พบการติดเชื้อกระจายไปทั่วประเทศแล้ว โดยอัตราการติดเชื้อต่อประชากร 1 แสนคน พบผู้ติดเชื้อเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 100 คน

ส่วนสถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อ ผู้ป่วยอาการหนัก ผู้ป่วยเสียชีวิต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปัจจัยเสี่ยงจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อในครอบครัว และคนที่รู้จักขณะทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กินอาหารร่วมกันกับเพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนนักเรียน เล่นกีฬา รวมทั้งกิจกรรมงานบุญ งานศพ งานแต่ง โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนล่าง

อ่านข่าวเพิ่มเติม: หายกังวล! สตม.เดินหน้ามุ่งมั่นรักษาสิทธิประโยชน์ของบุตรหลานแรงงานต่างชาติหลบหนีต่อไป

สำหรับผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ ยังคงเป็นกลุ่ม 608 (ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป) ที่ไม่ใด้รับวัคซีน รวมทั้งที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มบูสเตอร์ โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียง ให้เน้นตรวจคัดกรองหาเชื้อในกลุ่มผู้ดูแล รวมทั้งติดตามกำกับการใช้มาตรการ VUCA ในศูนย์ดูแลผู้สูงวัยอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้ ยังพบการระบาดลักษณะคลัสเตอร์ จากการรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่างๆ เช่น งานศพ งานแต่ง งานบุญ ซึ่งขาดการกำกับมาตรการป้องกันโรคที่ดีของผู้จัดงาน หรือจัดกิจกรรม การระบาดในสถานที่ทำงาน ส่วนใหญ่มีปัจจัยเสี่ยงจากการที่มีบุคลากรติดเชื้อจากครอบครัว หรือชุมชน และแพร่โรคต่อให้เพื่อนร่วมงาน จากการไม่ระมัดระวังตัวขณะถอดหน้ากากรับประทานอาหาร และพูดคุยโดยไม่สวมหน้ากาก “ขอความร่วมมือประชาชน ดูแลป้องกันตนเอง ปฏิบัติตนตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข รับการฉีดวัคซีน ตามระยะเวลาที่เหมาะสม ถ้ามีผล ATK เป็นบวกไม่จำเป็นต้องตรวจ RT-PCR ซ้ำ สามารถเข้าสู่ระบบการรักษา โทร 1330 ได้เลย” นพ.ณัฐพงศ์ กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก: ฐานเศรษฐกิจ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading