:::

ต้องดู! ผู้ป่วยโรคมะเร็งและ 3 สูง สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่? พร้อมคำแนะนำการฉีดวัคซีนสำหรับผู้สูงอายุ

อุตสาหกรรมความงามเมืองเถาหยวน "เปิดทำการอีกครั้ง" และประกาศกฎข้อบังคับด้านการป้องกันการแพร่ระบาดที่สำคัญ 8 ประการ /ภาพจาก "สำนักข่าวกลาง"
อุตสาหกรรมความงามเมืองเถาหยวน "เปิดทำการอีกครั้ง" และประกาศกฎข้อบังคับด้านการป้องกันการแพร่ระบาดที่สำคัญ 8 ประการ /ภาพจาก "สำนักข่าวกลาง"
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ในวันที่ 15 มิถุนายน ทุกเขตและเมืองต่างๆทั่วประเทศได้ขยายเวลาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19พร้อมกัน โดยหวังว่าจะสามารถบรรเทาการแพร่ระบาดในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการฉีดวัคซีน ตามลําดับการวางแผนของศูนย์บัญชาการโรคระบาดกลาง สำหรับประชาชนทั่วไป ผู้สูงอายุที่อายุเกิน 75 ปี จะได้รับวัคซีนก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นยังมีประชาชนหลายท่านกังวลว่าใครไม่ควรฉีดวัคซีนบ้าง? ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง และสตรีมีครรภ์ สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่? วันนี้"เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่" ได้รวบรวมคำถามต่างๆในการฉีดวัคซีนมาไว้ให้ท่านแล้ว ไปติดตามกันเลย

แนวทางการดำเนินงานสำหรับ "อุตสาหกรรมความงาม" ของเมืองเถาหยวน เพื่อตอบสนองต่อโรคระบาด/ภาพจาก Shutterstock

แนวทางการดำเนินงานสำหรับ "อุตสาหกรรมความงาม" ของเมืองเถาหยวน เพื่อตอบสนองต่อโรคระบาด/ภาพจาก Shutterstock

Qใครไม่สามารถฉีดวัคซีนได้บ้าง?

ผู้ที่มีประวัติแพ้ต่อส่วนประกอบของวัคซีนอย่างรุนแรงและผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำไม่ควรฉีดวัคซีน สำหรับกลุ่มผู้ป่วยเป็นไข้และผู้ป่วยโรคเฉียบพลัน ต้องรอให้อาการดีขึ้นก่อนถึงจะสามารถฉีดวัคซีนได้

Qผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

สามารถฉีดวัคซีนได้ ตามข้อมูลของ ดร.ซวีปิ่งอี๋ (許秉毅) รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลอันหนานเมืองไถหนาน โพสต์ข้อความบนเฟสบุ๊กส่วนตัวของเขาระบุว่า สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนและการรักษาแบบตรงจุด หลังจากฉีดวัคซีนผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องหยุดยา ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยากดภูมิคุ้มกัน B-cell (เช่น Rituximab moxa tumor) ผู้ป่วยต้องเว้นระยะการใช้ยากับช่วงที่ฉีดวัคซีนอย่างน้อย 4 สัปดาห์ขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วย CAR-T แนะนำให้หยุดก่อน 3 เดือนแล้วค่อยฉีดวัคซีน

Qผู้ป่วยโรคหัวใจและผู้ป่วย 3 สูง สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

สามารถฉีดวัคซีนได้ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและผู้ป่วย 3 สูง (ความดันโลหิตสูง น้ำตาลในเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง) ที่มีการใช้ยาเป็นเวลานาน จะมีโอกาสติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคโควิดสูงกว่าคนปรกติทั่วไป แพทย์ประเมินว่ามีโอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้ป่วยนอนติดเตียง ดังนั้นแนะนำให้ฉีดก่อน

Qหญิงตั้งครรภ์สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

สามารถฉีดได้ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องสังเกตว่าสตรีมีครรภ์เหมาะสำหรับวัคซีนไฟเซอร์หรือโมเดนา 2 ชนิดนี้เท่านั้น

Qสตรีให้นมบุตรสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?

สามารถฉีดได้

Qคนที่ติดเชื้อโรคปอดบวมอู่ฮั่นยังต้องฉีดวัคซีนหรือไม่?

ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เคยติดเชื้อโรคอู่ฮั่นหรือโรคโคโรน่า ทั้งที่มีหรือไม่มีอาการมาก่อน ควรได้รับการฉีดวัคซีน CDC เน้นว่ากรณีผู้ติดเชื้อ ควรเว้นระยะห่างการฉีดวัคซีนหลังวันที่เริ่มมีอาการ อย่างน้อย 6 เดือน และต้องครบกำหนดการกักตัวหรือกำหนดการรักษา ถึงฉีดวัคซีน

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ไต้หวัน-สหรัฐฯ กระชับมิตร! กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ วิดีโอคอลกับเฉินสือจง สัญญาว่าจะช่วยไต้หวันจัดหาวัคซีน

เจิ้งเหวินฉ้าน ประกาศแนวทางใหม่ โดยหวังว่าอุตสาหกรรมจะพิจารณาการป้องกันและความปลอดภัยในการแพร่ระบาด/ภาพจาก รัฐบาลเมืองไทเป

เจิ้งเหวินฉ้าน ประกาศแนวทางใหม่ โดยหวังว่าอุตสาหกรรมจะพิจารณาการป้องกันและความปลอดภัยในการแพร่ระบาด/ภาพจาก รัฐบาลเมืองไทเป

Qผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนมีอะไรบ้าง?

หลังฉีดวัคซีนแล้ว อาจมีอาการเจ็บหรือแดงบริเวณที่ฉีด เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีไข้เล็กน้อย (มากกว่า 38 องศา แต่จะหายไปภายในหนึ่งหรือสองวัน) หนาวสั่น ปวดข้อ เป็นต้น

Qหลังฉีดวัคซีนควรทำอะไรบ้าง?

(1) พักผ่อนและดื่มน้ำให้เพียงพอ

(2) หากคุณมีไข้ แนะนำให้ทานยาลดไข้หรือยาบรรเทาอาการปวด

(3) ห้ามถูบริเวณที่ฉีด ให้ประคบน้ำแข็ง พร้อมสังเกตอาการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม:กทม.ผลักดันประชาชนฉีดวัคซีน! ลงทะเบียนออนไลน์และร้านสะดวกซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน

 เจิ้งเหวินฉ้าน ประกาศแนวทางใหม่ โดยหวังว่าอุตสาหกรรมจะพิจารณาการป้องกันและความปลอดภัยในการแพร่ระบาด/ภาพจาก รัฐบาลเมืองไทเป

 เจิ้งเหวินฉ้าน ประกาศแนวทางใหม่ โดยหวังว่าอุตสาหกรรมจะพิจารณาการป้องกันและความปลอดภัยในการแพร่ระบาด/ภาพจาก รัฐบาลเมืองไทเป

Qหลังฉีดวัคซีน มีอาการอะไรบ้างที่ต้องรีบส่งไปพบแพทย์ทันที?

กรมควบคุมและป้องกันโรคระบาดเตือนเป็นพิเศษว่า เนื่องจากต่างประเทศพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและกลุ่มอาการเกล็ดเลือดต่ำหลังการฉีดวัคซีน โดยส่วนใหญ่จะมีอาการภายใน 28 วันหลังจากฉีดวัคซีน หากท่านใดพบอาการต่างๆต่อไปนี้หลังฉีดวัคซีน โปรดไปพบแพทย์ พร้อมบอกประวัติการฉีดวัคซีนทันที

(1) ปวดศีรษะเรื้อรัง การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือเกิดอาการลมบ้าหมู

(2) ปวดท้องรุนแรงและต่อเนื่องนานกว่า 24 ชั่วโมง

(3) เจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือหายใจลำบาก แขนขาบวม หรือเจ็บปวดบริเวณผิวหนังของส่วนต่างๆ

(4) มีเลือดออกเอง ช้ำ มีจุดแดงหรือม่วงบนผิวหนัง

Qวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถฉีดผสมกับวัคซีนชนิดอื่นได้หรือไม่?

ไม่ได้ กรมควบคุมโรคชี้ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันว่าวัคซีนป้องกันโควิดและวัคซีนชนิดอื่นๆ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพของยาหรือความปลอดภัยของผู้ฉีดหรือไม่อย่างไร เพื่อความปลอดภัยของท่าน จึงไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดพร้อมกับวัคซีนชนิดอื่นๆก่อน ดังนั้นกรมควบคุมโรคจึงแนะนำ หลังฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิดเว้นระยะออกไป 14 วัน ถึงสามารถฉีดวัคซีนอื่นได้

Qฉีดวัคซีนสองโดสต้องมีระยะห่างกันนานแค่ไหน?

สำหรับวัคซีน AZ  โดสที่สองต้องเว้นระยะเวลามากกว่า 8 สัปดาห์ ส่วนวัคซีนโมเดน่า โดสที่สองต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 28 วัน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading