[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ “4 Way Voice” ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เฟื่องฟูแล้ว ประเทศไทยได้ค่อย ๆ กลายเป็นประเทศหลักในการพัฒนาธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยตั้งอยู่ในศูนย์กลางการขนส่งทางทะเล ทางบก และทางอากาศของอาเซียน เชื่อมระหว่างจีน อินเดีย อาเซียน และภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม กัมพูชา อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์ ประกอบกับมีทัศนคติที่เป็นมิตรต่อการลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศไทยได้ก่อตั้งห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ของการผลิตรถยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ยาง ผู้สื่อข่าวสำนักพิมพ์สี่ฝั่งเดินทางไปกรุงเทพฯ เมื่อปีก่อน และพบว่าอาคารบ้านเรือนในเมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ได้ค่อย ๆ กลายเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่สำคัญ ในปี 2559 ไต้หวันมีมติให้ฟรีวีซ่าแก่ประเทศไทย ทำให้มีการการแลกเปลี่ยนทวิภาคีระหว่างไต้หวันและไทยเพิ่มมากขึ้น นักธุรกิจชาวไต้หวันมีความสนใจใน “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” และได้เข้าไปลงทุนในเมืองไทยอย่างกว้างขวาง
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติในไต้หวัน FSC ระบุว่า "การโอนเงินข้ามพรมแดนในจำนวนไม่มาก" อยู่ภายใต้ "กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน"
นักธุรกิจชาวไต้หวันมีความสนใจใน “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” ภาพจาก/เฟสบุ๊ค AmazingThailand
แล้วภาพจำของชาวไทยที่มีต่อนักธุรกิจไต้หวันเป็นอย่างไร? จากรายงาน “โครงการการสำรวจภาพลักษณ์ไต้หวันและนักธุรกิจไต้หวันในประเทศไทย”ของมูลนิธิเพื่อการแลกเปลี่ยนไต้หวัน-เอเชีย (Taiwan-Asia Exchange Foundation : TAEF) พบว่า 90% ของนักธุรกิจไทยรู้สึกว่าตนเองรู้จักไต้หวัน สามสิ่งแรกที่นึกถึงเมื่อพูดถึงไต้หวันคือ “ไฮเทค นวัตกรรม” “เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์” และ “อาหาร” ส่วนการมีส่วนร่วมของนักธุรกิจชาวไต้หวันในพื้นที่ท้องถิ่น คนไทยมีความรู้สึกว่า “ได้สร้างโอกาสในการจ้างงาน 83%” “สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม 65%” และ “การจัดหาเงินทุน 64%”
ในรายงานการสำรวจ คุณนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ ผู้ให้สัมภาษณ์เน้นย้ำว่า ไต้หวันเก่งด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ “ผมสัมผัสได้ถึงประสิทธิภาพอุตสาหกรรมไฮเทคของไต้หวัน Soft Power และ Hard Powerของไต้หวันมีความลงตัว พวกเขาเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมสมัยใหม่ แต่ก็มีวัฒนธรรมที่น่าสนใจและทิวทัศน์ที่สวยงาม และนี่ก็เป็นเหตุผลที่ไต้หวันมีความสามารถในการแข่งขันสูงในเวทีโลก”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: กรมพัฒนาฝีมือแรงงานและกรมกิจการเด็กและเยาวชนเมืองเจียอี้ ได้จัด "กิจกรรมการศึกษาด้านกฎหมายแรงงานข้ามชาติ" เสริมสร้าง "ความตระหนักด้านความปลอดภัยในที่ทำงาน"
ส่วนผังเศรษฐกิจในประเทศไทยของไต้หวัน รายงานจากสำนักงานบัญชี PwC เมื่อต้นปีนี้ชี้ว่า จากการสัมภาษณ์และการสำรวจแบบสอบถาม ในช่วงที่ผ่านมา นักธุรกิจไต้หวันได้ค่อย ๆ ลดการพึ่งพาตลาดจีนและสหรัฐฯ ภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ ความสำคัญของประเทศไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย และตลาดเอเชียอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
สังคมไทยมีความประทับใจที่ดีต่อไต้หวัน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รู้จักเรื่องราวต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวของไต้หวันผ่านทาง Facebook ใน “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” และการเคลื่อนไหวของพันธมิตรชานม (Milk Tea Alliance) นอกจากนี้ นับตั้งแต่ไต้หวันให้ฟรีวีซ่าแก่ประเทศไทย ก็ทำให้ชนชั้นกลางในไทยมาท่องเที่ยวในไต้หวันเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก