:::

เหลียงจินฉวิน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวมาเลเซีย ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในไต้หวันด้วยผลงานวรรณกรรม

 เหลียง จินฉวิน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวมาเลเซีย ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในไต้หวันด้วยผลงานวรรณกรรม ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)
เหลียง จินฉวิน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวมาเลเซีย ส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรมในไต้หวันด้วยผลงานวรรณกรรม ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

เหลียง จินฉวิน (梁金群) นักเขียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คนแรกของไต้หวัน เธอเดินทางมาไต้หวันเมื่อปี 1990 เพื่อเข้าศึกษาในภาควิชาภาษาจีน ที่มหาวิทยาลัยเฟิงเจี่ย ปัจจุบันมีผลงานวรรณกรรมตีพิมพ์ด้วยกันถึง 4 เล่มด้วยกัน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ได้รับรางวัลวรรณกรรมมากมายหลายรางวัล เป็นเครื่องการันตีถึงทักษะการเขียนภาษาจีนที่ยอดเยี่ยม ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งในผู้ประสบความสำเร็จมากที่สุดในแวดวงวรรณกรรมเลยทีเดียว

เหลียง จินฉวิน (梁金群) เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ไม่กี่คนที่สามารถสอนวิชาภาษาจีนในโรงเรียนมัธยมปลายได้ ทั้งยังได้รับการยกย่องให้เป็น “ครูต้นแบบ” ทำลายอคติของสังคมไต้หวันในยุคแรกที่มีต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้สำเร็จ ปัจจุบันเธอเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพื่อช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เพิ่มมากขึ้น หวังว่าประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวรรณกรรมและการภาษาจีนให้กับนักเรียนในไต้หวันกว่า 33 ปี จะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และนักศึกษาต่างชาติที่มีความฝันคนอื่นๆได้

ภาพถ่ายคู่กับสามี ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามย้ายมาอยู่ที่ไต้หวันตั้งแต่อายุ 19 ได้วุ้นดอกไม้ 3D มาช่วยเปลี่ยนชีวิต

เหลียง จินฉวิน (梁金群) เกิดในหมู่บ้านคนจีน ประเทศมาเลเซีย ตอนศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก็เริ่มมีความใฝ่ฝันว่าอยากเป็นนักเขียนแล้ว เมื่ออายุ 20 ปี ได้มีโอกาสเดินทางมาศึกษาต่อในไต้หวัน อย่างที่ตั้งใจไว้ ก่อนมาเรียนที่ไต้หวัน เธอคิดว่า คนที่เรียนภาษาจีนมาตั้งแต่ๆ อย่างเธอ คงจะไม่มีปัญหาหรืออุปสรรคด้านภาษาในไต้หวัน ไม่คาดคิดมาก่อนเลยว่า จะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากขนาดนี้ ทำให้เธอต้องใช้เวลาในการปรับตัวในระยะนึง

 เหลียงจินฉวิน เป็นทั้งครูสอนหนังสือ และวิทยากร ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)

อ่านข่าวเพิ่มเติม:หลี่ เหยา ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวจีน จากอาสามัครสู่การเป็นประธานสมาคมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นานาชาติ

อย่างไรก็ตาม การอาศัยอยู่ในมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตั้งแต่เด็กๆ ทำให้เธอสามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในไต้หวันได้อย่างรวดเร็ว ถือเป็นข้อได้เปรียบของคนที่เติบโตในสิ่งแวดล้อมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ผลงานการเขียนของ เหลียง จินฉวิน ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)

อ่านข่าวเพิ่มเติม:เมื่อเห็นอคติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไต้หวันต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ หงจิงจิงชาวอินโดฯ จัดตั้งสมาคมเพื่อส่งเสริมกิจการสาธารณะ

ทั้งนี้ เหลียง จินฉวิน (梁金群) ยังได้รับรางวัลวรรณกรรมมากกว่าสิบรางวัล ในช่วงเรียนมหาวิทยาลัย เธอกล่าวว่า "นักเรียนต่างชาติที่มาเรียนในไต้หวัน ต่างมีประสบการณ์ชีวิตที่ไม่ธรรมดา แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านภาษา ทำให้อาจถ่ายทอดความคิดผ่านตัวอักษรได้ไม่ดีพอ หากจะหาเลี้ยงชีพด้วยการเขียนหนังสือ จำเป็นต้องอาศัยความเข้มแข็งทางจิตใจ และอดทนต่อความยากลำบาก จึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ"

หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาภาษาจีน เหลียง จินฉวิน (梁金群) ได้เข้าทำงานเป็นครูสอนภาษาจีนให้กับนักเรียนมัธยมต้นในโรงเรียนเอกชน เธอเผยว่า กว่าจะมาเป็นครูรัฐบาลได้สำเร็จ ต้องพยายามสอบบรรจุถึง 5 ปี มีหลายๆครั้ง ที่เธอผ่านการสอบเบื้องต้น แต่ไม่ผ่านการสอบปากเปล่า ภายหลังได้ทราบเหตุผลว่า ชาวไต้หวันในสมัยนั้น ยังคงมีทัศนคติแบบเหมารวมว่า "คนมาเลเซียไม่เหมาะที่จะเป็นครูสอนภาษาจีน"

ภาพถ่ายกับนักเรียน ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)

อ่านข่าวเพิ่มเติม:หูอิงเยว่ล่ามกฎหมายมืออาชีพ ช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย

มือซ้ายเขียนวรรณกรรม มือขวาถือไม้เรียว เหลียง จินฉวิน (梁金群) ผู้เป็นเจ้าของรางวัล  “ครูต้นแบบ” และ “รางวัลซิ่งฐานเฟินฟาง” (杏壇芬芳獎) รางวัลเกียรติอันทรงเกียรติในแวดวงการศึกษาระดับชาติของไต้หวัน ในฐานะนักเขียนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คนแรกของไต้หวัน เธอได้ถ่ายทอดผลงานที่ช่วยให้ผู้อ่านชาวไต้หวัน เข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลายของมาเลเซีย และสถานการณ์ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันต้องเผชิญมากยิ่งขึ้น

เหลียง จินฉวิน ถูกเชิญเข้าร่วมกิจกรรมพหุวัฒนธรรม และเป็นวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์อยู่บ่อยครั้ง ภาพ/จาก เหลียง จินฉวิน (梁金群)

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ม่อโฉว ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามราชินีแห่งวงการไลฟ์สดขายของ แบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จของการเป็นสตาร์ทอัพ

เหลียง จินฉวิน (梁金群) ได้มุ่งมั่นผลักดันการศึกษาพหุวัฒนธรรมในไต้หวันอยู่เรื่อยมา ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เธอมักจะถูกเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมพหุวัฒนธรรม และเป็นวิทยากรแบ่งปันประสบการณ์อยู่บ่อยครั้ง เธอกล่าวว่า เป้าหมายของการศึกษาพหุวัฒนธรรม คือ หวังว่าทุกคน จะสามารถก้าวข้ามกำแพงอคติ พยายามทำความเข้าใจผู้ที่มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่าง และรับรู้ได้ว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อาศัยอยู่ในไต้หวัน เป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะช่วยผลักดัน ให้ไต้หวันกลายเป็นสังคมที่หลากหลายได้อย่างแท้จริง

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading