[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับ IC Voice FM 97.5 [新生報到-我們在台灣] (ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มารายงานตัว-พวกเราอยู่ในไต้หวัน) จัดทำบันทึกเรื่องราวสุดประทับใจเกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ซึ่งในตอนนี้ได้เรียนเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวฮ่องกง – คุณเถียนเหวยผิง (田維屏) เขาไม่เพียงแต่เป็นผู้แต่งหนังสือ ‘บันทึกการเลี้ยงดูสุดพิเศษ : วิธีการสอน 2 ลูกชายจอหงวนมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และ ปริญญาเอกมหาลัยฮาวาร์ด’ (如何教出2個柏克萊狀元、哈佛博士兒子:不留一手的獨家教養手記) เท่านั้น บนเส้นทางการเลี้ยงดูลูก ๆ ยังเป็นคุณแม่ที่มีความรับผิดชอบเป็นอย่างมาก
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของตอนนี้มาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ชมเข้าใจเคล็ดลับการเลี้ยงดูลูก ช่วยให้เส้นทางการเลี้ยงดูลูกราบรื่นมากขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม: พนักงานต้องดู! ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 เป็นต้นไป หากนายจ้างจัดให้พนักงานทำงานล่วงเวลาไม่ว่าจะเป็นกะกลางวันหรือกะดึกต้องจ่ายค่าโอที
หลังแต่งงานคุณเถียนเหวยผิง (田維屏) และสามีได้ย้ายจากฮ่องกงมาอาศัยอยู่ ณ ไต้หวัน ภาพจาก/คุณเถียนเหวยผิง (田維屏)
คุณเถียนเหวยผิงได้แบ่งปันกับผู้อ่านว่า ครอบครัวเดิมของตนเองนั้นมีแนวความคิดที่ค่อนข้างจะโบราณ กล่าวคือจะให้ความสำคัญกับลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง ฉะนั้น เมื่อเธออายุได้ 12 ปีก็ได้ตั้งปณิธานว่าอนาคตจะเป็นคุณแม่ที่ยุติธรรม หลังแต่งงาน เธอและสามีได้ย้ายจากฮ่องกงมาอาศัยอยู่ ณ ไต้หวัน เพื่อที่จะเลี้ยงลูกทั้ง 3 คนให้ดี คุณเถียนเหวยผิงให้ความสำคัญกับการศึกษา ทัศนคติ และกฎระเบียบเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ลูก ๆ ยังเด็กเขาพยายามปลูกฝังให้ลูก ๆ มีแนวความคิดและฝึกช่วยเหลือตนเอง
อ่านข่าวเพิ่มเติม: คุณแม่ต้องรีบดู! รัฐบาลเมืองนิวไทเปประกาศ ปีใหม่นี้ให้กำเนิดบุตรคนที่ 3 จะได้รับเงินอุดหนุนเป็น 30,000 เหรียญไต้หวัน
คุณเถียนเหวยผิง (田維屏) ปลูกฝังให้ลูก ๆ รู้จักพิจารณาด้วยตนเอง (แผนตัวอย่าง) ภาพจาก/คลังภาพ pixabay
นอกจากนี้ คุณเถียนเหวยผิงยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า พ่อแม่จะต้องพูดคุยสื่อสารกับลูกให้มาก ๆ และควรเปิดโอกาสให้ลูกตัดสินใจด้วยตนเอง เมื่อลูกเผชิญกับความล้มเหลว พ่อแม่ต้องคอยอยู่เคียงข้างและช่วยพวกเขาเติบโตไปพร้อมกันด้วย เธอบอกว่า “เขาจะคอยสร้างสถานการณ์ให้ลูก ๆ ได้เผชิญกับความล้มเหลวอยู่บ่อย ๆ” เพราะสุดท้ายแล้ว “ชีวิตของคนเราก็เป็นแบบนี้แหละ ไม่ได้สมบูรณ์แบบไปซะทุกอย่าง” สิ่งสำคัญคือความสามารถในการเผชิญหน้าและแก้ปัญหาต่างหาก