:::

ฤดูร้อนนี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แพทย์เตือนให้คุณใส่ใจกับโรคลมแดด อันตรายอาจถึงตายได้

ฤดูร้อนนี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แพทย์เตือนให้คุณใส่ใจกับโรคลมแดด อันตรายอาจถึงตายได้ ภาพ/นำมาจาก freepik
ฤดูร้อนนี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แพทย์เตือนให้คุณใส่ใจกับโรคลมแดด อันตรายอาจถึงตายได้ ภาพ/นำมาจาก freepik
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ช่วงนี้อากาศร้อนขึ้นเรื่อย ๆ ยกตัวอย่างวันที่ 7 กรกฎาคม สำนักอุตุนิยมวิทยา ออกคำเตือนว่าใน 18 เมืองจะมีอุณหภูมิสูง และไทเปสูงถึง 38 องศาในตอนบ่าย แพทย์ชี้ว่า หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีอาการบาดเจ็บจากความร้อน จริงๆ แล้วมีอาการสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ หากไม่รักษา อาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียจากความร้อนหรืออาจถึงขั้นเป็นลมแดดร่วมด้วยได้ หากอาการหนักเสี่ยงตายสูง

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สิ่งที่ต้องรู้สำหรับการใช้งานบัตรผ่านรายเดือน TPASS ใช้รถไฟไต้หวันข้ามเขตจะถูกเรียกเก็บเงินเต็มจำนวน

ฤดูร้อนนี้อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง แพทย์เตือนให้คุณใส่ใจกับโรคลมแดด อันตรายอาจถึงตายได้ ภาพ/นำมาจาก中央氣象局

Dr. Ooi Hean กล่าวว่า การเจ็บป่วยจากความร้อน (Heat-related illness) แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ๆ คือกลุ่ม Minor ที่จะเป็นลักษณะอาการที่จะเตือนให้ทราบก่อนจะไปถึงลักษณะอาการที่เป็นกลุ่ม Major ที่มีอันตรายถึง ขั้นเสียชีวิต โดยกลุ่ม minor นั้นประกอบไปด้วย

-Heat Rash (ผื่นผดแดด) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า Prickly Heath จะเป็นผื่นคันเป็นจุดแดงในร่ม ผ้า มีอาการคันรุนแรงซึ่งเกิดจากอาการอักเสบของต่อมเหงื่อ รักษาโดยใช้ยาแก้แพ้กลุ่ม Antihistamine และป้องกันโดยการสวมใส่เสื้อผ้าที่บาง สะอาด และระบายความร้อนและ เหงื่อได้ดี อาการจะดีขึ้นภายใน ๒-๓ วันแต่ต้องเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เหงื่อออกมากๆ

-Heat edema จะมีอาการบวมที่มือและเท้า เช่น ในกรณีที่ สวมแหวนคับ หรือรองเท้าคับ เป็นต้น มักจะเกิดในวันแรกๆ ที่มีการสัมผัสความร้อน เกิดจากหลอดเลือดที่ผิวหนังขยายตัว และมีการคั่งของสารน้ำ

-Heat Syncope อาการเป็นลมแดด หน้ามืด เป็นลม เกิดจากหลอดเลือดผิวหนังขยายตัว มาก เลือดในส่วนกลางจึงไม่เพียงพอ

-Heat Cramp การเป็นตะคริวเกิดจากกล้ามเนื้อที่มีการเกร็ง ปฐมพยาบาลโดยการให้พักในที่ ที่มีอากาศเย็น และให้ดื่มเกลือแร่

-Heat Tetany มีการหายใจเร็ว ตื้น มีการจีบเกร็งที่ปลายมือ หรืออาจชาตรงปลายมือ โดย การหายใจหอบนี้เพื่อนำหรือระบายอากาศร้อนออกไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม : เตือนชาวต่างชาติ ก่อนออกนอกประเทศต้องไปแจ้งยกเลิกใช้รถหรือโอนรถให้เรียบร้อย เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับ

สำหรับกลุ่ม Major ที่มีอาการรุนแรง ประกอบด้วย Heat Exhaustion เป็นภาวะเพลียแดด มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืดเป็นลม และมีเหงื่ออกมาก อุณหภูมิร่างกายบอกได้ไม่แน่ชัด อาการจะคล้ายกับ Heat Stroke แต่ผู้ป่วย Heat Exhaustion จะมีสติรู้สึกตัวที่คงที่ ส่วนผู้ป่วย Heat Stroke จะต้องมีอุณหภูมิ ร่างกายมากกว่า ๔๐ องศาเซลเซียส วัดโดย Rectal Thermometer และส่วนใหญ่มีความผิดปกติทางระบบ ประสาท เช่น มีอาการหงุดหงิด สับสน ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ เดินเซ หมดสติ เป็นต้น ประกอบกับอาการจาก การทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะร่วมด้วย

หากคุณต้องการออกไปข้างนอก ขอแนะนำให้สวมเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ซับเหงื่อ เสื้อผ้าสีอ่อน และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและความไม่สมดุลของอิเล็กโทรไลต์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading