:::

ภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ถูกบรรจุให้เป็นวิชาเลือกและวิชาบังคับในชั้นประถมและมัธยมในปีการศึกษา 2019 ---ทั้งภาษาและวัฒนธรรมต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน

ภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ถูกบรรจุให้เป็นวิชาเลือกและวิชาบังคับในชั้นประถมและมัธยมในปีการศึกษา 2019 ---ทั้งภาษาและวัฒนธรรมต้องเรียนรู้ไปพร้อมกัน

อาจารย์สอนภาษาเวียดนาม

ในปีการศึกษา 2019 ไต้หวันได้บรรจุหลักสูตรภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ทั้ง 7 ภาษา(เวียดนาม อินโดนิเซีย ไทย เมียนมา กัมพูชามาเลย์ และฟิลิปปินส์) และภาษาท้องถิ่นให้เป็นวิชาภาคบังคับในระดับชั้นประถมศึกษา ในขณะที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเปิดให้นักเรียนเลือกเรียนเป็นวิชาเลือกในชั่วโมงชมรมได้

การเขียนตำราการเรียนทั้งเจ็ดภาษานั้นทำอย่างไร? อะไรคือลักษณะพิเศษของตำราเรียน? ภาษาและวัฒนธรรมของทั้งเจ็ดประเทศนั้นแตกต่างกันมาก จะมีการวางแผนเนื้อหาการเรียนรู้อย่างไร? คิดว่าทุกคนคงเกิดความสงสัย ในความเป็นจริง ไม่ว่าจะเรียนรู้ภาษาอะไร สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ บรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้ภาษา และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเพื่อเพิ่มความสนใจให้กับผู้เรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และนำไปใช้ได้จริง การเรียนรู้ภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้รับการออกแบบในรูปแบบการสนทนา รวมถึงคำศัพท์พื้นฐาน และรู้จักคำศัพท์ใหม่ รวมทั้งกิจกรรมเพื่อเสริมทักษะและความชำนาญในการใช้ภาษา เช่น การฟัง การพูด การเลือกตอบ จับคู่ เติมคำ มีการใช้เพลงเด็กประกอบการสอน สอดแทรกวัฒนธรรม การเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมและการฝึกทบทวน เป็นต้น โดยแต่ละบทเรียนจะมีส่วนเรียนย่อย 4-5 ส่วน และตำราเรียนแต่ละเล่มจะมีบทเรียน 4 บท นอกจากนี้ คู่มือเรียนภาษาเล่มแรกไม่ได้สอนตัวอักษรและการเขียน ซึ่งต้องการที่จะให้เด็กเกิดความกล้าที่จะพูดก่อน ให้ได้ทำความคุ้นเคยกับโทนเสียงของภาษานั้นๆ ก่อน

อาจารย์สอนภาษาไทย

หนึ่งในลักษณะพิเศษที่สุดของเนื้อหาการเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คือ ต้องสอนทั้งภาษาและวัฒนธรรม ดังนั้น "บริบท" ของแต่ละบทเรียนได้รับการออกแบบและตรวจสอบเป็นพิเศษ การเรียนบทเรียนแรกของแต่ละภาษาจะเป็นการแนะนำชื่อ ในห้องเรียนภาษาเวียดนาม คุณจะเห็นอาจารย์หญิงสวมชุดอ๋าวหย่าย นักเรียนสวมชุดนักเรียน ตั้งใจเรียนรู้ทำความเข้าใจขนาดและที่ตั้งของเวียดนามและไต้หวันผ่านแผนที่บนผนัง และธงชาติเวียดนาม เป็นต้น เด็ก ๆ ไม่เพียงแต่ได้เรียนรู้ภาษา แต่ยังเข้าใจถึงบรรทัดฐานปฏิสัมพันธ์ของภาษาและสิ่งที่ไม่ใช่ภาษาระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และยังมีเงื่อนไขและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของแต่ละประเทศซึ่งสามารถเพิ่มมุมมองทางวัฒนธรรมของเด็กและช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารที่เหมาะสมด้วย และอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นความท้าทายที่สุดในการจัดทำตำราเรียนคือ เนื่องจากแต่ละประเทศมีอาณาเขตที่กว้างใหญ่และมีวัฒนธรรมมากมาย การยืนยันความถูกต้องนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบากมาก ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตจำนวนมากไม่ถูกต้อง ทำให้ต้องทำการตรวจสอบถึง 3 ครั้ง

คณะกรรมการบรรณาธิการตำราเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีจำนวนมากและมีความสามารถที่โดดเด่นได้คอยพูดคุยสื่อสารกับผู้เขียนภาษาจีน สำหรับเนื้อหาของตำราเรียนแต่ละภาษาทั้ง 18 เล่ม จะมีเนื้อหาตั้งแต่แนะนำตนเอง ภาษาพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันและในครอบครัวไปจนถึงภาษาที่ใช้บ่อยๆ ในครอบครัว โรงเรียน และมารยาทของการปฎิสัมพันธ์ระหว่างญาติ ครู และเพื่อน จากนั้นขยายไปสู่การใช้ชีวิตในชุมชนและมารยาทในการปฎิสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า รวมทั้งมารยาททางสังคมและระหว่างประเทศ การวางแผนตำราเรียนแบบนี้เป็นการเริ่มต้นจากชีวิตประจำวันของเด็ก ทำความคุ้นเคยกับประโยคที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่หลากหลายและเสริมสร้างความรู้ข้ามวัฒนธรรมในระหว่างกระบวนการเรียนรู้ด้วย

ลักษณะพิเศษอีกประการของตำราเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่คือ ไม่ได้เลือกตำราเรียนตามวัยเรียน เช่น นักเรียนชั้นป. 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ไม่จำเป็นต้องเลือกเรียนตำราเรียนเล่มที่ 3 แต่ขึ้นอยู่กับระดับภาษาของนักเรียน กล่าวคือแต่ละภาษาจะมีตำราเรียนทั้งหมด 18 เล่ม และแบ่งการเรียนออกเป็น 4 ขั้น โดยเลือกตำราเรียนที่เหมาะสมตามความสามารถทางภาษาของนักเรียน และเปิดชั้นเรียน ซึ่งลักษณะพิเศษดังกล่าวมี 2 จุดประสงค์สองประการ ประการแรกคือ เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้อย่างเหมาะสมและอีกประการหนึ่งคือเพื่อช่วยให้นักเรียนเริ่มต้นเรียนภาษาในเวลาใดก็ได้ เป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้มากขึ้น ดังนั้นเด็กที่ต้องการเลือกเรียนภาษาก็ไม่ต้องกังวลเพราะสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัยและจะได้เริ่มเรียนรู้จากตำราเรียนที่เหมาะสมที่สุด

เนื้อหาของตำราเรียนยังเน้นการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ดังนั้นเราจะให้เด็ก ๆ ได้ค้นพบความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกันและกัน รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ในขณะเดียวกันยังมีการสอนด้านมารยาทเพื่อให้เกิดการเคารพและชื่นชมวัฒนธรรมที่แตกต่าง ส่วนในตอนต้นของตำราเรียนเล่มที่ 5 ในส่วนเรียนย่อย ห้องเรียนวัฒนธรรมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการแนะนำวัฒนธรรมจากหัวข้อในบทเรียน ในขณะเดียวกันมีการสัมผัสการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น หัวข้อห้องเรียนวัฒนธรรมในตำราเรียนภาษาอินโดนิเซียเล่มที่ 6 มีการแนะนำวัฒนธรรมอาหารและลักษณะเสื้อผ้าของอินโดนีเซีย ซึ่งเด็ก ๆ สามารถเรียนรู้เกี่ยวกับอาหารหลักของอินโดนีเซียคือ ข้าว ข้าวโพด และมันฝรั่ง รวมถึงการใช้เครื่องเทศ การใช้มือทานข้าว และผ้าบาติกของอินโดนิเซีย เป็นต้น สำหรับการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมในตำราเรียนภาษาเมียนมาเล่มที่ 15 จะมีการแนะนำรองเท้าแตะของเมียนมา และให้นักเรียนลองสวมใส่เตะฟุตบอล และเปรียบเทียบรองเท้าที่สวมใส่ของไต้หวันและเมียนมาในโอกาสต่าง ๆ ซึ่งวัฒนธรรมที่สวยงามและโดดเด่นของประเทศต่างๆ จะรวมอยู่ในตำราเรียนทั้ง 18 เล่ม ในแต่ละภาษา ซึ่งจะทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น

อาจารย์สอนภาษาเวียดนามถ่ายรูปร่วมกัน

การเขียนตำราเรียนนั้นเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2016 ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 3 ปี และมีการประชุมการแก้ไขรวมทั้งสิ้น 1,051 ครั้ง โชคดีที่ฉันได้รับหน้าที่เป็นคณะกรรมการบรรณาธิการซึ่งปริมาณงานของการทำตำราเรียนทั้ง 7 ภาษานั้นมีจำนวนมาก วันหยุดเกือบทั้งหมดในช่วงสามปีรวมถึงวันปีใหม่ก็ใช้ไปกับการตรวจสอบและแก้ไข นอกจากนี้เพื่อให้สื่อการสอนมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงในด้านการสอน ในปี 2017 กระทรวงศึกษาธิการได้ริเริ่มโครงการทดลองใช้ตำราเรียนในการสอนทั่วประเทศ โดยหวังว่า การสอนทดลองสอนในภาษาต่าง ๆ และการสังเกตการณ์ของคณะกรรมการบรรณาธิการในระหว่างการสอนจะให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัญหาและทำการแก้ไขทันที เราทุกคนหวังว่าตำราเรียนจะสามารถตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของนักเรียนได้เป็นอย่างดี

ตำราเรียนจำนวน 126 เล่ม และคู่มือของครูก็ได้รับการตีพิมพ์ในที่สุด นอกจากนี้ยังได้จัดทำตำราเรียนแบบดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และทบทวนด้วยตนเอง ซึ่งตำราเรียนเหล่านี้ถูกอัพโหลดลงบนเว็บไซต์เพื่อการศึกษาของบุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ (新住民子女教育資訊網) คุณสามารถลองเข้าไปดูได้และจะได้พบลักษณะพิเศษของภาษาและวัฒนธรรมของทั้งเจ็ดภาษา เป็นการเปิดหูเปิดตาของคุณ! และแน่นอนว่า “การเรียนภาษาเพิ่มอีก 1 ภาษา ก็จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับคุณเพิ่มขึ้น” หากเป็นไปได้ ก็ขอสนับสนุนให้บุตรผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เลือกเรียนภาษาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมด้วยกัน!

ผู้เขียน คุณหวง มู่อิน (黃木姻) ผู้อำนวยการโรงเรียนประถมศึกษาตงอันนครเถาหยวน

3

2

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading