[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] มูลนิธิวัฒนธรรมไต้หวัน (The Cultural Taiwan Foundation) ร่วมกับห้องปฏิบัติการที่ทันสมัยของกลุ่มประเทศในซีกโลกใต้ SEAT (SEAT南方時驗室) กลุ่มคณาจารย์ข้ามพื้นที่ มหาวิทยาลัยจี่หนาน (National Chi Nan University) จัดโครงการเวิร์คช้อป “กราดภาพความทรงจำชายขอบของใคร” (掃描誰的邊緣記憶) บันทึกประสบการณ์การใช้ชีวิตในไต้หวัน ก็มีชาวจีนโพ้นทะเลที่นำประสบการณ์การมาเรียนที่ไต้หวันมาผสมผสานสู่ผลงานที่ทำ นอกจากนี้ นโยบายการอุดมศึกษาสำหรับชาวจีนโพ้นทะเลก็ได้ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปี ที่คอยปลูกฝังชาวจีนโพ้นทะเลที่มากความสามารถออกมาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะชาวจีนโพ้นทะเลชาวมาเลเซียที่มีจำนวนมากที่สุด สถานศึกษาในไต้หวันต่างก็ปฏิบัติตามมาตรการ “นโยบายมุ่งใต้ใหม่” ของรัฐบาลกลางจัดดำเนินการแลกเปลี่ยนทางวิชาการกับกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกันนี้กระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยสำนักกิจการชาวจีนโพ้นทะเลก็ได้จัด ทุนสนับสนุนทางการศึกษาประเภทต่าง ๆ ขึ้น เพื่อดึงดูดนักศึกษาชาวจีนโพ้นทะเลให้มาศึกษาต่อที่ไต้หวัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โรงพยาบาลเปิดให้เข้าเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรัง "แบบมีเงื่อนไข" ศูนย์บัญชาการป้องกันโรคระบาดแนะต้องปฏิบัติตาม 3 เงื่อนไข
หลินเว่ยเจี๋ยเข้าร่วมเวิร์คช็อปการสร้างสรรค์ แสดงทัศนะคติต่อการใช้ชีวิต ภาพ/จากหลินเว่ยเจี๋ย
ไม่กี่วันที่ผ่านมา [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ได้นำเสนอถึงโครงการ “กราดภาพความทรงจำชายขอบของใคร” โดยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมเวิร์คช้อปชาวจีนโพ้นทะเลสัญชาติมาเลเซีย หลินเว่ยเจี๋ย ในช่วงระยะเวลาการสัมภาษณ์ หลินเว่ยเจี๋ยบอกว่าปัจจุบันกำลังเรียนปริญญาเอก อยู่ที่มหาวิทยาลัยจี่หนาน สาขาวิชาจิตวิทยาเพื่อการให้คำปรึกษากับการจัดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเขาได้แบ่งปันความหมายที่ซ่อนอยู่ในผลงานของเขาว่า ด้วยความที่ตัวเขาเองยึดถือ “การมีวินัยในตนเองอย่างเข้มงวด” เป็นหลักในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตหรือความคาดหวังต่อตนเองก็มักจะต้องการทำมันให้ดีที่สุด โดยรูปนี้ช่วงด้านบนจะหมายถึง “ความมุ่งมาดปรารถนา” ใช้สีท้องฟ้าเป็นพื้นหลัง แสดงถึงเสรีภาพ ตรงกลางหมายถึง “ชีวิตในปัจจุบัน” ใช้สีเขียวเป็นพื้นหลัง แสดงถึงความเป็นกฎเกณฑ์ และด้านหลางหมายถึง “ชีวิตในอนาคต” ใช้ลักษณะการกระจัดกระจายแสดงถึงการท้าทายที่ไม่เป็นไปตามแบบแผน
อ่านเพิ่มเติม: แพลตฟอร์มนัดหมายฉีดวัคซีนเพิ่มตัวเลือก "ตรวจสอบผู้มีคุณสมบัติ" ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถยืนยันสิทธิ์ก่อนนัดรับวัคซีนได้
หลินเว่ยเจี๋ยชื่นชมสาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาของไต้หวันที่พัฒนามาเป็นอันดับหนึ่งของเอเซีย ภาพ/จากคลังภาพ Pixabay
หลินเว่ยเจี๋ยบอกว่า การที่เขาตัดสินใจมาเรียนสาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษาที่ไต้หวันนั้น ก็เป็นเพราะว่าไต้หวันโดดเด่นด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาที่สุดในไต้หวัน หลินเว่ยเจี๋ยจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในไต้หวัน ก็ไปที่สิงคโปร์เพื่อเรียนชั้นเรียนพิเศษปริญญาโทของมหาวิทยาลัยจี่หนานของไต้หวัน ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษาก็ได้ขอทุนรัฐบาลไต้หวันเพื่อมาเรียนด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาต่อไป
หลินเว่ยเจี๋ย แบ่งปันประสบการณ์การมาเรียนต่อที่ไต้หวันกับ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ภาพ/จากหลินเว่ยเจี๋ย
นับจากกันยายนปี 2015 ซึ่งเป็นเทศกาลเปิดเทอม หลินเว่ยเจี๋ยเดินทางมาไต้หวัน เริ่มชีวิตการเดินทางในการเรียนปริญญาเอก ในช่วงแรกที่เขามาถึงไต้หวัน เนื่องด้วยตัวเขาเองก็ถือได้ว่าเป็นชาวจีนคนหนึ่ง เพราะฉะนั้นจึงไม่มีปัญหาในด้านของกำแพงภาษา หลินเว่ยเจี๋ยชื่นชมไต้หวันถึง “ความมีเสรีภาพและประชาธิปไตย” ทุก ๆ คนสามารถทำในสิ่งที่ตนเองชอบ และใช้ชีวิตไปอย่างสบาย จนถึงวันนี้หลินเว่ยเจี๋ยก็ได้มาอยู่ไต้หวันเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้ว เขาบอกว่าในช่วงที่เขาเรียนปริญญาเองก็ได้รับการฝึกฝนในวงวิชาการ ทำให้เขามีมุมมองต่อสิ่งรอบตัวที่ต่างไปจากเดิม รู้จักเรียนรู้การมองเรื่องราวในมุมมองของคนอื่น และนี่คือแก่นแท้ที่สำคัญที่สุดของสาขาวิชาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา
หลินเว่ยเจี๋ยจะนำความรู้ที่ได้จากการมาเรียนที่ไต้หวันไปพัฒนาการศึกษาในมาเลเซีย ภาพ/จากหลินเว่ยเจี๋ย
ท้ายที่สุดนี้ หลินเว่ยเจี๋ยก็ได้บอกกับ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ถึงการวางแผนชีวิตในการทำงานว่า ภายหลังจากการศึกษาปริญญาเอกที่ไต้หวัน เขาก็จะกลับมาเลเซีย และนำ “การศึกษากับจิตวิทยาเพื่อการให้คำปรึกษา” มาผสมผสานกัน โดยเริ่มจากการศึกษาของเด็กประถม ให้ความสำคัญกับเด็กในช่วงระยะเวลาเยาว์วัย เพื่อนำสิ่งที่เรียนรู้จากไต้หวันกลับไปใช้ในประเทศบ้านเกิด นอกจากนี้ หลินเว่ยเจี๋ยยังได้แนะนำร้านอาหารมาเลเซียที่อยู่ในไถจง “Old Wang老王去野餐” ให้กับผู้อ่านอีกด้วย โดยเชฟร้านนี้มาจากมะละกา ดังนั้นอาหารจึงเป็นอาหารมาเลเซียแท้ ๆ เพื่อน ๆ ชาวไต้หวันสามารถไปลองชิมได้