[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สหประชาชาติสุขสันต์’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอน ‘ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะได้อย่างไร’ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน) โดยมีพิธีกร หลี่เพ่ยอิง (李沛英) และ หยางว่านลี่ (楊萬利) ร่วมกันดำเนินรายการ ซึ่งได้เรียนเชิญศาสตราจารย์เซี่ยเสี่ยวเจวียน (夏曉鵑) ภาควิชาพัฒนาสังคมบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยซื่อซิน (Shih Hsin University) มาให้สัมภาษณ์ เพื่อให้กำลังใจผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตรหลานผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ให้เข้าร่วมในกิจกรรมสาธารณะอย่างแข็งขัน กล้าที่จะออกเสียงเพื่อสิทธิและผลประโยชน์ของตน ในขณะเดียวกัน ยังได้มีการ ‘สร้างภูมิคุ้มกัน’ ให้แก่พวกเขาเหล่านี้ด้วย ถึงแม้ว่าการขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ จะมีความยากลำบาก แต่เราจะต้องยึดมั่นใจปณิธานแรกเริ่มของเราเอาไว้ มาร่วมกันสร้างสังคมไต้หวันให้มีพลังใหม่ที่เข้มแข็ง
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โครงการสร้างฝันของสะใภ้ไต้หวันหลินยวี่เมิ่ง ทำให้อิสราเอลได้มองเห็นไต้หวัน
เซี่ยเสี่ยวเจวียน (夏曉鵑) สนับสนุนให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าร่วมในประเด็นสาธารณะ ภาพ/จาก เซี่ยเสี่ยวเจวียน (夏曉鵑)
“สามหัวดีกว่าหัวเดียว” เซี่ยเสี่ยวเจวียนผู้ร่วมผลักดันประเด็นเกี่ยวกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากว่า 20 ปีใช้คำสุภาษิตมาอุปมาการขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะในสังคม ในการขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะล้วนเริ่มต้นจากการที่คนหนึ่งคน ‘พบเจอปัญหา’ จากนั้น ‘หาเพื่อนร่วมอุดมการณ์’ กระทั่ง ‘รวมกันเป็นกลุ่ม’ เป็นการรวมตัวของผู้ที่มีอุดมการณ์เดียวกันมาร่วมกันแก้ปัญหาในประเด็นนั้น ๆ อาศัยยุคเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมโยงกัน เป็นกระบอกเสียงแทนผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือและช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
เมื่อปี ค.ศ. 1991 เซี่ยเสี่ยวเจวียน ได้ทำการสำรวจพื้นที่ทำการเกษตรพบว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในท้องถิ่นจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นได้เนื่องจากมีอุปสรรคทางด้านภาษา ต่อมาเมื่อปี ค.ศ. 1995 จึงได้มีการจัดชั้นอ่านออกเขียนได้ เชิญชวนพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากประเทศต่าง ๆ มาเรียนภาษาจีนด้วยกัน ไม่นานก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘สมาคมพี่น้องสตรีเอเชียในไต้หวัน’ (TransAsia Sisters Association, Taiwan (TASAT)) นอกเหนือจากการให้ความสนใจต่อประเด็นปัญหาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อย่างต่อเนื่องแล้ว ยังเริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับปัญหาสถาบันครอบครัว ปัญหาการเติบโต และปัญหาการศึกษาของบุตรหลานผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: จากเด็กดื้อสู่นิทรรศการภาพยนตร์นานาชาติ เหงียนทูหั่งทอดสะพานระหว่างไต้หวันและเวียดนามในการได้รู้จักกันอีกครั้ง
ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมกันก่อตั้ง TransAsia Sisters Association, Taiwan (TASAT) ภาพ/นำมาจากเฟสบุ๊ก南洋臺灣姊妹會
ในรายการ หลี่เพ่ยอิง หนึ่งในพิธีกรได้แชร์ว่า ครั้นตอนที่ตนเดินทางมาไต้หวันใหม่ ๆ เพื่อที่จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมไต้หวันได้อย่างเร็ว ก็ได้ไปลงทะเบียนเข้าร่วมชั้นเรียนอ่านออกเขียนได้ของ ‘สมาคมพี่น้องสตรีเอเชียในไต้หวัน’ เช่นกัน เพราะว่าเวลาไปไหนมาไหนจะได้ทำได้เองไม่ต้องรอให้สามีมาช่วย เซี่ยเสี่ยวเจวียนฟังแล้วบอกว่า “นี่แหละคือเป้าหมายหลักในการก่อตั้งสมาคมพี่น้องสตรีเอเชียในไต้หวันขึ้น” ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เดินทางมาอาศัยอยู่ในไต้หวันส่วนใหญ่พร้อมด้วยความกล้าหาญ กระตือรือร้น หากพี่น้องสตรีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เหล่านี้มารวมตัวกัน จะสามารถแสดงให้เห็นถึงพลังความสามัคคีอันแข็งแกร่งของสตรีผู้ย้ายถิ่น
“การขับเคลื่อนประเด็นปัญหาต่าง ๆ เบื้องหลังต่างพร้อมไปด้วยผู้คนที่มีอุดมการณ์เดียวกันทั้งสิ้น” ประโยคนี้ทำให้ หยางว่านลี่ หนึ่งในพิธีกรเห็นด้วยเป็นอย่างมาก เธอเล่าถึงเมื่อตอนที่ไต้หวันเกิดสถานการณ์โควิด-19 ระบาดรุนแรง ศูนย์บัญชาการฯ ประกาศใช้ ‘มาตรการคุมเข้มชายแดน’ ทันที ทำให้พี่สาวไม่สามารถพาลูกที่ถือครองสัญชาติอเมริกากลับไต้หวันได้
ไต้หวัน ‘คุมเข้มชายแดน’ ในช่วงที่เกิดโรคระบาดอย่างหนัก ภาพ/ดึงมาจากคลังภาพ Pixabay
ต่อมา หยางว่านลี่ได้มีการโพสต์สอบถามเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้บนเฟซบุ๊กและกลุ่มไลน์ ไม่คิดเหมือนกันว่าจะมีชาวเน็ตที่พบเจอปัญหาเช่นเดียวกันนี้มากขนาดนี้ และพวกเขาได้ร่วมกันเขียนจดหมายยื่นคำร้องขอต่อภาครัฐ ในที่สุด เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ.2021 ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคระบาดก็ได้มีการประกาศให้ ‘คู่สมรสชาวต่างชาติและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ’ สามารถลงทะเบียนยื่นคำร้องขอเดินทางเข้าไต้หวันเป็นรายกรณีได้ โรคระบาดทำให้เกิดอุปสรรคปัญหามากมาย แต่ “พลังของผู้คนที่มีอุดมการณ์เดียวกัน” ร่วมกันยืนหยัดฝ่าฝัน ไม่ว่ากำแพงจะสูงขนาดไหนก็สามารถผ่านไปได้ด้วยดี
ดังนั้น “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่สามารถมีส่วนร่วมในประเด็นสาธารณะได้อย่างไร” เซี่ยเสี่ยวเจวียนส่งเสริมให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รู้จักใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ เมื่อพบเจอประเด็นปัญหา สามารถแชร์ลงโซเชียล เพื่อดึงดูดผู้ที่มีอุดมการณ์เหมือนกันไว้ด้วยกัน เพราะท้ายที่สุดแล้ว ปัญหาสาธารณะก็ถือเป็น ‘งานของส่วนรวม’ แม้ว่าท่านจะเป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ขอเพียงท่านอาศัยอยู่ในแผ่นดินนี้ ท่านต่างสามารถเข้าร่วมในงานสาธารณะ อาศัยพลังใหม่ของตนเองมาสร้างสังคม สร้างโลก
เนื้อหาการออกอากาศเพิ่มเติม ไปที่ National Education Radio