【เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)
[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] นายไล่ชิงเต๋อ รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เข้าร่วม “พิธีฉลองครบรอบ 40 ปีแห่งการก่อตั้งสถาบันวิจัยเศรษฐกิจจงหัว” (Chung-Hua Institution for Economic Research, CIER) โดยรองปธน.ไล่ฯ ได้กล่าวขอบคุณ CIER ที่สร้างคุณประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้กับไต้หวันมาเป็นเวลานานหลายปี พร้อมหวังว่า CIER จะร่วมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ไต้หวันประสบความสำเร็จในการเข้าร่วม “ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก” (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership, CPTPP) ตลอดจนบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2050 เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมของไต้หวันสามารถเชื่อมโยงบุคลากร เทคโนโลยี เงินทุนและตลาด เข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว อันจะส่งให้เศรษฐกิจของไต้หวันมีความยั่งยืนต่อไป
รองปธน.ไล่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า CIER เป็นคลังสมองระดับประเทศของไต้หวัน และมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ไต้หวันผ่านพ้นวิกฤตทางเศรษฐกิจต่างๆ ที่ผ่านมา ปัจจุบัน CIER ก็อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยให้ไต้หวันประสบความสำเร็จในการเข้าร่วม CPTPP เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ขยายเวลามาตรการป้องกันโรคระดับ 2 ออกไปถึงวันที่ 29 พ.ย. ดูที่เดียวจบ
รองปธน.ไล่ฯ ได้กล่าวขอบคุณ CIER ที่สร้างคุณประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้กับไต้หวันมาเป็นเวลานานหลายปี พร้อมหวังว่า CIER จะร่วมให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์แก่รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ภาพจาก/ทำเนียบประธานาธิบดี
แท้จริงแล้ว การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของไต้หวันเปี่ยมด้วยอุปสรรคนานับประการ ประกอบ ธุรกิจของไต้หวันก็อยู่ในจุดที่ไม่ได้รับความยุติธรรมในการแข่งขันกับผู้อื่น ดังนั้น รองปธน.ไล่ฯ จึงหวังที่จะเห็นทุกฝ่ายประสานความร่วมมือกัน พร้อมคาดหวังให้ CIER ร่วมแรงร่วมใจในการพัฒนาเศรษฐกิจในไต้หวันให้เกิดความยั่งยืนสืบไป
รองปธน.ไล่ฯ ชี้ว่า ก่อนอื่น การช่วยให้รัฐบาลประสบความสำเร็จในการเข้าร่วม CPTPP ถือเป็นภารกิจที่ยากลำบากมาก แต่ตนเชื่อว่า การเปิดตลาดในประเทศจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของไต้หวัน และทำให้อุตสาหกรรมได้รับการยกระดับให้ดีขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ หากเราไม่เข้าร่วม CPTPP และไม่ใช้การเข้าร่วมในกลุ่มเศรษฐกิจระดับ มาแก้ไขปัญหาด้านภาษีนำเข้าในการทำการค้าระหว่างประเทศ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการไต้หวันได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งต้องเผชิญกับปัญหาหลายประการในด้านการส่งออกสินค้าไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยเฉพาะขณะนี้ รัฐบาลได้ยื่นหนังสื่อขอสมัครเข้าร่วมอย่างเป็นทางการแล้ว พวกเราจึงต้องประสบความสำเร็จตามเป้าหมายตามที่ตั้งเอาไว้ให้ได้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ข่าวดี! แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว อนุญาตให้แรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซียเข้าก่อน
ขณะนี้ ตัวแทนของทุกประเทศทั่วโลกต่างกำลังอยู่ในระหว่างการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (UNFCCC COP 26) ณ เมืองกลาสโกว์ของสหราชอาณาจักร เพื่อเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ซึ่งประธานาธิบดีไช่อิงเหวินก็ได้กล่าวเอาไว้ในวันคุ้มครองโลก เมื่อวันที่ 20 เมษายนที่ผ่านมาว่า ไต้หวันได้ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2050 ซึ่งในขณะที่ทุกประเทศต่างมุ่งมั่นในการก้าวไปสู่เป้าหมาย เราไม่สามารถล้าหลังผู้อื่น หากเราไม่เข้าร่วมหรืออยู่ล้าหลัง ก็อาจสาบสูญไปจากสังคมโลกได้
รองปธน.ไล่ฯ ยังย้ำว่า เรามีจุดเด่นหลายอย่างที่ได้รับการจับตามองจากนานาชาติ เช่น อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งหากเราสามารถเชื่อมโยงบุคลากร เทคโนโลยี เงินทุนและตลาด เข้าไว้ด้วยกัน ก็จะถือเป็นกลยุทธ์ที่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจของไต้หวันให้พัฒนาต่อไปได้อย่างยั่งยืนและยาวนาน จึงคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ในอนาคต CIER จะให้ความช่วยเหลือในการให้คำแนะนำแก่รัฐบาลต่อไป