:::

แฟชั่นยั่งยืน” ส่งเสริม “การพัฒนาที่ยั่งยืน” อย่างครบวงจร

ความท้าทายของ "อุตสาหกรรมแฟชั่น" ไม่ได้อยู่แค่การจัดการขยะ แต่ต้องมองไปถึงการออกแบบ ผลิต และการจัดการของเหลือ อัปไซเคิล รีไซเคิล/ PxHere
ความท้าทายของ "อุตสาหกรรมแฟชั่น" ไม่ได้อยู่แค่การจัดการขยะ แต่ต้องมองไปถึงการออกแบบ ผลิต และการจัดการของเหลือ อัปไซเคิล รีไซเคิล/ PxHere
  • ความท้าทายของ "อุตสาหกรรมแฟชั่น" ไม่ได้อยู่แค่การจัดการขยะ แต่ต้องมองไปถึงการออกแบบ ผลิต และการจัดการของเหลือ อัปไซเคิล รีไซเคิล
  • บูติคนิวซิตี้ มุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “THE FUTURE OF SUSTAINABLE FASHION” พลิกโฉมองค์กรสู่ Green Industry ผ่านโครงการ A’MAZE Green Society
  • ตอกย้ำเส้นทางที่ยั่งยืน ปักธง Fabric Zero Waste ลดขยะเหลือทิ้งเป็นศูนย์ พร้อมผนึกพันธมิตรยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่น

อุตสาหกรรมแฟชั่น กำลังถูกจับตา กับการสร้างขยะมหาศาลมากกว่า 92 ล้านตันต่อปี อีกทั้ง ยังสร้างคาร์บอนมากกว่า อุตสาหกรรมการบินและการขนส่งทางเรือรวมกัน ความท้าทายไม่ได้อยู่แค่การจัดการขยะ แต่ต้องมองไปถึงการออกแบบ ผลิต และการจัดการของเหลือ อัปไซเคิล รีไซเคิล

บริษัท บูติคนิวซิตี้ หรือ BTNC ผู้ออกแบบและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นเครือสหพัฒน์ ซึ่งก่อตั้งมานานกว่า 50 ปี นับเป็นบริษัทแรกๆ ที่ทำเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำหน่ายผ่านร้าน A‘MAZE ที่รวมแบรนด์ต่างๆ ไว้ในที่เดียว และผลิตยูนิฟอร์มมากกว่า 100 บริษัท ผู้สวมใส่ 1 แสน คนต่อปี เสื้อผ้ากว่า 30 ล้านชิ้น

 

บูติคนิวซิตี้ มุ่งขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ “THE FUTURE OF SUSTAINABLE FASHION” พลิกโฉมองค์กรสู่ Green Industry ผ่านโครงการ A’MAZE Green Society/Public Domain Pictures

BTNC มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจบนเส้นทางความยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “THE FUTURE OF SUSTAINABLE FASHION” ทรานส์ฟอร์มองค์กรสู่ Green Industry ผนึกกำลังพันธมิตรสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิต และนำทรัพยากรส่วนเกินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ผ่านโครงการ A’MAZE Green Society 

พร้อมเปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่ใช้พัฒนาทั้งโครงสร้าง วิธีการทำงาน บุคลากร ใส่ใจในรายละเอียดของสินค้า ลงมือทำสร้างสรรค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง จุดประกายให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญร่วมกันดูแลสิ่งแวดล้อม สังคมและชุมชน ตลอดมีธรรมาภิบาลที่ดี เพื่อเพิ่มความยั่งยืนให้โลก 

“ประวรา เอครพานิช” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บูติคนิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มีคนพูดว่า แฟชั่น คือ ขยะ Fashion is Waste แต่ทำอย่างไรไม่ให้วงการแฟชั่นหายไป ข้อมูลพบว่าทั่วโลกทิ้งเสื้อผ้า 92 ล้านตันต่อปี เป็นสาเหตุของโลกร้อน ขณะเดียวกัน ธุรกิจต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ทั้งภาวะเศรษฐกิจไม่แน่นอน ปัญหาสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หากจะรอดแล้วต้องเลือก จะเลือกจากอะไร 

บูติคนิวซิตี้ มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจตามกรอบ ESG ที่คำนึงถึงการดูแลสิ่งแวดล้อม (Environmenttal) สังคมและชุมชน (Social) รวมถึงธรรมาภิบาลที่ดี (Governance) จับมือพันธมิตรสร้างการเปลี่ยนแปลงสู่ความยั่งยืนตั้งแต่จุดเริ่มต้น ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และนำทรัพยากรส่วนเกินมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้ง Upcycle และ Recycle ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเน้นความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายลดขยะเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมเป็นศูนย์ ด้วยระบบ Zero Waste Process

 

ตอกย้ำเส้นทางที่ยั่งยืน ปักธง Fabric Zero Waste ลดขยะเหลือทิ้งเป็นศูนย์ พร้อมผนึกพันธมิตรยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่น/Pexels

เน้นส่งเสริมการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน ในรูปแบบ Sustainability Fashion ตั้งแต่เลือกวัตถุดิบ การใช้เครื่องจักร รูปแบบการตัดเย็บ การย้อม การพิมพ์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ลดปริมาณขยะจากขั้นตอนการผลิต พร้อมทั้งควบคุมต้นทุน เพื่อสร้างมาตรฐานที่ดีในรูปแบบ Timeless Design สวยงามและใช้ได้ยาวนาน 

“Zero Waste Process เริ่มจากการเลือกซื้อผ้า ขณะที่ การตัดเย็บผ้า 100% เป็นเสื้อผ้าได้ 80% และที่เหลือนำไป อัพไซเคิล 15% โปรเจกต์แรกคือ A'MAZE FLORA เปลี่ยนผ้ามาทำเข็มกลัดดอกไม้ ขายเพื่อมอบเงินสมทบทุนแก่ มูลนิธิถันยรักษ์ฯ ถัดมา คือ “ระลึกรักษ์” พวงหรีดไร้ขยะ 100% ทุกส่วนนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ , AMAZE REDESIGN เสื้อตัวใหม่จากผ้าส่วนเกิน ผลิตเป็นเสื้อผ้าใหม่ , Lucky mini bag ถุงถักจากขอบเสื้อ ลดการปล่อยคาร์บอน 11,213.46 กิโลกรัมคาร์บอน/ปี"

รวมถึง Organic Indigo คอลเลคชั่นรักษ์โลก เปลี่ยนเสื้อขาวเป็นคราม สู่ความงามที่ยั่งยืน โดยทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร และ Your Own Organic Indigo คืนชีวิตเสื้อขาวด้วยคราม ลูกค้าสามารถส่งเสื้อขาวจากแบรนด์ภายใต้บริษัท เปลี่ยนเป็นเสื้อครามได้ 

ขณะเดียวกัน การรีไซเคิล 5 % คือ แปรรูปสิ่งที่เหลืออยู่ เพื่อกลับมาใช้ใหม่ เกิดโครงการ Re-Loop Collection โดยการใช้ผ้า Recycle ที่ร่วมมือกับ SC grand นำผ้า 5% ที่เหลือจากการผลิตในรอบแรกมาสร้างเป็นผ้าผืนใหม่ที่สวยงามและมีเอกลักษณ์ อีกทั้งยังส่งเสริมเรื่องของความเท่าเทียมกับโปรเจกต์ GSP X Alex ที่ได้ร่วมออกแบบกับศิลปินเด็กพิเศษ 

แผนการตลาดในครึ่งหลังปี 2567 บูติคนิวซิตี้ จะเดินหน้าสร้างสังคมแห่งการรับฟัง เข้าใจ และเรียนรู้ระหว่างคนในแต่ละเจเนอเรชั่น เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน พร้อมเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ลดเวลาในการทำงานแต่ยังสร้างผลงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเน้นพัฒนาระบบเทคโนโลยีในทุกหน่วยงาน เช่น ช่องทางการจำหน่ายที่หลากหลายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ การนำข้อมูล (Data) ที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบจำนวนมาก มาปรับปรุงให้มีความเป็นปัจจุบันมากที่สุด เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลที่น่าเชื่อถือและมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ หรือแนวทางแก้ปัญหา ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว แม่นยำ

 

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading