:::

ป้องกันการบุกรุกของโอไมครอน! ไทยประกาศห้ามนักท่องเที่ยวจาก 8 ประเทศในแอฟริกาเข้าประเทศ เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคมนี้

สั่งห้าม 8 ปท.เข้าไทย เตือนวัคซีนที่มีอยู่ประสิทธิภาพต่ำกว่าเชื้อ ‘โอไมครอน’ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
สั่งห้าม 8 ปท.เข้าไทย เตือนวัคซีนที่มีอยู่ประสิทธิภาพต่ำกว่าเชื้อ ‘โอไมครอน’ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าว “Matichon” ภายหลังจากพบเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลายพันธุ์ในทวีปแอฟริกาใต้ส่งผลให้ทั่วโลกต่างผวาถึงการแพร่ระบาดและวัคซีนที่มีอยู่จะรับมือได้หรือไม่นั้น

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงมาตรการป้องกันโควิด-19 กลายพันธุ์ หรือโอไมครอน ในประเทศไทย ว่าข้อมูลเบื้องต้นในทางระบาดวิทยาเรื่องความสามารถในการแพร่กระจาย ความสามารถในการหลบเลี่ยงวัคซีน และความรุนแรงของโรคยังไม่แน่ชัด ประเทศไทยจึงวางมาตรการควบคุมป้องกันโรค โดยการเดินทางเข้าราชอาณาจักร แบ่งเป็น กลุ่ม 1 ประเทศที่พบสายพันธุ์ B.1.1.529 หรือโอไมครอน ใน 8 ประเทศ คือ บอตสวานา เอสวาตินี เลโซโท มาลาวี โมซัมบิก นามิเบีย แอฟริกาใต้ และซิมบับเว และกลุ่ม 2 ประเทศอื่นในทวีปแอฟริกา นอกเหนือจาก 8 ประเทศดังกล่าว ซึ่งกำหนดเงื่อนไขการเข้าสู่ประเทศดังนี้ กลุ่ม 1 ประเทศ 8 ประเทศ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศแล้ว สั่งกักตัวจนครบ 14 วัน นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และจะไม่อนุญาตให้คนที่เดินทางมาจาก 8 ประเทศนี้เข้าประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 รวมถึงไม่อนุญาตให้ลงทะเบียนเข้าสู่ราชอาณาจักรโดยระบบต่างๆ ตั้งแต่ 27 พ.ย.เป็นต้นไป แปลง่ายๆ คือ คนที่เดินทางจาก 8 ประเทศนี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศไทย

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ปัจจุบันในเมืองไทเปมีจุดบริการฉีดวัคซีน 10 แห่ง ไว้คอยให้บริการสำหรับประชาชนในกรณีฉุกเฉินหรือแบบ Walk In

ประเทศไทยกำลังป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Omicron อย่างเต็มรูปแบบ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

ประเทศไทยกำลังป้องกันไวรัสสายพันธุ์ใหม่ Omicron อย่างเต็มรูปแบบ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

นพ.โอภาสกล่าวว่า กลุ่ม 2 ประเทศในทวีปแอฟริกาที่เหลือ จะไม่อนุญาตให้เข้าประเทศไทยในรูปแบบไม่กักตัว (Test & Go) ที่เดิมก็ไม่มีในรายชื่อ 63 ประเทศที่อนุญาตไปแล้ว รวมถึงไม่อนุญาตให้เข้ามาในระบบ Sandbox ส่วนคนที่เข้ามาแล้วต้องอยู่ในสถานที่พักที่ราชการกำหนดเท่านั้น และไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมนอกห้องพักเป็นเวลา 14 วัน และจะต้องตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ส่วนคนที่เข้ามาแล้วให้ดำเนินการตามมาตรการที่ได้รับอนุญาตแล้วถึงวันที่ 15 ธ.ค. แต่ต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน สำหรับคนไทยเดินทางเข้าประเทศไทย แต่ต้องกักตัว 14 วัน

ด้านสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า องค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ให้ไวรัสโควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่พบครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern หรือ VOC) พร้อมกับตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “โอไมครอน” ซึ่งเป็นอักษรตัวที่ 15 ตามอักษรกรีก ที่ดับเบิลยูเอชโอใช้เป็นระบบตั้งชื่อของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งนี้ ไวรัสสายพันธุ์ โอไมครอน ที่ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าเป็นการกลายพันธุ์ที่ร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยพบมา โดยมีการกลายพันธุ์ในหลายตำแหน่งมาก รวมถึงที่บริเวณสไปค์โปรตีน จัดเป็นไวรัสกลายพันธุ์ชนิดที่ 5 ที่ดับเบิลยูเอชโอ จัดเป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล ต่อจากสายพันธุ์อัลฟ่า, เบต้า, แกมม่า และเดลต้า ขณะที่อีก 2 สายพันธุ์ ได้แก่ แลมบ์ดาและมิว ที่สร้างความกังวลก่อนหน้านี้ ยังเป็นสายพันธุ์ที่อยู่ในความสนใจ (Virant of Interest หรือ VOI) ซึ่งมีความร้ายแรงต่ำกว่า

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ศูนย์บริการครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมืองเหมียวลี่ จะจัด “โครงการฝึกอบรมล่ามแปลภาษาสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่” รวม 5 วัน รีบสมัครด่วนเลย

ตั้งแต่ 1 พ.ย. 63 ประเทศและภูมิภาค สามารถเดินทางเข้าไทยในโครงการแซนด์บ็อกซ์ได้ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

ตั้งแต่ 1 พ.ย. 63 ประเทศและภูมิภาค สามารถเดินทางเข้าไทยในโครงการแซนด์บ็อกซ์ได้ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

“ทั้งนี้ มีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ โอไมครอน ในอีกหลายประเทศแล้วด้วย ทั้งในฮ่องกง อิสราเอล บอตสวานา เบลเยียม โดยเบลเยียมได้ตรวจพบผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์ใหม่นี้ เป็นครั้งแรกของยุโรปเมื่อวันศุกร์ และได้ประกาศมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดระลอกที่ 4 ของการติดเชื้อโควิดอย่างรวดเร็ว” สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน

ผู้เชี่ยวชาญในแวดวงสาธารณสุขของอังกฤษออกมาเตือนว่า วัคซีนโควิดที่มีอยู่อาจมีประสิทธิภาพต่ำกว่าในการรับมือกับเชื้อกลายพันธุ์ใหม่นี้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading