:::

ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค.จะมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ

ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมจะมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมจะมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay

เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศต่าง ๆ ชะลอตัวลงศูนย์บัญชาการกลางป้องกันโรคระบาดไต้หวัน (CECC) ได้ประกาศว่าตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมปีนี้ ผู้ป่วยติดเชื้อภาวะแทรกซ้อน (ระดับปานกลางและรุนแรง) เท่านั้นที่ต้องแจ้ง และยกเลิกมาตรการการกักตัวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานก็ได้มีการประกาศเช่นเดียวกัน โดยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมจะมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบ และ “แผนโครงการนำเข้าแรงงานต่างชาติ” ที่ดำเนินการในช่วงที่มีการแพร่ระบาดก็จะยุติลงพร้อมกันด้วย ซึ่งการยกเลิกนี้คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการนำเข้าแรงงานต่างชาติของนายจ้างได้อย่างมาก

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : 1 มี.ค ยกเลิกให้ชุดตรวจ ATK แก่นักเดินทางที่เดินทางเข้าไต้หวันและผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อยืนยัน

ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคมจะมีการนำเข้าแรงงานต่างชาติอย่างเต็มรูปแบบภาพ/โดยกระทรวงแรงงาน

กระทรวงแรงงานระบุว่า ในปี 2021 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั้งในและต่างประเทศค่อนข้างหนัก เพื่อคำนึงถึงความจำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดและการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงได้นำแผนโครงการนำเข้าแรงงานต่างชาติมาใช้ โดยกำหนดให้บริษัทนายหน้าและนายจ้างให้ความร่วมมือตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดต่าง ๆ ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นและอยู่ในระยะที่ควบคุมได้ ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม จึงตัดสินใจยุติการใช้กฎระเบียบป้องกันการแพร่ระบาดด้วยตนเองสำหรับแรงงานต่างชาติที่เดินทางเข้ามายังไต้หวัน ตลอดจนยกเลิกกฎระเบียนแรงงานต่างชาติต้องฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครบก่อนเดินทางเข้าไต้หวัน

อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : ลาตรวจครรภ์ไม่ถือเป็นการลาป่วย แรงงานต่างชาติมีสิทธิ์ลาคลอด ลาเลี้ยงบุตรหลังคลอดได้

กระทรวงแรงงานยังเตือนด้วยว่า แม้ว่ากฎระเบียบป้องกันการแพร่ระบาดด้วยตนเองสำหรับแรงงานต่างชาติจะถูกยกเลิกเมื่อเดินทางเข้าประเทศ แต่นายจ้างยังคงต้องแจ้งให้แรงงานต่างชาติทราบว่าพวกเขาควรปฏิบัติตามกฎระเบียบการป้องกันการแพร่ระบาดที่เกี่ยวข้องขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะและเข้า-ออกสถานพยาบาลอย่างเคร่งครัด และนายจ้างควรดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของแรงงานต่างชาติ นอกจากนี้ หากแรงงานต่างชาติจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาล นายจ้างต้องให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading