:::

การมีส่วนร่วมของชุมชนผสมผสานวัฒนธรรมประเทศบ้านเกิด ‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ’ สนับสนุนให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน

ทางรายการเรียนเชิญ หลิวเหรินเจี๋ย (劉人傑) ผู้ก่อตั้ง ‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ 返腳咖’ มาให้สัมภาษณ์ ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio
ทางรายการเรียนเชิญ หลิวเหรินเจี๋ย (劉人傑) ผู้ก่อตั้ง ‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ 返腳咖’ มาให้สัมภาษณ์ ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมกับรายการ ‘สหประชาชาติสุขสันต์’ สถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน (National Education Radio) คอยรายงานเรื่องราวของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน ในตอน ‘ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมสร้างสังคมไม่ใช่เรื่องยาก’ (ออกอากาศทางสถานีวิทยุเพื่อการศึกษาแห่งชาติไต้หวัน เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน) ได้เรียนเชิญ หลิวเหรินเจี๋ย (劉人傑) ผู้ก่อตั้ง ‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ 返腳咖’ มาแนะนำสตูดิโอที่เปิดมากว่า 5 ปี ซึ่งนอกจากจะเน้นพัฒนาชุมชนมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว ยังช่วยฝึกสอนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้เผยแพร่วัฒนธรรมบ้านเกิดของตนเอง หวังสร้างพลัง ‘ใหม่’ ให้เกิดขึ้นในสังคม โดยมีพิธีกร หยางเฉียวอวี่ (楊橋宇) และ เฉินชิวหลิ่ว (陳秋柳) เป็นผู้สัมภาษณ์

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ยังได้นำเรื่องราวของทางรายการมาจัดทำเป็นบทความ 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ เพื่อให้ผู้อ่านและผู้ฟังเข้าใจเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในต่างประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากขึ้น  

อ่านข่าวเพิ่มเติม: โครงการสร้างฝันของสะใภ้ไต้หวันหลินยวี่เมิ่ง ทำให้อิสราเอลได้มองเห็นไต้หวัน 

หลิวเหรินเจี๋ย สนับสนุนให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมพัฒนาชุมชนไปด้วยกัน ภาพ/ดึงมาจาก National Education Radio

หลิวเหรินเจี๋ยแนะนำว่า สมาชิกของ ‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ’ ทุกคนต่างก็มีงานที่ต้องทำ แต่เพื่อคนซีจื่อ ทุกคนต่างกระตือรือร้นที่จะพัฒนาชุมชน เลยมารวมตัวกันจนเกิดเป็นกลุ่มนี้ขึ้นมา และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ก็เริ่มมาเข้าร่วมกันมากขึ้นเรื่อย ๆ

“ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้กลายเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ไม่สามารถละเลยในการสร้างสังคมของไต้หวัน” หลินเหรินเจี๋ย ผู้ซึ่งให้คำปรึกษาแก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในการสร้างชุมชนมาเป็นเวลานานกล่าวว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่แต่งงานมาตั้งรกรากที่ไต้หวันมากขึ้นเรื่อย ๆ พวกเขาไม่เพียงแต่ต้องปรับตัวให้เข้ากับสังคมไต้หวันเท่านั้น แต่พวกเขายังได้นำเอาความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเทศบ้านเกิดของตนเองมาเผยแพร่ ให้ไต้หวันกลายเป็นสังคมที่มีความหลายวัฒนธรรมอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม: จากเด็กดื้อสู่นิทรรศการภาพยนตร์นานาชาติ เหงียนทูหั่งทอดสะพานระหว่างไต้หวันและเวียดนามในการได้รู้จักกันอีกครั้ง 

นโยบาย ‘การสร้างชุมชน’ และ ‘การวางแผนชุมชน’ กำลังเกิดขึ้นทั่วไต้หวัน ภาพ/ดึงมาจากเฟสบุ๊ก「返腳咖」

เฉินชิวหลิ่ว ยังได้ขอคำแนะนำจากหลิวเหรินเจี๋ยว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะสามารถสร้างฝันของตนเองให้เป็นจริงได้อย่างไร แล้วทีมที่ปรึกษาจะร่วมมือกับพวกเขาได้อย่างไร หลิวเหรินเจี๋ยกล่าวว่า การเตรียมแผนพัฒนาชุมชนก็เหมือนกับการเล่าเรื่อง ขอเพียงแค่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ยึดมั่นในหลักการที่ว่า ‘เล่าเรื่องของตัวเอง’ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไร นี่ไม่ใช่ เป็นเพียงการแนะนำประเทศบ้านเกิดของตัวเองเท่านั้น แต่ยังเป็นการพูดคุยสนทนาสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่นด้วย ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สามารถนำมาเป็นหัวข้อหลักสำหรับการพัฒนาสังคมได้

‘สตูดิโอฝานเจี่ยวคะ 返腳咖’ ร่วมพัฒนาชุมชนมานานกว่า 5 ปี ภาพ/ดึงมาจากเฟสบุ๊ก「返腳咖」

“โครงการสร้างสังคมเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและเป็นการฟื้นฟูวิถีชีวิตให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง” นอกจากการส่งเสริมให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าร่วมในโครงการสร้างสังคมแล้ว หลิวเหรินเจี๋ยยังหวังว่าชาวไต้หวันเองจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้มากขึ้นด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันนับวันยิ่งเยอะขึ้นเรื่อย ๆ บางคนมาอาศัยอยู่ในไต้หวันเป็นสิบ ยี่สิบปีแล้ว และพวกเขาไม่นับว่าเป็น ‘ชาวต่างชาติ’ ไปแล้วด้วย หลิวเหรินเจี๋ยกล่าวว่า “การสร้างสังคมเป็น ‘การสร้างคน’ การมีส่วนร่วมของผู้คนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน แน่นอนว่าพวกเขายังต้องปลูกฝังความสามารถในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะต่อไป”

หลิวเหรินเจี๋ยกล่าวว่า “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมสร้างสังคมไม่ใช่เรื่องยาก” สิ่งสำคัญคือต้องมีกลุ่มเครือข่ายที่เข้มแข็ง รวมกลุ่มผู้คนที่มีภูมิหลังที่แตกต่างกันเข้าร่วม จากนั้นเดินหน้าดำเนินการ จนไปสู่เป้าหมายที่วางเอาไว้ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่ว่าท่านจะ “เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่ไต้หวัน หรือจากชนบทมาสู่เมืองหลวง จากชุมชนสู่สังคมเมือง สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการมีส่วนร่วม จึงจะสามารถเจอเมล็ดพันธ์ที่ดี” ขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ดูเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ทรงพลังมหาศาลยิ่ง

เนื้อหาการออกอากาศเพิ่มเติม ไปที่ National Education Radio

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading