จากสถิติของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ไต้หวัน (Taiwan Centers for Disease Control, CDC) ณ วันที่ 5 เมษายน มีผู้รับบริการฉีดวัคซีนโรคฝีดาษลิง (Mpox) แล้วจำนวน 1,416 ราย จากการประเมินความเสี่ยงด้วยตนเองของประชาชน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาหากท่านเคยมีเพศสัมพันธ์ที่มีความเสี่ยงสูง ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน เวลา 14.00 น. ท่านสามารถไปที่ “แพลตฟอร์มการลงทะเบียนสำหรับผู้มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง (Mpox)” ของ CDC เพื่อลงทะเบียนแสดงความจำนงรับวัคซีนป้องกันก่อนสัมผัสเชื้อ (PrEP) โดยจะให้บริการฉีดวัคซีนทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.00-17.00 น. หยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ คาดว่าจะสามารถให้บริการได้ประมาณ 25,000 รายชื่อ
อ่านข่าวเพิ่มเติม : 2023 Dream Job Fair นักศึกษาต่างชาติที่ต้องการหางานทำในไต้หวันรีบเลย
โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง ภาพ/โดย Taiwan Centers for Disease Control, CDC
CDC เน้นย้ำว่า เพื่อปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนเอง ขณะลงทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีนขอให้ประชาชนกรอกข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง หากไม่ได้ลงทะเบียนบน “แพลตฟอร์มการลงทะเบียนสำหรับผู้มีความประสงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษลิง (Mpox)” ทางเจ้าหน้าที่จะไม่สามารถให้บริการฉีดวัคซีนได้ และอย่าลงทะเบียนซ้ำ หากมีการลงทะเบียนซ้ำระบบจะมีการตรวจสอบโดยอัตโนมัติ และจะเก็บข้อมูลที่ลงทะเบียนครั้งแรกเท่านั้น หลังลงทะเบียนเสร็จสิ้น ท่านจะได้รับอีเมล์แจ้งเตือน จากนั้นไปเข้ารับวัคซีนที่โรงพยาบาลในวันเวลาที่ท่านเลือก
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ห้องสมุดเหม่ยหนงมีหนังสือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กว่า 3,000 เล่ม เชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาอ่านด้วยกัน
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ป้องกันโรคฝีดาษลิง ภาพ/โดย Taiwan Centers for Disease Control, CDC
โรงพยาบาลที่ให้บริการฉีดวัคซีนมีอยู่ทุกเมืองในไต้หวัน รวมทั้งหมด 48 แห่ง ยกเว้นเทศบาลเหลียนเจียง จินเหมิน และเผิงหู โดยผู้เข้ารับการทดลองยังคงได้รับวัคซีนโดยการฉีด “เข้าทางผิวหนัง” หนึ่งเข็มก่อน
CDC รณรงค์ว่า การแพร่เชื้อของโรคฝีดาษลิง (Mpox) ส่วนใหญ่ติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดของผู้คน เตือนประชาชน หากท่านสัมผัสใกล้ชิดกับบุคคลที่ไม่สนิทและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมอื่น ๆ หรือเข้า-ออกสถานที่เสี่ยง ฯลฯ ควรดำเนินการป้องกันตนเอง หากมีผื่น หรือมีอาการน่าสงสัย เช่น ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง มีไข้ กรุณาสวมหน้ากากอนามัยและรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง สถานที่ที่ไปต่าง ๆ ให้แพทย์ทราบ หากคุณมีคำถามโปรดไปที่เว็บไซต์ของ CDC หรือโทรไปที่สายด่วนป้องกันการแพร่ระบาด 1922 (หรือ 0800-001922) ฟรี