:::

คุณแม่ต้องรู้! CDC จัดทำ “วีดีโอประชาสัมพันธ์หลายภาษา” ให้คำแนะนำในการฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียน

หลังฉีดวัคซีนบีเอ็นทีนักเรียน “งดออกกำลังกาย” ภาพจาก/รัฐบาลเมืองผิงตง
หลังฉีดวัคซีนบีเอ็นทีนักเรียน “งดออกกำลังกาย” ภาพจาก/รัฐบาลเมืองผิงตง
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ขณะนี้ไต้หวันได้มีการฉีดวัคซีนเข้าสู่รอบที่ 10 แล้ว สำหรับแผนการฉีดวัคซีนนั้นปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปยังผู้ที่มีอายุน้อย นอกจากผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และแรงงานต่างด้าวสามารถลงทะเบียนนัดหมายฉีดวัคซีนแล้ว เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของนักเรียนวัยรุ่นอายุ 12 ถึง 17 ปี  รัฐได้เริ่มนโยบายฉีดวัคซีนในสถานศึกษาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม กรมควบคุมโรค ได้จัดวีดีโอประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับ "ข้อควรระวังสำหรับนักเรียนที่ฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19" ทั้งหมด 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาจีนกลาง ภาษาอังกฤษ ภาษามาเลย์ ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย ฯลฯ เพื่อให้ผู้ปกครองของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ สามารถร่วมป้องกันการแพร่ระบาดและปกป้องสุขภาพของลูกๆ ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม: 30,000 เหรียญไต้หวันต่อคน! กองทุนช่วยเหลือสำหรับ 8 อุตสาหกรรมหลักเปิดให้ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาแล้ว

CDC จัดทำวีดีโอประชาสัมพันธ์หลายภาษา ภาพจาก/กรมควบคุมโรคระบาด

CDC จัดทำวีดีโอประชาสัมพันธ์หลายภาษา ภาพจาก/กรมควบคุมโรคระบาด

ศูนย์บัญชาการเตือนนักเรียนว่า หลังฉีดวัคซีนภายใน 2 สัปดาห์ อย่าออกกำลังกายหนัก อีกทั้งภายใน 4 สัปดาห์ให้เฝ้าสังเกตอาการ ว่ามีอาการกล้ามเนื้อหัวใจไม่ทำงาน แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น หายใจถี่ เป็นลมขณะทำกิจกรรม และอาการอื่นๆ ด้วยหรือไม่ หากหลังฉีดวัคซีนนักเรียนมีเรียนวิชาพละศึกษา ควรจัดตามความเหมาะสม

อ่านข่าวเพิ่มเติม: เทศกาลภาพยนตร์คนหูหนวกนานาชาติไต้หวัน ประจำปี 2564 ภายใต้หัวข้อ "มองเห็นคุณแบบไม่มีระยะห่าง" เข้าฉายวันที่ 2 ตุลาคมนี้

ผู้ปกครองของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องใส่ใจกับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียน ภาพจาก/กรมควบคุมโรคระบาด

ผู้ปกครองของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องใส่ใจกับคำแนะนำในการฉีดวัคซีนสำหรับนักเรียน ภาพจาก/กรมควบคุมโรคระบาด

นอกจากนี้ หลังจากที่นักเรียนฉีดวัคซีน BNT ภายใน 28 วัน ให้สังเกตด้วยว่ามีอาการทั้ง 5 นี้หรือไม่ ซึ่งได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อาการเจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก ใจสั่น หายใจถี่ หอบขณะทำกิจกรรม เป็นต้น หากหายใจมีเสียงหอบขณะเดินหรือไม่สามารถขึ้นบันไดได้ อีกทั้งเป็นลมขณะทำกิจกรรม คุณต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด และควรแจ้งประวัติการฉีดวัคซีนของท่านด้วย

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading