:::

“ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่พาเที่ยวเถาหยวน”เจาะลึกวิถีชีวิตของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่บริเวณสถานีรถไฟเถาหยวน มีการจัดกิจกรรม “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่พาเที่ยวเถาหยวน” ซึ่งได้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย มารับหน้าที่เป็นไกด์นำเที่ยว  ภาพ/จากศูนย์วัฒนธรรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นครเถาหยวน
เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่บริเวณสถานีรถไฟเถาหยวน มีการจัดกิจกรรม “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่พาเที่ยวเถาหยวน” ซึ่งได้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย มารับหน้าที่เป็นไกด์นำเที่ยว ภาพ/จากศูนย์วัฒนธรรมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นครเถาหยวน
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

ปัจจุบัน ยอดผู้ตั้งถิ่นฐานและแรงงานข้ามชาติที่อาศัยอยู่ในนครเถาหยวนมีจำนวนเกือบ 200,000 คน เพื่อให้ประชาชนไต้หวันเข้าใจวัฒนธรรมของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เหล่านี้มากยิ่งขึ้น เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ที่ย่านช้อปปิ้งบริเวณสถานีรถไฟเถาหยวน มีการจัดกิจกรรม “ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่พาเที่ยวเถาหยวน” ซึ่งได้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทยที่อาศัยอยู่ในเถาหยวนเป็นเวลาหลายปี มารับหน้าที่เป็นไกด์นำเที่ยว พาประชาชนไปเที่ยวชมเถาหยวน และทำความรู้จักกับวิถีชีวิตของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่อย่างเจาะลึก

อ่านข่าวเพิ่มเติม:“งานเทศกาลพรมดอกไม้นานาชาติเมืองไถจงปี 2023” เริ่มแล้ว! ถึง 3 ธ.ค.นี้

เพื่อให้ประชาชนไต้หวันเข้าใจวัฒนธรรมของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากยิ่งขึ้น ภาพ/จาก桃園市議員張碩芳

ลี่ ชุ่ยหลิง (李翠玲) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวไทย หนึ่งในผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่รับหน้าเป็นผู้นำกิจกรรม ได้แบ่งปันประสบการณ์ชีวิตของตน กับสื่อมวลชน ว่า สามีของเธอเป็นคนจีนฮากกาแท้ๆ ความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้เธอเกิดความกดดันอย่างหนัก โชคดีที่สุดท้ายสามารถหาวิธีการอยู่ร่วมกันจนได้ ตอนนี้ เธอจึงใช้ประสบการณ์ของตนเอง ช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มาอยู่ที่ไต้หวันคนอื่นๆ

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ศูนย์บริการเหมียวลี่ เชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ มาให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์และเทศกาลลอยกระทงของไทย

ประชาชนไปเที่ยวชมร้านค้าขายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเถาหยวน ภาพ/จากผู้จัดงาน

เพื่อไม่ให้พี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกกีดกันทางสังคม หลิว เจียเหวิน (柳佳文) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จากอินโดนีเซีย จึงจัดตั้งคณะเต้นรำขึ้น หวังว่าการส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านการเต้นรำ วัฒนธรรม และอาหาร จะสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติแบบเหมารวมของคนไต้หวันที่มีต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม:“โครงการสานฝันสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และบุตรธิดา ครั้งที่ 10”

กิจกรรมสอนทำอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพ/จาก桃園市議員張碩芳

หนึ่งในประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม กล่าวว่า รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่มีโอกาสได้รู้จักเพื่อนใหม่มากมายผ่านกิจกรรมในครั้งนี้ เรื่องราวของพวกเขา สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันอีกหลายๆคน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไต้หวัน

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading