:::

ความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน

ความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน

ภาษาคือหนึ่งในอุปสรรค์คของการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน (ภาพจาก นายแพทย์ผ๋าง เวิ่นฉุน)

ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มากเป็นอันดับที่ 5 ของไต้หวัน เหตุผลของพวกเขาในการมาไต้หวันไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าการแต่งงานกับชาวไต้หวัน ทำธุรกิจ ทำงาน หรือเรียนหนังสือ และมีส่วนน้อยที่อพยพย้ายถิ่นฐานมา จากสถิติของกระทรวงมหาดไทยไต้หวันพบว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ส่วนมากเป็นผู้หญิง ประกอบไปด้วยชาวจีนแผ่นดินใหญ่ และชาวต่างชาติ สำหรับชาวต่างชาตินั้น นอกจากชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังมีชาวญี่ปุ่นและเกาหลีด้วย จริงๆ แล้วผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาจากหลายประเทศ หลายกลุ่มชาติพันธุ์ มีภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่าง ทำให้สังคมของไต้หวันมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น

ความยากลำบากในการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

ในปัจจุบันผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องเผชิญกับความยากลำบากอะไรเมื่อเจ็บป่วยและต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล?

 

(1) ประกันสุขภาพ:กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการของไต้หวันกำหนดให้ชาวต่างชาติต้องอยู่ในไต้หวันเป็นเวลา 6 เดือนก่อนที่จะสามารถทำบัตรประกันสุขภาพได้ ดังนั้นผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่แต่งงานต้องรออยู่ในไต้หวันครบ 6 เดือน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หลายคนตั้งท้องหลังจากที่มาไต้หวันได้ไม่นาน จึงไม่มีประกันสุขภาพและต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง คุณแม่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ตั้งครรภ์หลายคนไม่ต้องการเสียค่าตรวจครรภ์ ส่งผลให้อัตราการรับการตรวจครรภ์ตามกำหนดค่อนข้างต่ำ

 

(2) อุปสรรคด้านภาษา: เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาที่สถาบันทางการแพทย์เพื่อรับการรักษา เนื่องจากการแสดงออกด้วยภาษาและความเข้าใจมีจำกัด ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพและการดูแล แม้ว่าจะมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงก็อาจไม่สามารถรับการรักษาที่ดีได้ ดังนั้นการรักษาพยาบาลจึงต้องให้คนในครอบครัวมาเป็นเพื่อนด้วย ซึ่งข้อมูลด้านสุขภาพขอตนเองต้องได้รับการถ่ายทอดจากคนในครอบครัว ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการรักษาพยาบาล นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้รับมักเป็นด้านเดียวอีกด้วย

ปัญหาพวกนี้ จะมีน้อยลงหากผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เป็นชาวอเมริกันหรืออังกฤษ เพราะพวกเขากล้าที่จะถามคำถาม และโดยทั่วไป แพทย์ในไต้หวันสามารถอธิบายอาการเจ็บป่วยหรือวิธีการรักษาเป็นภาษาอังกฤษได้

เนื่องจากอุปสรรคด้านภาษา ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวอินโดนิเซียไม่สามารถเข้าใจที่แพทย์อธิบายถึงวิธีการใช้ยา ในขณะเดียวกันแพทย์เองก็ไม่ค่อยอดทนที่จะฟังการเล่าอาการของผู้ป่วย และเวลาของการอธิบายอาการป่วยก็สั้นกว่าผู้หญิงไต้หวัน ทำให้เกิดปัญหาในการรักษาทางการแพทย์และเกิดข้อบกพร่องต่างๆ ขึ้น

บทความในประเทศชี้ให้เห็นว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มักจะรู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เต็มไปด้วยอคติและมีการเลือกปฏิบัติ เมื่อพวกเค้าพยายามอธิบายก็ดูเหมือนจะไม่มีความอดทนฟัง ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่ไม่ดี ในที่สุดพวกเขายังลังเลที่จะเข้ารับการรักษาพยาบาลเพราะกลัวทัศนคติของการบริการที่แย่ของบุคลากรทางการแพทย์จนทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ไม่อยากไปพบแพทย์มากขึ้น

 

(3) ความแตกต่างในสภาพแวดล้อมของแต่ละประเทศและวัฒนธรรมที่แตกต่าง: ยกตัวอย่างหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของแม่อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้สึกไม่สบายในระหว่างตั้งครรภ์ครั้งแรก เช่น คลื่นไส้ อาเจียนปัสสาวะบ่อย เป็นต้น ล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่างในชีวิตของคุณแม่ผู้ตั้งครรภ์ สภาพภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และไต้หวันแตกต่างกันมาก ทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่พึ่งมาอยู่ไต้หวันใหม่ๆ และเกิดตั้งครรภ์อีก โดยเฉพาะผู้หญิงจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักประสบปัญหาต่างๆ เช่น ใจสั่น เวียนศีรษะ เบื่ออาหาร รวมทั้งระบบทางเดินอาหารมีปัญหา การที่อยู่ในต่างประเทศ หากคุณแม่ผู้ตั้งครรภ์อยากรับประทานอาหารบ้านเกิดของตนเองก็จะเป็นเรื่องยากที่จะหาอาหารอื่นในไต้หวันมาทดแทน โรงพยาบาลหรือศูนย์พักฟื้นสตรีผู้คลอดบุตรก็ไม่น่าจะทำอาหารเมนูนานาชาติเท่าไรนัก หรือไม่มีการให้บริการการพักฟื้นสตรีผู้คลอดบุตรที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สตรีเวียดนามคลอดบุตรจะมีการเผาถ่านใต้เตียงพื่อความอบอุ่นแก่มดลูก แต่ในสังคมไต้หวันไม่มีอุปกรณ์ในลักษณะนี้ ดังนั้นจึงเคยมีกรณีคุณแม่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามซึ่งอยู่ในช่วงพักฟื้นคลอดบุตรแอบทำวิธีการดังกล่าวในห้องน้ำเนื่องจากกลัวครอบครัวจะว่ากล่าว จนเป็นเหตุให้เสียชีวิตจากพิษคาร์บอนมอนอกไซด์ หากเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตระหนักถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมเหล่านี้และสามารถสื่อสารหรือพูดคุยกับครอบครัวของเธอได้มากขึ้นก็อาจป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้น

ในขณะที่ผู้หญิงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประเทศมุสลิมมีความคิดค่อนข้างอนุรักษ์นิยมเกี่ยวกับเรื่องเพศหรือเกิดความเข้าใจผิดได้ เมื่อเผชิญกับโรคของผู้หญิง หลายคนจึงไม่อยากให้ผู้อื่นรู้เนื่องจากเกิดความอับาย หรือเนื่องจากแพทย์ต้องเห็นอวัยวะเพศของเขาในระหว่างการตรวจ จึงทำให้ไม่อยากไปตรวจหรือเกิดความล่าช้าในการรักษาพยาบาล จนมีอาการรุนแรงถึงจะเข้ารับการรักษาพยาบาล และสูญเสียโอกาสสุดท้ายในการรักษา ทำให้การรักษามีความเสียงและยากลำบากยิ่งขึ้น

ผู้เขียน นายผ๋าง เวิ่นฉุน (龐渂醛) แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาโรงพยาบาลฉื๋อจี้ มณฑลฮวาเหลี่ยน

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading