OMRON Corporation (สำนักงานใหญ่: แขวงชิโมะเงียว นครเกียวโต; ประธานและซีอีโอ: Yoshihito Yamada) มีความยินดีในการประกาศลงนามในข้อตกลงเพื่อลงทุนในบริษัท Techman Robot, Inc. (สำนักงานใหญ่: เถาหยวน ไต้หวัน; ประธานกรรมการ: ดร. Shi-Chi Ho; ในที่นี้จะกล่าวถึงโดยใช้ชื่อว่า "Techman") ซึ่งเป็นแบรนด์หุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน (collaborative robot) ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก โดยเป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับคนตามโรงงานการผลิต ทั้งนี้ OMRON จะถือหุ้นเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ใน Techman และคาดว่าการลงทุนจะแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความต้องการระบบอัตโนมัติเพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิตได้กลายเป็นประเด็นทางสังคม นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงใหม่ ๆ ต่อพนักงานที่ทำงานใกล้ชิดกัน สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงานที่ทำงานเคียงข้างมนุษย์ได้อย่างปลอดภัยตามจุดการผลิตต่าง ๆ โดยไม่มีอุปสรรคด้านความปลอดภัย และรองรับการทำงานหลากหลายอย่างได้อย่างยืดหยุ่น ในขณะเดียวกันมนุษย์กับหุ่นยนต์สามารถที่จะอยู่ร่วมกันและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยในการทำงานร่วมกันอีกด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ขยายเวลามาตรการป้องกันโรคระดับ 2 ออกไปถึงวันที่ 29 พ.ย. ดูที่เดียวจบ
"OMRON เสริมความแข็งแกร่งให้กับหุ่นยนต์ร่วมปฏิบัติงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างโรงงานผลิตที่คนกับเครื่องจักรทำงานร่วมกันได้ พร้อมแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงาน นอกจากนี้ เรายังนำเทคโนโลยีอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นในจุดผลิตต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ เพื่อเดินหน้าคิดค้นนวัตกรรมระบบอัตโนมัติใหม่ ๆ ต่อไป เพื่อเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานที่นอกเหนือไปจากภาคการผลิต โดยจะเข้าไปช่วยภาคส่วนปฐมภูมิและทุติยภูมิด้วยเช่นกัน"
ความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายได้ทำให้การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยีระหว่างไต้หวันและญี่ปุ่นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และลงทุนในพิมพ์เขียวสำหรับอนาคตของระบบอัตโนมัติทางเทคโนโลยี ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ข่าวดี! แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว อนุญาตให้แรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซียเข้าก่อน
OMRON ได้พัฒนาแนวคิดส่งเสริมนวัตกรรมการผลิตขึ้นในชื่อ "innovative-Automation" โดย OMRON นำแนวคิดนี้มาใช้เพื่อนำนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในโรงงานผลิตผ่านนวัตกรรมหลัก 3 ประการด้วยกัน หรือที่เรียกว่า "3 I" OMRON นำนวัตกรรมระบบอัตโนมัติเหล่านี้มาใช้ เพื่อเข้ามายกระดับประสิทธิภาพในการผลิตตามโรงงานผลิต เพื่อก่อให้เกิดการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่มในระดับสูง โดย I ตัวแรกคือ "Integrated" (วิวัฒนาการด้านการควบคุม) ซึ่ง OMRON มุ่งใช้เพื่อยกระดับเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีประสบการณ์ ทำงานที่แต่ก่อนเป็นงานที่ต้องใช้ทักษะความเชี่ยวชาญของบุคลากรที่มีประสบการณ์ได้อย่างสะดวกง่ายดาย ส่วน I ตัวที่สองคือ "Intelligent" (การพัฒนาความชาญฉลาดด้วยไอซีที) ซึ่งทาง OMRON มุ่งพัฒนาอุปกรณ์และสายการผลิตที่ก้าวล้ำตลอดเวลา โดยการนำอุปกรณ์ควบคุมหลากหลายประเภทและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ ทำให้เครื่องจักรได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์และยกระดับตัวเองให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ สำหรับ I ตัวที่สามคือ "Interactive" (การสร้างความกลมกลืนระหว่างคนกับเครื่องจักร) ในส่วนนี้ OMRON มุ่งพัฒนาความสัมพันธ์ใหม่ที่มีความกลมกลืนระหว่างคนกับเครื่องจักร ซึ่งเมื่อทำงานร่วมกันในพื้นที่ทำงานเดียวกันแล้ว เครื่องจักรก็จะช่วยงานมนุษย์ได้ ด้วยการรู้จำความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์ ในรูปแบบที่มีแต่ผู้ผลิตอุปกรณ์ควบคุมเฉพาะทางที่เข้าใจกระบวนการผลิตอย่างถ่องแท้อย่าง OMRON เท่านั้นที่ทำให้ได้