:::

สนง.เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติไต้หวันครบรอบ 108 ปี

สนง.เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติไต้หวันครบรอบ 108 ปี

สนง.เศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปเชิญกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล, ชมรมดนตรี แชมป์และรองชนะเลิศการแข่งขันร้องเพลงจีน มาร่วมขับร้องเพลงภายในงาน

เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ที่ผ่านมา เวลา 18.30 น. สํานักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย ได้จัดงานเลี้ยงเฉลิมฉลองวันชาติสาธารณะรัฐจีน (ไต้หวัน) ครบรอบ 108 ปี ณ ห้องบอลรูม ชั้น 1 โรงแรมแกรนด์ไฮแอทเอราวัณ กรุงเทพมหานคร งานนี้มีนายถ่ง เจิ้นหยวน (童振源) เป็นเจ้าภาพในการจัดงาน และมีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ทหาร ตำรวจ กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในไทย นักการทูต นักธุรกิจไต้หวัน และชาวไต้หวันในไทยเดินทางมาร่วมงานเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชาติไต้หวันอย่างคับคั่ง

เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทย ทหาร ตำรวจ กลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลในไทย นักการทูต นักธุรกิจไต้หวัน และชาวไต้หวันในไทยเดินทางมาร่วมงานเพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันชาติไต้หวันอย่างคับคั่ง

นายถ่ง เจิ้นหยวนได้ขึ้นไปบนเวทีและกล่าวว่า สำนักงานเศรษฐกิจและการค้าไทเปได้ส่งเสริมนโยบายมุ่งใต้ใหม่อย่างแข็งขัน และได้รวบรวมทรัพยากรของรัฐและเอกชนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างรูปแบบของการได้รับผลประโยชน์ร่วมกันแบบใหม่ win-win ระหว่างไต้หวันและไทย และเนื่องจากประเทศไทยมีข้อดีในหลายด้านจึงกลายเป็นหนึ่งในคู่ค้าที่สำคัญในประเทศนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของไต้หวัน ประกอบกับรัฐบาลไทยมีการผลักดันนโยบาย Thailand 4.0 ดังนั้นทั้งนโยบาย Thailand 4.0 และนโยบายมุ่งใต้ใหม่ของรัฐบาลไต้หวันก็จะช่วยกันเติมเต็มระหว่างกัน นอกจากนี้ เนื่องจากปัญหาสงครามการค้าสหรัฐและจีน ทำให้นักธุรกิจไต้หวันมีการพิจารณาย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศจีน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในตัวเลือกของนักธุรกิจไต้หวัน

นายถ่ง เจิ้นหยวนผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าไทเปประจำประเทศไทย

จากเหตุผลข้างต้น ทำให้ความร่วมมือของการพัฒนาในทุกๆ ด้าน ระหว่างไต้หวันและไทยเข้มแข็งมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ผ่านมา บริษัท Sinotech Engineering Consultants Co., Ltd. ของไต้หวันและบริษัทอมตะ คอร์ปอเรชั่น ของไทยยังได้ร่วมลงนามความร่วมมือด้านเมืองอัจฉริยะอีกด้วย

นายถ่ง เจิ้นหยวนเน้นย้ำว่า การยกระดับความเป็นหุ้นส่วนด้านการพัฒนาในตอนนี้มีอยู่ 5 ด้านหลัก คือ 1. การท่องเที่ยวทั้งสองฝั่ง โดยเมื่อปีที่แล้ว (2018) มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาเที่ยวไต้หวันกว่า 320,000 คน และในปีนี้ (2019) นับจนถึงเดือนส.ค. มีนักท่องเที่ยวชาวไทยเดินทางมาเที่ยวไต้หวัน มากกว่า 250,000 คน เพิ่มขึ้น 29% 2. การศึกษาของทั้งสองฝั่ง โดยเมื่อปีที่แล้ว (2018) มีนักศึกษาไทยเดินทางมาศึกษาต่อที่ไต้หวันกว่า 3,236 คน นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีของไทยได้เห็นชอบการก่อตั้งมหาวิทยาลัยอมตะโดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน เพื่อผลิตบุคลากรรองรับนโยบาย Thailand 4.0 ในขณะที่นักศึกษาไต้หวันที่เดินทางไปศึกษาเล่าเรียนในประเทศนโยบายมุ่งใต้ใหม่ 18 ประเทศ จำนวน 10 คน จะเลือกเดินทางมาศึกษาต่อที่ประเทศไทยถึง 6 คน ซึ่งจะเห็นได้ว่านักศึกษาไต้หวันเห็นข้อดีของการมาศึกษาต่อที่ไทย 3. ความร่วมมือด้านการเกษตร ไทยและไต้หวัน มีการแลกเปลี่ยนและให้ความร่วมมืออย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 40 ปี ปัจจุบันทั้งสองประเทศมีความร่วมมือกันในด้านพืชสวน การป้องกันศัตรูพืชและโรค และการผสมพันธุ์ 4. การลงทุนของทั้งสองฝั่ง ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ บริษัทของไต้หวันยื่นขอลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 211% และในปีที่แล้วการลงทุนของไทยในไต้หวันเพิ่มขึ้น 942% ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ และเพิ่มขึ้นถึง 88.8% ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ 5. ความร่วมมือในด้านสมารท์ซิตี้ ซึ่งบริษัทไต้หวันและไทยได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในปีนี้เพื่อจัดตั้ง“ AMATA Taipei Smart City” ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โดยในอนาคตจะเชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ อุตสาหกรรมการแพทย์อัจฉริยะ และผู้ประกอบการรับเหมาวางระบบอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ (System Integrator) เป็นต้น เข้าไปตั้งฐานธุรกิจ เพื่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ให้เป็นสถานที่ต้นแบบของเมืองอัจฉริยะไต้หวัน นับเป็นครั้งแรกที่ไต้หวันได้ร่วมสร้างและพัฒนานิคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์อัจฉริยะ ในประเทศเป้าหมายนโยบายมุ่งใต้ใหม่

โดยผลลัพธ์ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าไต้หวันและไทยมีความสนใจร่วมกันในความร่วมมือระดับทวิภาคี และนอกจากจะพยายามพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นแล้ว การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมก็จะดำเนินต่อไปเพื่อให้ประชาชนของสองประเทศมีความใกล้ชิดมากขึ้น

สำหรับรูปแบบของการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติในปีนี้คือ "วันชาติ 10 ต.ค. - เพลงไต้หวัน" สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปได้เชิญกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่มีความสำคัญเป็นพิเศษในท้องถิ่น, ชมรมดนตรี และแชมป์และรองชนะเลิศการแข่งขันร้องเพลงจีน มาร่วมขับร้องเพลงภายในงานด้วย ทำให้แขกชาวไทยที่มร่วมงานได้เข้าใจการพัฒนาด้านสังคม และวัฒนธรรมของไต้หวัน ในขณะเดียวกัน เพื่อให้แขกที่เป็นชาวจีนโพ้นทะเลได้ฟังเพลงไต้หวันที่คุ้นเคย ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากแขกที่มาร่วมงาน

2

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading