[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] สมาคมได้เผยแพร่ผลการสำรวจ "โครงการสำรวจภาพลักษณ์ไต้หวันและธุรกิจไต้หวันในประเทศไทย" การสำรวจใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้จัดการองค์กรชาวไทยกว่า 121 รายที่มีการติดต่อทางธุรกิจกับบริษัทไต้หวัน คนส่วนใหญ่จัดอันดับจากภาพลักษณ์โดยรวมของประเทศและภาพลักษณ์ของนักธุรกิจ ในภาพรวมของประเทศและภาพลักษณ์องค์กร ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 2 โดยมีสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นอยู่ในสามอันดับแรก
อ่านข่าวเพิ่มเติม : ปฏิเสธการเรียกเก็บ "ค่าซื้อตำแหน่งงาน" กระทรวงแรงงานให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้แรงงานข้ามชาติยื่นขอเอกสารออนไลน์ได้ด้วยตนเองภายในปีหน้า
จากการสำรวจแบบสอบถาม ผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามส่วนใหญ่มองว่าภาพลักษณ์โดยรวมของไต้หวันเป็นเมืองที่ "เคารพหลักนิติธรรม" "มีความก้าวหน้าทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ" และ "เป็นมิตร" ส่วนภาพลักษณ์ของนักธุรกิจชาวไต้หวันถือเป็น "ผู้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับ" "มีนวัตกรรม" และ "ให้ความใส่ใจกับความน่าเชื่อถือ" ในบรรดานักธุรกิจไทยที่ให้สัมภาษณ์กว่า 90% เชื่อว่า ตนเองรู้จักไต้หวันเป็นอย่างดี และหากพูดถึงไต้หวันจะนึกถึง 3 สิ่งนี้ ได้แก่ "ไฮเทค มีนวัตกรรม" "เทคโนโลยีขั้นสูง อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์" และ "อาหาร"
ผลการสำรวจ "โครงการสำรวจภาพลักษณ์ไต้หวันและธุรกิจไต้หวันในประเทศไทย" ภาพจาก/4-Way News
อ่านข่าวเพิ่มเติม : แรงงานต้องดู! รัฐปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ เงินเดือนขั้นต่ำเพิ่มเป็น 25,250 ดอลลาร์ไต้หวัน และค่าจ้างรายชั่วโมงเพิ่มเป็น 168 ดอลลาร์ไต้หวัน
จากข้อมูลของสวีจุนฉือ (徐遵慈) โฮสต์ของการสำรวจครั้งนี้ ระบุว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 90% เคยเดินทางมาไต้หวัน และ 60% เคยมาไต้หวันในปี 2559 สื่อไทยบรรยายไต้หวันว่าเป็น "เกาะแห่งเทคโนโลยี" รายงานเกี่ยวกับไต้หวันส่วนใหญ่จะเน้นประเด็นไปทาง "การออกแบบและการประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม" "กิจกรรมทางธุรกิจของไต้หวันในประเทศไทย" และ "ศิลปะและวัฒนธรรม"