:::

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา !

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา  ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ภาพ/จากคลังภาพ pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

ประชาชนมักจะซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเมื่อเดินทางไปต่างประเทศ หรือซื้อยาผ่านช่องทางออนไลน์มาทานเอง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกมาเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อเภสัชภัณฑ์และอาหารเสริมที่ไม่แสดงแหล่งที่มา และไม่มีฉลากที่ชัดเจน หรือโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยเฉพาะยาที่ไม่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ นอกจากนี้ยังห้ามให้เภสัชภัณฑ์และอาหารเสริมต่างๆ เป็นของฝากกับญาติและเพื่อน หรือว่าขายต่อให้กับผู้อื่น เพื่อหลีกเลี่ยงการการกระทำความผิดในกรณีที่มีสารต้องห้ามที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือผลเสียต่อสุขภาพ

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ซื้อยาลดน้ำหนักออนไลน์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีตัวยาประเภท 4 ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายและผิดกฎหมาย

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเตือนประชาชนไม่ให้ซื้อยาที่ไม่ทราบแหล่งที่มา ภาพ/จากเฟซบุ๊กสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุว่า เมื่อไม่นานมานี้ศุลกากรได้พบยาระบายผิดกฎหมายที่นักท่องเที่ยวซื้อเข้ามาหลังเดินทางไปเที่ยวที่ประเทศญี่ปุ่น โดยยาระบายดังกล่าวมีส่วนผสมของสารอันตรายอย่างไซบูทรามีนและฟีนอล์ฟทาลีน ซึ่งตัวยาในท้องตลาดที่มีส่วนผสมของสารเหล่านี้ได้ถูกสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเพิกถอนทะเบียนและห้ามจัดจำหน่ายไปนานแล้ว สำหรับ “ไซบูทรามีน” เป็นสารที่มักจะถูกนำไปใช้กับยาหรืออาหารเสริมลดน้ำหนัก มีผลข้างเคียงคือทำให้ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจหยุดเต้น และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต ส่วน “ฟีนอล์ฟทาลีน” เป็นสารกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น หากใช้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง อิเล็กโทรไลต์ในร่างกายเสียสมดุล และอาจก่อให้เกิดมะเร็งได้

นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายังย้ำเตือนประชาชนอีกด้วยว่า ห้ามวางจำหน่ายเภสัชภัณฑ์และอาหารเสริมที่นำกลับเข้ามาจากต่างประเทศในที่สาธารณะ เพื่อหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมายฐานทำหรือนำเข้ามาโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามกฎหมายเภสัชกรรมมาตราที่ 82 โดยผู้ที่ฝ่าฝืนจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี  และปรับสูงสุดไม่เกิน 100 ร้อยล้านเหรียญไต้หวัน สำหรับผู้ที่จำหน่าย จัดหา หรือมีเจตนาที่จะจัดจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมายเภสัชกรรมมาตราที่ 83 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับสูงสุดไม่เกิน 50 ล้านเหรียญไต้หวัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading