[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันและโรงพยาบาลเถาหยวน กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ได้คัดเลือกอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี (บุคลากรทางการแพทย์) เข้าร่วมในการวิจัยทางคลินิกเกี่ยวกับประสิทธิผลของการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ โดยอาสาสมัครผู้เข้าร่วมมีอายุระหว่าง 20 ถึง 65 ปี ฉีดวัคซีนสูตรไขว้กับฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา AZ ทั้งสองเข็ม เพื่อเปรียบเทียบผลข้างเคียงและภูมิคุ้มกันที่เพิ่มขึ้น
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ขยายเวลามาตรการป้องกันโรคระดับ 2 ออกไปถึงวันที่ 29 พ.ย. ดูที่เดียวจบ
ทีมแพทย์วิจัย ภาพ/นำมาจาก เฟสบุ๊ค โรงพยาบาลแห่งชาติไต้หวัน
ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2564 ทีมวิจัยคัดเลือกผู้เข้าร่วมทดสอบทั้งหมด 400 คน (แต่หนึ่งในผู้เข้าร่วมได้ถูกยกเลิกกลางคัน เนื่องจากการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน) เมื่อไม่กี่วันก่อนโรงพยาบาลแห่งชาติไต้หวันได้มีการจัดงานแถลงข่าว ประกาศผลการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ข่าวดี! แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว อนุญาตให้แรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซียเข้าก่อน
โรงพยาบาลแห่งชาติไต้หวันเสร็จสิ้นการทดลองฉีดวัคซีนสูตรไขว้แอสตราเซเนกา + โมเดอร์นา เบื้องต้นพบว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนสูตรไขว้มีภูมิเพิ่มขึ้นดีกว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาชนิดเดียวกันทั้ง 2 เข็ม แต่ภูมิที่เพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับการฉีดวัคซีนโมเดอร์นาชนิดเดียวกันทั้ง 2 เข็ม การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ถึงแม้ภูมิที่เพิ่มขึ้นจะดีกว่าการฉีดสูตรอื่น ๆ แต่ผลข้างเคียงก็หนักกว่าการฉีดสูตรอื่นเช่นกัน ทีมวิจัยเตือนว่า ผลข้างเคียงของกลุ่มที่ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ มีสัดส่วนสูงกว่ากลุ่มที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาสองเข็ม ส่วนอาการผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นบ่อย เช่น อาการบวมแดงหรือปวดบริเวณที่ฉีด มีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่มีปฏิกิริยาไม่รุนแรงและมีระยะเวลาสั้น ผลการวิจัยยังพบว่า ฉีดวัคซีนสูตรแอสตราเซเนกา + โมเดอร์นา มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง