:::

หลี่ เหยา ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวจีน จากอาสามัครสู่การเป็นประธานสมาคมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นานาชาติ

หลี่ เหยา ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จากมณฑลกานซู่ ประเทศจีน เธอได้ร่วมเป็นอาสาสมัครของวิทยาลัยชุมชนกังซาน เมืองเกาสง เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่  ภาพ/จากหลี่ เหยา
หลี่ เหยา ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จากมณฑลกานซู่ ประเทศจีน เธอได้ร่วมเป็นอาสาสมัครของวิทยาลัยชุมชนกังซาน เมืองเกาสง เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่ ภาพ/จากหลี่ เหยา
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง : จารุวรรณ สุทธิธนกูล (朱芝瑜)

หลี่ เหยา (李瑤) ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ จากมณฑลกานซู่ ประเทศจีน จากอาสามัครสู่การเป็นประธานสมาคมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นานาชาติ

เธออาศัยอยู่ที่ไต้หวันมานานกว่า 20 ปีแล้ว เพื่อทำลายกำแพงความเชื่อที่ว่า ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ไม่สามารถทำงานและเรียนไปด้วยได้ เธอได้ร่วมเป็นอาสาสมัคร เพื่อช่วยเหลือพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ในเขตกังซาน เมืองเกาสง แก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และช่วยให้สามารถปรับตัวเข้ากับชีวิตในไต้หวันได้ง่ายยิ่งขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ม่อโฉว ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามราชินีแห่งวงการไลฟ์สดขายของ แบ่งปันประสบการณ์ความสำเร็จของการเป็นสตาร์ทอัพ

ภาพของ หลี่ เหยา และครอบครัว ภาพ/จากหลี่ เหยา

เมื่อ 20 ปีที่แล้ว นโยบายดูแลผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ยังไม่สมบูรณ์มากนัก และยังมีอุปสรรคด้านการสมัครงาน และเรียนหนังสือ ในช่วงสองสามปีแรก ที่หลี่ เหยา มาที่ไต้หวัน เธอใช้เวลาส่วนมากดูแลพ่อแม่สามีอยู่ที่บ้าน โชคดีที่พ่อแม่สามีของเธอเป็นผู้อพยพมาจากฝูเจี้ยน พวกเขาจึงเข้าใจความยากลำบาก รู้สึกเห็นอกเห็นใจ และรักเธอเหมือนเป็นลูกสาวคนหนึ่ง จนกระทั่งแม่สามีของเธอเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็ง ทำให้เธอรู้สึกสูญเสียที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ

หลังจาก หลี่ เหยา ได้ทราบข่าวว่า วิทยาลัยชุมชนกังซาน เมืองเกาสง เปิดสอนหลักสูตรเกี่ยวกับ การปรับตัวสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ในขณะที่ต้องดูแลลูกเล็กอยู่นั้น เธอก็ได้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครที่วิทยาลัยชุมชน นอกจากจะได้เรียนรู้หลายๆอย่างแล้ว เธอยังได้ให้บริการสาธารณะ และเริ่มมีการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ ต่อมาได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นครูสอนพิเศษ และถูกรับเลือกให้เป็นเลขาธิการ

หลักสูตรอาหารนานาชาติ เปิดโอกาสให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้เผยแพร่วัฒนธรรมทางด้านอาหารของประเทศตนเอง ภาพ/จากหลี่ เหยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม : ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ชาวเวียดนามย้ายมาอยู่ที่ไต้หวันตั้งแต่อายุ 19 ได้วุ้นดอกไม้ 3D มาช่วยเปลี่ยนชีวิต

หลี่ เหยา กล่าวว่า ในเวลานั้น รัฐบาลเมืองเกาสงได้มอบหมายให้องค์กรเอกชน เข้ามาดำเนินการในสำนักงานการศึกษาหลายแห่ง หนึ่งในนั้นมีสมาคมพัฒนาดวงตาสีเขียวเมืองเกาสง (高雄市綠繡眼發展協會) ได้มีการเปิดหลักสูตรวาดภาพ และหลักสูตรคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนมีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะ และใส่ใจเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ซึ่งระหว่างที่ หลี่ เหยา เข้าร่วมสมาคมนั้น เธอยังได้นำบริการดูแลผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้าสู่ระบบของสมาคม ซึ่งนอกจากจะได้รับการยอมรับจากสมาคมแล้ว ทางสมาคมยังมีการจัดหลักสูตรมากมาย ให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และยังมีการร่วมมือกับภูมิภาคอื่น ๆ จัดการแข่งขันอาหาร และตีพิมพ์หนังสืออาหารต่างชาติอีกด้วย

ซึ่งในขณะนั้น ที่เขตกังซาน ยังไม่มีสมาคมที่ให้บริการสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ เพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในพื้นที่ สมาคมพัฒนาดวงตาสีเขียวเมืองเกาสง (高雄市綠繡眼發展協會) ได้ร่วมมือกับบรรดาพันธมิตร ก่อตั้งสมาคมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นานาชาติ และได้เชิญ หลี่ เหยา มาดำรงตำแหน่งประธานสมาคม เพื่อทำงานร่วมกับวิทยาลัยชุมชน โดยหวังให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสรู้จักผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เพิ่มมากขึ้น

อ่านข่าวเพิ่มเติม :เมื่อเห็นอคติและการเปลี่ยนแปลงของสังคมไต้หวันต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ หงจิงจิงชาวอินโดฯ จัดตั้งสมาคมเพื่อส่งเสริมกิจการสาธารณะ

หลี่ เหยา และบรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ ถ่ายรูปร่วมกันอย่างมีความสุข ภาพ/จากหลี่ เหยา

หลังจากสมาคมผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นานาชาติเกาสงได้ก่อตั้งขึ้น ทำให้บรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ มีช่องทางในการแบ่งปันเรื่องราวของตนเอง ระบายความในใจ และอธิบายถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม ผ่านการพบปะพูดคุยกันทุกสัปดาห์ โดยทุกคนจะหารือเกี่ยวกับปัญหาร่วมกัน ให้คำแนะนำ และแบ่งปันแนวคิด เราหวังว่า บรรดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่จะสามารถปรับตัว ให้เข้ากับการใช้ชีวิตในไต้หวันได้โดยง่าย นอกจากนี้ ทางสมาคมยังร่วมมือกับสำนักทะเบียน เพื่อวางแผนหลักสูตรต่างๆ ให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และมีการขอให้สำนักงานแรงงานจัดการฝึกอบรมวิชาชีพ และขอให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ พี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อีกด้วย

กิจกรรมที่สนุกสนานและน่าสนใจ ทำให้เด็กๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมดั้งเดิม ภาพ/จากหลี่ เหยา

อ่านข่าวเพิ่มเติม : หูอิงเยว่ล่ามกฎหมายมืออาชีพ ช่วยเหลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ให้ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมาย

นอกจากนี้ ยังมีการเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หลากหลายเชื้อชาติ ให้มาเป็นวิทยากรในหลักสูตรอาหารประจำชาติของตนเอง เพื่อให้พวกเขาได้พบปะสื่อสารกัน ทั้งนี้ หลี่ เหยา ชี้ให้เห็นว่านอกจากการเปิดหลักสูตรต่างๆ อย่างต่อเนื่องแล้ว สมาคมและวิทยาลัยชุมชนยังให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมดั้งเดิมในท้องถิ่น มีการจัดกิจกรรมแสดงเครื่องดนตรีประจำถิ่น และในอนาคต จะมีการวางแผนโครงการต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น การอบรมมัคคุเทศก์ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาชื่นชมความหลากหลายทางวัฒนธรรมในไต้หวัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading