ตามรายงานของสายด่วนคุ้มครองด้านแรงงาน 1955 เมื่อแรงงานต่างชาติที่ทำงานในไต้หวัน ลาคลอดแตกต่างจากการลาป่วย และนายจ้างห้ามนับการลาคลอดว่าเป็นการลาป่วย สายด่วนคุ้มครองด้านแรงงาน 1955 ระบุว่า ยังมีนายจ้างหลายคนที่นับการลาคลอดเป็นการลาป่วย ทำให้แรงงานต่างชาติได้รับค่าจ้างเพียงครึ่งเดียว และค่าจ้างยังถูกหักตามบันทึกการเข้างาน อย่างไรก็ตาม ตาม “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศในด้านการทำงาน” สตรีมีครรภ์มีสิทธิขอลาคลอดได้
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาเที่ยวไต้หวันมีโอกาสได้รับเงินอุดหนุน 5,000 เหรียญ
ไม่เพียงแต่ประชาชนชาวไต้หวัน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ หรือแรงงานต่างชาติเท่านั้น แต่ทุกคนที่ทำงานในไต้หวัน ไม่ว่าจะถือครองสัญชาติใดและทำงานในด้านสาขาอาชีพใด ต่างได้รับการคุ้มครองโดย “พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศในด้านการทำงาน” ทั้งสิ้น กฎหมายนี้ยังคุ้มครองสิทธิของสตรีมีครรภ์ โดยอนุญาตให้สตรีมีครรภ์ มีสิทธิที่จะได้รับบริการที่สอดคล้องในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดบุตร ดังนั้น นายจ้างจึงไม่สามารถปฏิเสธการลาเพื่อคลอดบุตรของแรงงานต่างชาติได้ และไม่สามารถใช้การลาเพื่อคลอดบุตรนี้ลงบันทึกว่าไม่เข้างานและตัดเงินโบนัสเข้างานเต็มเวลาเด็ดขาด
สายด่วนคุ้มครองด้านแรงงาน 1955 แรงงานต่างชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวันสามารถลาคลอดได้ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
อ่านข่าวอื่นเพิ่มเติม : สตม.เผิงหูจัดรถไฟบริการเคลื่อนที่ลงพื้นที่ห่วงใยพี่น้องแรงงานต่างชาติ
สายด่วนคุ้มครองด้านแรงงาน 1955 เน้นย้ำอีกครั้งว่า สิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานต่างชาตินั้นมีเยอะมาก ทั้งคนงานและนายจ้างควรทำความเข้าใจให้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายจ้างต้องไม่ใช้มาตรการที่ไม่เหมาะสมกับแรงงานต่างชาติที่กำลังตั้งครรภ์ พฤติกรรมเหล่านี้ อาทิเช่น แรงงานต่างชาติที่กำลังตั้งครรภ์ไม่ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนคลอด ไม่ต้องเซ็นสัญญาในข้อตกลงต่อต้านการตั้งครรภ์ และบังคับให้ยกเลิกสัญญาเนื่องจากอยู่ระหว่างตั้งครรภ์ ตลอดจนบังคับให้เดินทางออกจากไต้หวัน นอกจากนี้ วันหยุดก่อนและหลังตั้งครรภ์ควรเหมือนกันกับแรงงานชาวไต้หวัน ดังนั้น แรงงานต่างชาติที่กำลังตั้งครรภ์ควรมีเวลาตรวจสุขภาพและพักจากงานระหว่างคลอด และช่วงดูแลเด็กทารกหลังคลอด