:::

เส้นทางรถจักรยานที่สวยที่สุดในไต้หวัน “Dark Line” เมืองนิวไทเป

ภาพ/นำมาจากเว็บไซต์รัฐบาลเมืองนิวไทเป
ภาพ/นำมาจากเว็บไซต์รัฐบาลเมืองนิวไทเป
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปลและเรียบเรียง/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

“Dark Line” เป็นการรวมอุโมงค์ซานเตียวหลิ่ง อุโมงค์ซานกัวจึ และเส้นทางจักรยานกลางแจ้งซานเตียวหลิ่งไว้ในเส้นทางเดียวกัน หลังจากปิดมานานกว่า 35 ปี อู่จงซวิน (吳忠勳) พร้อมด้วยทีมวิศวกรจากสเปนและฝรั่งเศส ร่วมกันปรับปรุงเป็นเวลากว่า 3 ปีกว่าจะเปิดให้บริการ เมื่อถนนสายนี้เปิด หลายคนถึงรู้ว่าไต้หวันยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามเช่นนี้ ฉู่รุ่ยจี (褚瑞基) ศาสตราจารย์จากภาควิชาสถาปัตยกรรมกล่าวว่า “จริง ๆ ที่แห่งนี้ถือว่าเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งได้เลยทีเดียว”

ในวันนี้ศาสตราจารย์ฉู่เป็นผู้นำทัวร์เป็นการส่วนตัว นำพาผู้เข้าร่วมในกลุ่มทัศนศึกษาขี่จักรยาน U-bikes นอกจากมีเสียงเอี๊ยดอ๊าดของกรอบล้อรถแล้ว ยังมีเสียงหยดน้ำ ที่ผู้ออกแบบสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนที่ผ่านทางยังคงได้ยินเสียงของธรรมชาติ

ทางจักรยานซานเตียวหลิ่ง

แสงไฟในอุโมงค์เมื่อสัมผัสได้ถึงการมาถึงของคนก็จะส่องแสงสว่างขึ้นบนกำแพง ทำให้ผู้ผ่านทางสามารถเดินตามแสงเส้นของอุโมงค์ไป แต่ความมืดกลายเป็นสื่อในการมองเห็น เมื่อมองขึ้นไปที่อุโมงค์มืดและกำแพงอิฐ จุดสีดำคือ ลอยไอน้ำของรถไฟที่ไว้ใช้ขนเหมืองในยุคที่เป็นเมืองขึ้นของญี่ปุ่นที่ถูกสะสมมานานหลายปี และถ้าคุณขี่ไปข้างหน้าอุโมงค์ยังมีหินย้อยรูปหยดน้ำบนผนังสีขาวบางและยาวราวกับอัญมณีธรรมชาติที่มอบให้กับอุโมงค์แห่งนี้ ทุก ๆ เซนติเมตรของที่นี่สามารถมองเห็นได้ในมิติที่มีอายุนับศตวรรษ ให้เราได้มาย้อนรอยประวัติศาสตร์และสร้างจินตนาการ

เมื่อขี่มาถึงสุดทาง แสงสว่างเกิดขึ้นที่ปลายอุโมงค์ นักออกแบบขอให้ทุกคนลงจากรถชั่วคราว เขาชี้ไปข้างหน้าและบอกทุกคนว่า ตรงนั้นมีค้างคาวจมูกใบไม้อยู่ที่นั่น เขาหวังว่าทุกคนจะลดระดับเสียงลงให้ได้มากที่สุด เพื่อไม่ให้รบกวนสัตว์พวกนั้น

“ปล่อยให้คนขี่บนท้องถนน อย่ารบกวนสัตว์ต่าง ๆ ปล่อยให้น้ำไหลต่อไป ปู ปลา กุ้ง และค้างคาวยังสามารถอยู่อย่างสงบสุขได้” นี่คือมาตรฐานพื้นฐานที่สุดของอู๋จงซวินในการทำโครงการนี้

สถาปนิกผู้ออกแบบภูมิทัศน์อู๋จงซวินอธิบายให้ทุกคนฟัง

เขายากที่จะลืมความรู้สึกก้าวแรกที่ได้ย่างก้าวเข้าไปในอุโมงค์ ตอนที่เข้ารับช่วงโครงการเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนนั้นเขาสวมชุดกบลุยน้ำเท้าเหยียบโคลน สัมผัสได้ถึงธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ “ถึงแม้ว่าอุโมงค์แห่งนี้จะถูกปิดไปกว่า 35 ปี แต่แผ่นดินนี้ไม่เคยหลับเลย ยังคงมีปลา กุ้ง กบ ค้างคาวอยู่ในอุโมงค์เช่นเคย นั่นคือพลังของธรรมชาติ ในฐานะสถาปนิก นี่คือสาระสำคัญของภูมิทัศน์ที่เรากำลังมองหา”

ดังนั้น เขาตัดสินรับเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการเส้นทางรถจักรยาน เขาถูกลิขิตให้มาต่อสู้กับแนวคิดการท่องเที่ยวแบบเก่าในไต้หวัน

เส้นทางรถจักรยานนั้นขรุขระ ไม่มีแสงสว่าง แล้วทำไมถึงไม่เทซีเมนต์ตลอดเส้นทางเลย ส่วนเส้นทางเดินเท้ามีช่องโหว่ ถ้าของตกลงไปจะทำยังไงดี การเปิดให้ลองใช้บริการทำไมทำได้เพียงจูงรถจักรยานเดินข้ามไปเท่านั้น อู๋จงซวินเล่าอย่างละเอียด เบื้องหลังของทุกเหตุผลคือความอุตสาหะและความจริงใจต่อแผ่นดินนี้ หากเทซีเมนต์ลงไปและติดหลอดไฟให้สว่างไสว แบบนี้มันถูกออกแบบเมื่อเพื่อมนุษย์เพียงเท่านั้น แล้วสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจถูกไล่ให้หายไปได้ “แบบนี้ก็สูญเสียความหมายของการดำรงชีวิตไปแล้ว”

เส้นทางรถจักรยานซานเตียวหลิ่งเชื่อมต่อเขตหมู่ตานและเขตซานเตียวหลิ่งเมืองนิวไทเป

อู๋จงซวิน ตัดสินใจวางเหล็กสร้างเส้นทางให้รถวิ่ง เขาและทีมงานออกแบบในการติดตั้งแสงไฟอย่างปราณีต จนเกิดเป็นเงา เกิดภาพสะท้อนบนผิวน้ำที่ทางเข้าอุโมงค์อย่างสวยงาม ทำให้ตรงนี้เป็นจุดที่ได้รับความสนใจจากผู้คนมากที่สุด มีหลายคนเดินทางมาเที่ยวที่นี่เพียงเพราะต้องการเก็บภาพสวย ๆ ของที่ตรงนี้โดยเฉพาะ ในขณะที่คนอื่น ๆ หยุดอยู่ตรงนี้เพื่อเก็บภาพรถไฟที่กำลังวิ่งผ่านซานเตียวลิงที่อยู่อีกฝั่ง

ในขณะที่ต้องการเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอุโมงค์กับถนน อีกด้านก็อยากที่จะรักษาภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ ทีมงานตัดสินใจไม่ใช้วิธีตอกเสาปูน แต่เลือกใช้วิธีการของทีมสถาปนิกชาวสเปนด้วยการใช้เสาค้ำตอกตะแกรงเหล็กยาว 200 เมตร “หากไม่ทำแบบนี้ ตรงทางปากอุโมงค์คงได้เห็นแต่รูปร่างสิ่งก่อสร้างเสาปูนขนาดใหญ่ตั้งโด่อยู่ ผู้คนจะไม่สามารถมองเห็นป่าไม้และแม่น้ำได้เลย”

อู๋จงซวินพูดพลางขำ ๆ ว่า “ช่วงที่กำลังก่อสร้าง คนงานพากันห้อยโหนอยู่ที่หน้าผาอย่างกับสไปเดอร์แมน ฉันเองทำแบบนั้นไม่ได้หรอก แค่จะปีนยังปีนไม่ไหวเลย”

ทางออกของอุโมงค์รถจักรยานมองเห็นรถไฟวิ่งผ่านอยู่ทางด้านฝั่งตรงข้าม

ระหว่างเส้นทางถนนไม้กระดานสั้น ๆ อู๋จงซวินได้บอกเล่าเกี่ยวกับวิธีการรักษาดูแลต้นไม้แต่ละต้นให้ฟังอย่างละเอียด แท่งเหล็กเกิดสนิมอย่างไร จากนั้นมีการทาเคลือบกันสนิมเพื่อยืดอายุการใช้งาน หัวใจหลักของการสร้างให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด

“ชาวไต้หวันคิดว่าหินเหล่านี้ไม่มีค่าอะไร และวัชพืชเหล่านี้ก็ไม่มีอะไรให้น่าดู แต่ในสายตาของทีมสถาปนิกชาวสเปน สิ่งเหล่านี้คือสมบัติ พวกเขาคิดว่าพื้นผิวของกำแพงภูเขาของไต้หวันนั้นซับซ้อน ไม่เหมือนเทือกเขาพิรินี ถึงแม้จะงดงาม วิวสวย แต่โดดเดี่ยว ไต้หวันนั้นสวยจริง ๆ!”

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading