หม่ามิน(馬敏)ผู้มาจากเหอหนาน แต่งงานกับเฉินเจียชิ่ง(陳嘉慶) และใช้ชีวิตอยู่ที่ไต้หวันมานานกว่า 10 ปี จัดตั้ง The Siloam Holistic Care Association (西羅亞全人關懷協會) ใช้เวลาไปกับกิจกรรมพัฒนาสังคม สร้างบ้านสวนและฟาร์มไร้สารพิษในหมูบ้าฟานลู่ เมืองเจียอี้ ช่วยเหลือคนไร้บ้านและนักโทษที่พ้นโทษแล้วให้กลับมามีชีวิตใหม่กว่า 5 ร้อยคน พร้อมทั้งช่วย้หลือผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และครอบครัวที่มีรายได้น้อยในการสอนพิเศษหลักเลิกเรียน
หม่ามินและแม่ลูกผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมกันทำของหวาน(ภาพ / จากเฟสบุ๊ค 西羅亞生態農園)
ภายหลังจากการเรียนจบมหาวิทยาลัย หม่ามินใช้ชีวิตในการสอนพิเศษที่เซินเจิ้น และได้เปิดสถาบันกวดวิชาหลังเลิกเรียนมากมาย และมีโอกาสได้สัมผัสกับศาสนาคริสต์และร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคมต่าง ๆ มากมาย ทำให้ได้รู้จักกับ เฉินเจียชิ่ง ผู้สร้างบ้านสวนในไต้หวัน ภายหลังจากการคบหาดูใจตลอด 1 ปีกว่า ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีความรู้สึกรักและมีอารีต่อกัน แต่สำหรับการตัดสินใจแต่งงานยังคงมีหลายเรื่องที่ต้องคิด จนกระทั่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มณฑลเสฉวนเมื่อปี 2551 ทั้งคู่ได้ไปให้ความช่วยเหลือ ในช่วงระยะเวลานี้ทำให้ทั้งคู่ได้รู้จักกันมากขึ้น ท้ายที่สุดหม่ามินจึงตัดสินใจแต่งงานมาอยู่ที่ไต้หวัน พร้อมร่วมกันจัดตั้ง The Siloam Holistic Care Association (西羅亞全人關懷協會)
หม่ามินนำเด็ก ๆ ไปเรียนรู้เกี่ยวกับนิเวศวิทยาในบ่อปลา(ภาพ / จากเฟสบุ๊ค 西羅亞生態農園)
บ้านสวนแห่งนี้เป็นสถานที่ที่คอยช่วยเหลือ คนไร้บ้าน คนพึ่งพ้นโทษ ติดยา ติดสุรา และบุคคลต่าง ๆ ที่สังคมคิดว่าเป็นอันตรายที่ซ่อนอยู่ ทั้งคู่คอยมอบความรักและกำลังใจ ให้พวกเขาได้เริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดี ซึ่งนั่นเป็นแรงผลักดันให้หม่ามินเธอได้ใช้ชีวิตอยู่ในไต้หวัน สถานที่ที่เธออาศัยอยู่ตอนนี้ ที่มีความทุรกันดารกว่าบ้านเกิดของเธอที่เหอหนาน ซึ่งแม้กระทั่งจะออกไปจ่ายตลาดก็ต้องพึ่งสามีเธอขับรถเข้าเมืองเจียอี้เป็นเวลากว่าครึ่งชั่วโมง แต่ด้วยปณิธานในการช่วยเหลือผู้คนของเธอจึงเป็นสิ่งที่คอยดึงเธอไว้ให้สามารถเดินหน้าต่อไปได้
The Siloam Holistic Care Association พยายามอย่างเต็มที่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับครอบครัวผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่(ภาพ / จากหม่ามิน)
ยิ่งไปกว่านั้น จนกระทั่งลูก ๆ ของทั้งสองได้เข้าเรียนในโรงเรียน ทำให้เธอพบว่ายังมีผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากมายที่เหมือนเธอ แต่งงานมาอยู่ไต้หวัน เนื่องด้วยสภาพเศรษฐกิจในครอบครัว ทำให้ต้องทำงานไปด้วยเลี้ยงลูกไปด้วย ทำให้พวกเขามีความยากลำบากเป็นอย่างมาก เธอจึงได้ตัดสินใจเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานเหล่านั้นเข้ามาสู่บ้านสวนของเธอ ร่วมกันปลูกผลไม้ออร์แกนิค เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด คอยสนับสนุนค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ
The Siloam Care Association
โดยเมื่อต้นปีนี้ หม่ามินก็ได้นำพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมโครงสร้างฝันของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และได้รับรางวัลการช่วยเหลือ ทำให้มีโอกาสได้เผยแพร่งานด้านการศึกษาเกี่ยวกับการทำฟาร์มที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้ใช้วิธีการทำฟาร์มปลอดสารพิษ ในการสร้างผลผลิตทางการเกษตร
หม่ามินและแม่ลูกผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ร่วมกันทำอาหาร(ภาพ / จากหม่ามิน)
นอกจากนี้ หม่ามินยังได้ประชาสัมพันธ์การศึกษาเกษตรให้แก่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และทายาท เน้นหลักการ “ลงมือทำด้วยตนเอง” ชวนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่นำลูก ๆ มาปลูกผักเลี้ยงสัตว์ ทำให้ลูก ๆ ได้รู้จักกับนิเวศวิทยาในฟาร์ม และในช่วงวันหยุดก็ยังมีแม่ ๆ ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาร่วมกันทำอาหารหลาย ๆ ชาติ สร้างบ้านสวนที่เต็มไปด้วยความรัก ความเมตตาและอารี