กรมประมง คณะกรรมการเกษตร สำนักบริหาร (Fisheries Agency,Council of Agriculture) แถลงการณ์ว่า “แผนปฏิบัติการด้านการประมงและสิทธิมนุษยชน” และการแก้ไขร่าง “ระเบียบว่าด้วยการอนุญาตและการจัดการการจ้างงานลูกเรือต่างชาติในประเทศ” (Regulations on the Authorization and Management of Overseas Employment of Foreign Crew Members) จะเริ่มมีผลบังคับใช้พร้อม ๆ กันเร็ว ๆ นี้ โดยคาดว่า “แผนปฏิบัติการด้านการประมงและสิทธิมนุษยชน” จะได้รับการอนุมัติจากสภาบริหาร ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เพื่อปรับปรุงสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานชาวประมงต่างชาติ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน CECC จำแนก “4 อาการ” ที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโอมิครอน
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ระบบโอนค่าจ้างเข้าบัญชีโดยตรง บันทึกชั่วโมงการทำงานของแรงงานประมงจะมีผลบังคับใช้เร็ว ๆ นี้ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
ในการให้สัมภาษณ์กับสื่อ หลินติ่งหรง (林頂榮) คณะกรรมการกรมประมง กล่าวว่า สำหรับประเด็น “การหักค่าจ้างของแรงงานชาวประมง” สถานการณ์ปัจจุบันคือ เจ้าของเรือจะโอนเงินค่าจ้างให้กับบริษัทนายหน้าในประเทศ และบริษัทนายหน้าในประเทศจะโอนค่าจ้างให้กับบริษัทนายหน้าในต่างประเทศ (ประเทศของแรงงาน) จากนั้นบริษัทนายหน้าในต่างประเทศจะโอนเงินให้ชาวประมง หลังจากการสอบสวนพบว่า บริษัทนายหน้าในต่างประเทศส่วนใหญ่จะหักค่าจ้างแรงงานโดยใช้เหตุผลว่าเป็น “แรงงานชาวประมงยืมเงินกู้”
อ่านข่าวเพิ่มเติม: มท.ไต้หวันรณรงค์ไม่นำหรือส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดมายังไต้หวัน
รัฐบาลไต้หวันยังคงปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิทธิแรงงานของชาวประมงต่างชาติ ภาพ/นำมาจากคลังภาพ Pixabay
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ระบบใหม่มีผลบังคับใช้ มีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้งว่า ไม่ว่าจะได้รับการอนุมัติจากชาวประมงเองหรือไม่ก็ตาม บริษัทนายหน้าห้ามโอนเงินเดือนของลูกเรือผ่านบริษัทนายหน้าในต่างประเทศเด็ดขาด นอกจากนี้ สัญญาจ้างแรงงานของชาวประมงจะต้องระบุจำนวนเงินที่จ่าย (เงินเดือน) วิธีการชำระเงิน ประเภทประกันภัย จำนวนเงินเอาประกันภัย ค่าใช้จ่ายสำหรับแรงงานชาวประมงเดินทางไปกลับประเทศ และค่าใช้จ่ายในการมาทำงาน ฯลฯ ไว้อย่างชัดเจน ตลอดจนต้องส่งสัญญาจ้างแรงงานไปยังหน่วยงานที่มีอำนาจเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวประมงถูกเอารัดเอาเปรียบ