:::

คำแนะนำสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาล

คำแนะนำสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาล

ภาษาคือหนึ่งในอุปสรรค์คของการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน แนะนำให้พาเพื่อนร่วมชาติที่เข้าใจภาษาจีนไปพบแพทย์ด้วยกัน (ภาพจาก นายแพทย์ผ๋าง เวิ่นฉุน)

ใบบทความแรกที่ได้กล่าวถึงปัญหาที่ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวันต้องพบเจอเมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่งในบทความนี้เราจะมาให้คำแนะนำสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาล ซึ่ง

คำแนะนำสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เมื่อต้องการเข้ารับการรักษาพยาบาลมีดังต่อไปนี้

(1) ประกันสุขภาพ:ในความเป็นจริงปัญหานี้ได้รายงานไปยังรัฐบาลแล้ว มณฑลและเมืองบางแห่งมีงบประมาณช่วยเหลือสำหรับการตรวจครรภ์ในช่วงที่ยังไม่มีประกันสุขภาพ ดังนั้นเมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ไปพบแพทย์ต้องสอบถามทางโรงพยาบาลหรือสำนักอนามัยท้องถิ่นว่ามีเงินอุดหนุนหรือไม่ และทำความเข้าใจกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของเงินอุดหนุนเพื่อรักษาสิทธิของตนเอง

 

(2) ให้เพื่อนจากประเทศเดียวกันพาไปพบแพทย์และตั้งใจเรียนภาษาจีน: พาเพื่อนจากบ้านเกิดเดียวก พาเพื่อนจากบ้านเกิดเดียวกันที่เข้าใจภาษาจีนไปพบแพทย์เป็นเพื่อนเพื่อช่วยเหลือในการแปลและการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และผู้ป่วยได้ตลอดเวลา เป็นการหลีกเลี่ยงความไม่เข้าใจหรือการใช้ยาในทางที่ผิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้อยู่ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไม่เก่งภาษาจีน

ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต้องอยู่อาศัยในไต้หวันในอนาคต ดังนั้นจึงขอให้ใช้โอกาสในการเรียนรู้ภาษาจีน เช่น หาเพื่อนใหม่ชาวไต้หวัน และเรียนรู้ภาษาจีนและไต้หวันขั้นพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันก่อน ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หากเงื่อนไขอนุญาตก็อาจพิจารณาพาคุณแม่ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มาอยู่ไต้หวันเพื่ออยู่เป็นเพื่อนในระหว่างคลอดและฟื้นฟูหลังคลอด ซึ่งในส่วนนี้ต้องคุยและต้องได้รับการเห็นด้วยจากสามีชาวไต้หวันและครอบครัว หากไม่สามารถพาคุณแม่มาอยู่เป็นเพื่อนได้ ก็ขอแนะนำให้ทำตามวัฒนธรรมของไต้หวันสำหรับการฟื้นฟูหลังคลอด เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยกระหว่างสมาชิกในครอบครัว

 

(3) ให้ความสนใจกับความสุภาพเสมอ: ไต้หวันเป็นสังคมที่สุภาพ: ‘คุณหมอสวัสดี!',‘สวัสดีคุณพยาบาล',‘ขอบคุณ!', ‘ขอบคุณ!', ‘ขอถามหน่อยค่ะ/ครับ.....'คำพูดเหล่านี้ควรอยู่ในปากเสมอ โดยปกติผู้ป่วยที่สุภาพ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะปฏิบัติต่อพวกเค้าเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

 

(4) เลือกแพทย์ที่มีความเห็นอกเห็นใจมากที่สุด: :

สามารถสอบถามกับเพื่อนจากประเทศเดียวกันที่อยู่ไต้หวันมานาน ว่ามีแพทย์ท่านไหนบ้างที่มีความอดทนและเห็นใจต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่อย่าง โดยทั่วไปแพทย์ต่างชาติจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความเข้าใจสภาพแวดล้อมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากที่สุดเนื่องจากตนเองก็มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกันและเป็นผู้ตั้งิ่นฐานใหม่เหมือนกัน ซึ่งจะมีความเห็นอกเห็นใจและความอดทนมากกว่า  ซึ่งการพบแพทย์เหล่านี้ก็จะได้รับการดูแลที่ดีขึ้น แต่ในความเป็นจริงคนส่วนใหญ่ในไต้หวันมีความเป็นมิตรและให้ความช่วยเหลือ ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีปัญหามากเกินไปในการรักษาพยาบาล

 

(5) เลือกโรงพยาบาลที่ให้ความสำคัญกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มากที่สุด:

แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าโรงพยาบาลนั้นๆ ให้ความสำคัญกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หรือไม่? คุณสามารถตรวจสอบว่าโรงพยาบาลมีแผนกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่หรือชาวต่างชาติหรือไม่ มีแผ่นพับให้ความรู้ด้านสุขภาพในภาษาต่างๆ หรือไม่? ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาลฉื๋อจี้ฮวาเหลี๋ยนได้เปิดตัวแผนกผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในปี 2012 โดยมีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และมีมาตรการที่สำคัญ ได้แก่ (1) ร่วมมือกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และจัดซื้อเครื่องแปลภาษา เพื่อช่วยเหลือในการแปลภาษาให้กับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ที่เข้ามาพบแพทย์ ทำให้การเข้าพบแพทย์เกิดความราบรื่นยิ่งขึ้น (2) ช่วยเหลือในการกรอกข้อมูลเพื่อรับการรักษาพยาบาล (3) จัดให้มีการบรรยายเรื่องความรู้ด้านสุขภาพและการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ที่เมืองต่างๆ 4) จัดทำแผ่นพับให้ความรู้ด้านสุขภาพในภาษาต่างๆ

 

(6) หากป่วยให้รีบไปพบแพทย์:หากคุณเริ่มป่วยต้องไปพบแพทย์ อย่ารอจนกระทั่งอาการป่วยหนักมากซึ่งจะเพิ่มความยากและความเสี่ยงในการรักษา และจะใช้เวลาหรือเงินมากขึ้นด้วย มาตรฐานทางการแพทย์ของไต้หวันก็สูงมากเช่นกัน อีกทั้งราคาไม่แพงและสะดวกสบาย ดังนั้น หากเจ็บป่วยก็ให้รีบเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยเร็ว

 

(7) แหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่มีประโยชน์เมื่อไปพบแพทย์:

ในโลกออนไลน์ที่ทันสมัยมีทรัพยากรมากมายสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

ตัวอย่างที่ 1: กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการได้จัดพิมพ์คู่มือสำหรับคุณแม่ในภาษาต่างๆ (เวียดนาม ไทย เมียนมา อินโดนีเซีย และอังกฤษ)

https://www.hpa.gov.tw/Pages/EBook.aspx?nodeid=1142

ตัวอย่างที่ 2: ชาวต่างชาติและผู้อยู่ในอุปการะต้องทำประกันสุขภาพหรือไม่? และต้องทำอย่างไร?

https://www.nhi.gov.tw/Content_List.aspx?n=62969A3F0BCAB383&topn=0B69A546F5DF84DC

ตัวอย่างที่ 3: เงินช่วยเหลือค่าประกันสุขภาพสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ก่อนลงทะเบียนครัวเรือน

https://www.nhi.gov.tw/Content_List.aspx?n=CD44CFAC1B3DB345&topn=5FE8C9FEAE863B46

 

ไต้หวันเป็นสังคมเสรีและประชาธิปไตยที่มีทรัพยากรทางการแพทย์มากมาย ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่มีปัญหาในการเข้ารับการรักษาพยาบาลในไต้หวันเนื่องจากสภาพโดยกำเนิดของตนเองหรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม แม้ว่าระบบปัจจุบันยังไม่สมบูรณ์แต่ก็หวังว่ารัฐบาลไต้หวันจะยอมรับทัศนคติแบบเปิดกว้างและให้ความสำคัญกับสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ และปรับปรุงนโยบายการรักษาทางการแพทย์ที่ดีขึ้นในอนาคตเพื่อประโยชน์ต่อผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

 

ผู้เขียน นายผ๋าง เวิ่นฉุน (龐渂醛) แพทย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาโรงพยาบาลฉื๋อจี้ มณฑลฮวาเหลี่ยน

ภาษาคือหนึ่งในอุปสรรค์คของการเข้ารับการรักษาพยาบาลของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ในไต้หวัน (ภาพจาก นายแพทย์ผ๋าง เวิ่นฉุน)

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading