เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างไต้หวันและไทย อีกทั้งกระชับความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะฝ่ายวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมในประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติของไทย (National Discovery Museum Institute, NDMI) และหน่วยงานอื่นๆ ร่วมกันจัดงาน "2020 Thailand Museum Forum" ในหัวข้อ " Farsighted Museum: Sighting forward to Aging Society " และเพิ่งเปิดตัวกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทางออนไลน์เมื่อเร็วๆ นี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม: คลิกด่วน! คูปอง 5 เท่าใช้ได้ในวันที่ 8 ต.ค. "วิธีลงทะเบียน ขอบเขตการใช้งาน และมาตรการเพิ่มเติม" เรานำมารวมไว้ในที่เดียวให้ท่านแล้ว
หวงซิงต๋า (黃星達) หัวหน้าทีมส่งเสริมการศึกษาของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน ได้นำเสนอหัวข้อ "พิพิธภัณฑ์คือชีวิต"「Museum is Life」(ภาพจาก/กระทรวงวัฒนธรรม)
โดยหัวข้อหลักในครั้งนี้ คือ เรื่องการเผชิญกับสังคมผู้สูงอายุ และบทบาทที่พิพิธภัณฑ์สามารถใช้เพื่อทำหน้าที่ให้การศึกษาตลอดชีวิตแก่ผู้สูงอายุต่อไป อีกทั้งยังเป็นการให้ผู้สูงอายุได้ใกล้ชิด ทำความรู้จัก และใช้ทรัพยากรจากพิพิธภัณฑ์มากขึ้น ครั้งนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติไต้หวันและตัวแทนพิพิธภัณฑ์จากประเทศไทย สิงคโปร์ และฟินแลนด์ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นวิทยากรเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระดับนานาชาติด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: กระทรวงศึกษาธิการประกาศ "แนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดในโรงเรียน" สั่งห้ามผู้ที่ป่วยไปทำงานหรือไปเรียนที่โรงเรียนเด็ดขาด
งานนี้ได้เชิญตัวแทนของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน จากประเทศไทย สิงคโปร์ และฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นวิทยากร เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ระดับนานาชาติ(ภาพจาก/กระทรวงวัฒนธรรม)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติของไทย เป็นพิพิธภัณฑ์หลักของประเทศไทยภายใต้การดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี ในปี 2562 พิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวันได้จัดแสดงนิทรรศการ "Tattoo COLOR, Tattoo HONOR Special Exhibition" ที่สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติของไทย โดยงานนี้ได้รับความช่วยเหลือจากฝ่ายวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรมในประเทศไทย เพื่อแนะนำวัฒนธรรมการสักลายของชาวพื้นเมืองไต้หวัน ในงานนี้ได้ดำเนินการแลกเปลี่ยนระสบการณ์และยกตัวอย่างของไต้หวันแก่คนไทยได้ทราบ เพื่อให้พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยและประเทศทางใต้ใหม่ สามารถยอมรับไต้หวัน อีกทั้งเป็นการส่งเสริมสิทธิที่เป็นมิตรกับวัฒนธรรมและความเท่าเทียมกันต่อไป