[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมมือกับ [Listener 聽你說] เปิดตัวเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนหรือครอบครัวที่เขียนโดยผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 อาศัยการพิจารณาตกตะกอนตนเองของพวกเขา ทำให้บทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างมีความลึกซึ้งและครอบคลุมมากขึ้น【Listener 聽你說】เป็นแพลตฟอร์มองค์กรพัฒนาเอกชน NGO ที่คอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและสาธารณสุขสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2
บทความนี้ “รัก ไม่มีแบ่งสัญชาติ” เขียนโดยผู้เขียน Lý Xì Dầu หรือ หลี่เจี้ยงโหยว และ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ได้นำเนื้อหาของบทความนี้มาแปลเป็น 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ
เมื่อผู้เขียนเดินทางกลับไปเวียดนาม ครอบครัวของเขาจะเตรียมสิ่งของมากมายให้เอากลับไต้หวัน ภาพ∕โดย หลี่เจี้ยงโหยว
◆เสียงร้องจากทางบ้าน
ทุก ๆ 3 ถึง 5 ปี ฉันจะกลับไปที่เวียดนามกับแม่ ทันทีที่ฉันก้าวออกจากประตูสนามบินฉันจะเห็นสมาชิกครอบครัวชาวเวียดนามถือป้ายที่มีชื่อของฉันและชื่อแม่ของฉัน พวกเขาจะตะโกนเรียกเรา หลังจากออกจากสนามบินฉันต้องนั่งรถบัสทางไกลเป็นเวลาครึ่งวัน เพื่อไปยังจังหวัด Bac Lieu ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านของคุณยาย เป็นชนบทที่เรียบง่ายที่มีสนามหญ้าหน้าบ้านขนาดใหญ่และสวนหลังบ้านที่เต็มไปด้วยผักและผลไม้
เมื่อไปถึงก็ดึกแล้ว แต่คุณก็ยังจะได้เจอหน้าสมาชิกในครอบครัวที่รอคุณอยู่เสมอ ครอบครัวที่พลัดพราก การทักทายที่ห่างหาย การกอดและจูบที่ห่างหายไปนาน ทำให้ฉันสัมผัสได้ถึงความรักของคนในครอบครัว แม้ว่าพวกเขาจะสื่อสารกันไม่คล่อง แต่พวกเขาก็ทักทายฉันอย่างอบอุ่นเสมอ ฉันผู้ที่สื่อสารภาษาเวียดนามไม่ได้แต่ตั้งหน้าตั้งตารอที่จะกลับไปเวียดนามเสมอ
◆ใครเป็นคนให้คำจำกัดความฉัน
ฉันอาศัยอยู่ในไต้หวันมา 19 ปี ด้วยสถานะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ไม่เคยถูกคนอื่นให้คำจำกัดความในทางลบ ๆ เลย เพื่อนร่วมชั้นมักคิดว่าภูมิหลังของฉันเจ๋งและพิเศษมาก ฉันเข้ากับแม่ได้ดีและชอบทุกอย่างในเวียดนาม ฉันกลับไปเวียดนามกับแม่เป็นครั้งคราว และฉันเป็นที่รักของครอบครัวชาวเวียดนาม มองแวบแรกฉันก็ไม่ต่างจากเด็กทั่วไป
แต่ถึงแม้จะมีประสบการณ์การเติบโตที่ราบรื่น แต่ก็ยังยากสำหรับฉันที่จะบอกสถานะตัวตนของตนเอง
เธอนึกถึงคำพูดที่แม่คอยเตือนเธออยู่เสมอ “อย่าบอกคนอื่นนะว่าเธอเป็นคนเวียดนาม” แม้ว่าหลี่อวิ๋นฉีจะบอกแม่เสมอว่าไม่ต้องกังวล แต่แม่ยังคงคอยย้ำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่า “เมื่อลองย้อนกลับมาคิด ๆ ดูแล้ว ที่แม่มีความคิดแบบนี้ คงเป็นเพราะตอนที่แม่ย้ายมาอยู่ที่ไต้หวันเคยเจอกับเรื่องราวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก เลยหวังว่าฉันจะไม่เป็นเหมือนตัวเองแหละ”
หลี่อวิ๋นฉี (กลาง) ถ่ายภาพร่วมกับครอบครัวที่เวียดนาม ภาพ∕โดย หลี่เจี้ยงโหยว
◆ถ้าการเกิดของฉัน เป็นบาป
ทุกครั้งคืนก่อนที่ฉันจะจากบ้านคุณย่า แม่และสมาชิกในครอบครัวต่างไม่อยากให้จากกันไป และฉันเองก็เช่นเดียวกัน ร้องไห้กอดกันเป็นลูกบอลเลย อาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนธรรมดาที่จะจินตนาการถึงภาพนั้น แต่สำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ มันเป็นเรื่องทรมานและมันนานมากที่จะได้เจอหน้าครอบครัวทุก ๆ 3-5 ปี การกลับบ้านเกิดไม่ได้เป็นเพียงช่วงเวลาที่ฉันจะได้ผ่อนคลายและอยู่อย่างไร้กังวลเท่านั้น แต่แม่ของฉันเองก็ได้พักผ่อนอีกด้วย ทุกครั้งที่กลับเวียดนามแม่ของฉันยิ้มมีความสุขตลอดเวลา ตอนอยู่ที่ไต้หวันยากที่จะได้เห็นภาพเช่นนี้
“ข้ามน้ำข้ามทะเลมาอาศัยอยู่ที่ไต้หวัน ทำไมถึงไม่เคยได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขเลย” การเกิดของฉันอาจเป็นต้นตอของความชั่วร้ายทั้งหมดหรือไม่ เมื่ออายุมากขึ้น ฉันมักถามตัวเองว่า ฉันโชคดีที่มีแม่เป็นชาวเวียดนาม แต่ถ้าตัวตนของฉันมีพื้นฐานมาจากความเจ็บปวดของแม่ แล้วสถานะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ที่ฉันภาคภูมิใจ มันเป็นภาระที่ต้องปลอมตัวหรือไม่
◆ค้นพบตัวตนในความรัก
มีความรู้สึกที่ซับซ้อนมากมายที่เกี่ยวพันในตัวตนของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ที่ฉันยังหาคำตอบไม่ได้ แค่คิดในมุมกลับกัน ถ้าแม่ของฉันมอบตัวตนผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ให้กับฉัน มันก็เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตที่เปลี่ยนไม่ได้แล้ว บางทีสิ่งเดียวที่ฉันทำได้คือ การเป็นที่หลบภัยของแม่และเสาหลักสำคัญของแม่ในไต้หวัน
ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงตั้งใจเรียนภาษาเวียดนามตั้งแต่ฉันเข้ามหาวิทยาลัย โดยหวังว่าจะช่วยย่นระยะทางกับแม่และสมาชิกในครอบครัวชาวเวียดนาม และฉันยังรู้สึกว่าภาษาสามารถทำให้เราใกล้ชิดกันมากขึ้น สถานะตัวตนอาจจะยังสับสน แต่ฉันว่า ในการแสดงความรัก สำหรับฉันและแม่ รักไม่แบ่งสัญชาติ