:::

แก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน! ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. อนุญาตให้นำเข้า “แรงงานต่างชาติฟิลิปปินส์-อินโดฯ-เวียดนาม-ไทย”

กระทรวงแรงงานแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
กระทรวงแรงงานแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในประเทศ ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

ศูนย์บัญชาการควบคุมโรคไต้หวัน (CECC) ประกาศเมื่อวันที่ 7 ก.พ. ว่า เมื่อพิจารณาถึงความต้องการกำลังแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาคครัวเรือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2565 จะเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติระยะที่ 2 แต่ก่อนที่แรงงานต่างชาติจะเดินทางมาถึงไต้หวัน จะต้องฉีดวัคซีนให้แล้วเสร็จตั้งแต่อยู่ในประเทศของตนเอง หลังจากเดินทางมาถึงไต้หวันแล้วนายจ้างจะต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการกักตัวในโรงแรมกักกันและจัดให้แรงงานจัดการด้านสุขภาพด้วยตนเองอย่างเข้มงวด ตลอดจนปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน CECC จำแนก “4 อาการ” ที่พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโอมิครอน

นายจ้างต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ากักตัวในโรงแรมป้องกันการแพร่ระบาดและปฏิบัติตามหลักการ 14+7 วัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

นายจ้างต้องจัดให้แรงงานต่างชาติเข้ากักตัวในโรงแรมป้องกันการแพร่ระบาดและปฏิบัติตามหลักการ 14+7 วัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay

นายไช่เมิ่งเหลียง (蔡孟良) อธิบดีกรมพัฒนากำลังแรงงาน กระทรวงแรงงานไต้หวันชี้ว่า ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.เป็นต้นไปจะเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติระยะที่ 2 นายจ้างสามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์  ซึ่งแรงงานต่างชาติต้องฉีดวัคซีนให้ครบโดส จัดให้แรงงานต่างชาติเข้ากักตัวในโรงแรมกักกันโรคระบาด โดยอิงตามนโยบายกักตัว 14+7 คือ กักตัวครบ 14 วัน แล้วต้องสังเกตอาการด้วยตนเองต่ออีก 7 วันที่โรงแรมกักกันโรคเดิม ทั้งนี้ หลังจากที่แรงงานต่างชาติกักตัว 14 วันเสร็จแล้ว ในช่วงระยะเวลาสังเกตอาการด้วยตนเอง (กักตัวในวันที่ 15 เป็นต้นไป) นายจ้างจะต้องจ่ายเงินเดือนให้กับแรงงานต่างชาติตามที่ตกลงกันไว้ สำหรับแรงงานต่างชาติในภาคอุตสาหกรรม นายจ้างจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในระหว่างกักตัวของแรงงานต่างชาติทั้งหมด ส่วนแรงงานต่างชาติในภาคสวัสดิการสังคม กระทรวงแรงงานจะช่วยออกค่าใช้จ่ายในระหว่างกักตัวของแรงงานต่างชาติครึ่งหนึ่ง โดย 1 คนจะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 1250 เหรียญไต้หวัน/วัน ตลอดระยะเวลาการกักตัวทั้ง 21 วัน แรงงานต่างชาติจะได้รับเงินอุดหนุนสูงสุด 26,250 เหรียญไต้หวัน

อ่านข่าวเพิ่มเติม: มท.ไต้หวันรณรงค์ไม่นำหรือส่งผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของเนื้อสัตว์จากพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดมายังไต้หวัน

ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. อนุญาตให้นำเข้า “แรงงานต่างชาติฟิลิปปินส์-อินโดฯ-เวียดนาม-ไทย” ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน

ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. อนุญาตให้นำเข้า “แรงงานต่างชาติฟิลิปปินส์-อินโดฯ-เวียดนาม-ไทย” ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน

ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.เป็นต้นไปจะเปิดให้นำเข้าแรงงานต่างชาติระยะที่ 2 นายจ้างสามารถนำเข้าแรงงานต่างชาติจาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์  โดยมีรายละเอียดข้อบังคับดังต่อไปนี้

  1. ก่อนเข้าประเทศ แรงงานต่างชาติต้องฉีดวัคซีนครบโดส พร้อมอัปโหลดใบรัองการฉีดวัคซีนลงในเว็บไซต์ศูนย์ให้บริการแรงงานต่างชาติประจำท่าอากาศยานของกระทรวงแรงงานไต้หวัน เพื่อรับการตรวจสอบและอนุมัติจากเจ้าหน้าที่
  2. นายจ้างต้องดำเนินเรื่องส่งแรงงานต่างชาติไปกักตัวที่โรงแรมกักโรค พร้อมกับแจ้งเรื่องไปยังหน่วยงานท้องถิ่นที่โรงแรมกักกันโรคตั้งอยู่ก่อนนำเข้าแรงงานต่างชาติเข้ามาในไต้หวัน เพื่อสะดวกในการดูแลและตรวจสอบ หลังจากแรงงานต่างชาติกักตัวครบ 14 วัน ต้องสังเกตอาการด้วยตนเองต่ออีก 7 วันที่โรงแรมกักโรคเดิม หลังจากนั้นจึงจะสามารถเดินทางไปสถานที่ทำงานได้

3.ศูนย์บัญชาการฯ จะจัดเตียงกักกันแบบรวมศูนย์ หากมีเตียงว่างสำหรับการนำเข้าแรงงานต่างชาติ กระทรวงแรงงานจะเปิดให้นายจ้างยื่นคำขอลงทะเบียน โดยจะอิงตามลำดับวันที่แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าไต้หวัน

  1. เนื่องจากความต้องการของอุตสาหกรรม หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากศูนย์บัญชาการฯ แล้ว เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะต้องวางแผนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในหอพักสำหรับแรงงานต่างชาติ และประสานงานความรับผิดชอบในการจัดการหอพักป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

5.ก่อนเดินทางเข้าไต้หวันแรงงานต่างชาติควรทำการตรวจ PCR และแยกกักตัว 1 คน/ห้อง อีกทั้งซื้อประกันสุขภาพ หลังเดินทางเข้ามาถึงไต้หวันจะต้องทำการตรวจ PCR ทันที และหลังจากสิ้นสุดการกักกันต้องทำการตรวจ PCR อีกครั้ง ตลอดจนหลังจากสังเกตอาการด้วยตนเองสิ้นสุดลงจะต้องทำการตรวจ ATK อีกครั้ง

หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามดังข้างต้นที่กล่าวมาจะถูกลงโทษปรับตาม กฎหมายการจ้างงาน  หรืออาจถูกเพิกถอนใบอนุญาตการจ้างงานได้

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
回到頁首icon
Loading