เนื่องจากว่าประเทศไทยและจีนมีความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีต่อกัน ถือเป็นเมืองพี่เมืองน้องมาอย่างช้านาน ทำให้วัฒนธรรมประเพณีจีนเข้ามาอยู่ในสังคมไทย ผสมกลมกลืนจนคนไทยไม่รู้สึกว่าประเพณีจีนเป็นสิ่งแปลกในวิถีชีวิต แม้ไม่สามารถจะระบุได้ว่าวัฒนธรรมจีนมามีอิทธิพลในสังคมไทยตั้งแต่เมื่อใด แต่ในทางประวัติศาสตร์พอจะอนุมานได้ว่าธรรมเนียมประเพณีแบบจีนเป็นที่ยอมรับมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอย่างช้า
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดสที่ 3 สามารถยื่น “ขอลางานเนื่องจากฉีดวัคซีน” กับบริษัทได้
การอพยพของคนจีนโพ้นทะเลที่มาตั้งหลักแหล่งทำมาค้าขายอยู่ในประเทศไทยในสมัยนั้น จนถึงปัจจุบัน เราสามารถรวมตัวกันเป็นชุมชนจีนที่เรียกว่า China Town ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เช่น ย่านเยาวราชและสำเพ็งในกรุงเทพฯ รวมถึงในตัวเมืองจังหวัดใหญ่ เช่น นครสวรรค์ ขอนแก่น เชียงใหม่ หาดใหญ่ ภูเก็ต ก็มีย่านการค้าและที่อยู่อาศัยของชาวไทยเชื้อสายจีน
คนไทยเชื้อสายจีนยังคงดำรงรักษาวิถีการดำเนินชีวิตและการประกอบพิธีกรรมตามธรรมเนียมประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเทศกาลตรุษจีนที่เป็นเทศกาลหลักของคนจีน ร่วมกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลสารทจีน เทศกาลเช็งเม้ง หรือกระทั่งเทศกาลถือศีลกินเจ ซึ่งคนไทยในปัจจุบันคุ้นเคยกับเทศกาลเหล่านี้เป็นอย่างดี
อ่านข่าวเพิ่มเติม: หายกังวล! สตม.เดินหน้ามุ่งมั่นรักษาสิทธิประโยชน์ของบุตรหลานแรงงานต่างชาติหลบหนีต่อไป
เทศกาลตรุษจีนเป็นการฉลองวันขึ้นปีใหม่ตามธรรมเนียมจีน ซึ่งถือเป็นเทศกาลที่มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมจีน โดยเฉลิมฉลองด้วยหลักการพื้นฐานในเรื่องความกตัญญูกตเวที ความยึดถือในวงศ์สกุลและบรรพบุรุษของตระกูล ชาวจีนมีความเชื่อว่าถ้าปฏิบัติธรรมเนียมได้อย่างถูกต้องตามประเพณีจะเกิดความเจริญมั่งคั่ง ความสันติสุข และความไพบูลย์วงศ์ตระกูล ตลอดจนความรุ่งเรืองของกิจการการค้าต่างๆ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของสมาชิกในครอบครัว