:::

ไต้หวันและสหภาพยุโรปจัดการประชุมออนไลน์ "ปรึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน" เน้นการปกป้องสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

ไต้หวันและสหภาพยุโรปจัดการประชุมออนไลน์ "ปรึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน"/ภาพจาก EU Facebook
ไต้หวันและสหภาพยุโรปจัดการประชุมออนไลน์ "ปรึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชน"/ภาพจาก EU Facebook
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้แปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. กระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) แถลงว่า ไต้หวันและสหภาพยุโรป (European Union, EU) ได้ร่วมจัดการประชุมด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี ครั้งที่ 4 ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ โดยทาง EU มี Ms. Kristin De Peyron รองผู้อำนวยการสำนักงานด้านสิทธิมนุษยชนและกิจการพหุภาคีโลก กระทรวงการต่างประเทศสหภาพยุโรป (European External Action Service, EEAS) เข้าร่วมกล่าวปราศรัยในพิธีเปิดการประชุม ส่วนตัวแทนของไต้หวัน นำโดยนายหลัวปิ่งเฉิง รัฐมนตรีประจำสภาบริหาร สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างยินดีที่จะประสานความร่วมมือกันในด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ปกป้องสายตาของเด็กนักเรียน กระทรวงศึกษาธิการแนะนำให้ลดเวลาเรียนออนไลน์

ไต้หวันและสหภาพยุโรปปรับความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิ LGBTI/ภาพจาก "ห้วนรื่อเซี่ยน" (換日線)

ไต้หวันและสหภาพยุโรปปรับความเท่าเทียมทางเพศและสิทธิ LGBTI/ภาพจาก "ห้วนรื่อเซี่ยน" (換日線)

การประชุมด้านสิทธิมนุษยชนประจำปี ระหว่างไต้หวัน – EU นับเป็นแพลตฟอร์มที่ทั้งสองฝ่ายร่วมรับรู้และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงกฎหมาย นโยบาย ความคืบหน้าในการดำเนินงาน พร้อมทั้งร่วมแบ่งปันประสบการณ์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือในประเด็นสิทธิมนุษยชน โดยทั้ง EU และไต้หวันต่างยึดถือในคำมั่นว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองหลักการด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย พร้อมเห็นว่าสิทธิมนุษยชนควรเป็นปัจจัยสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 และการฟื้นฟูหลังยุคโควิด – 19 นอกจากนี้ EU ยังได้ร่วมแสดงความยินดีกับไต้หวันที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติขึ้นในวันที่ 1 สิงหาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา

ในด้านสิทธิมนุษยชนและองค์กรธุรกิจ EU ร่วมแสดงความยินดีกับไต้หวัน ที่รัฐบาลได้มีมติผ่าน “แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและองค์กรธุรกิจ” ในวันที่ 10 ธันวาคม ปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งไต้หวันนับเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่ได้มีมติผ่านแผนปฏิบัติการระดับชาติในด้านที่เกี่ยวข้อง โดยหลังจากนี้ ไต้หวัน – EU จะมุ่งมั่นประสานความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจเคารพในหลักสิทธิมนุษยชนให้มากขึ้น

ไต้หวัน – EU ยืนยันถึงฉันทามติที่มีร่วมกันในจุดยืนด้านความเสมอภาคทางเพศและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม LGBTI ซึ่งประกอบด้วยบุคคลรวม 5 ประเภท ดังนี้ Lesbian (หญิงรักหญิง) Gay (ชายรักชาย) Bisexual (คนรักสองเพศ) Transgender (คนข้ามเพศ) และ Intersex (เพศกำกวม) โดยทั้งสองฝ่ายต่างได้รวบรวมและตีแผ่ความคืบหน้าของนโยบายล่าสุดด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่ม LGBTI รวมถึงสิทธิมนุษยชนสตรี และความเสมอภาคทางเพศ

อ่านข่าวเพิ่มเติม:ส่งเสริมให้แรงงานต่างชาติเข้ารับการตรวจสอบ เพื่อร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรค

ไต้หวันให้คำมั่นว่าจะปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติในไต้หวัน /ภาพจาก "VISION THAI"

ไต้หวันให้คำมั่นว่าจะปกป้องสิทธิของแรงงานข้ามชาติในไต้หวัน /ภาพจาก "VISION THAI"

นอกจากนี้ ไต้หวัน – EU ยังได้ร่วมหารือกันในประเด็นสิทธิมนุษยชนในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งไต้หวันเน้นย้ำถึงการให้ความช่วยเหลือผู้สื่อข่าวต่างชาติในการเดินทางมาประจำการยังไต้หวัน และการจัดตั้งสำนักงานขององค์การนอกภาครัฐนานาชาติในไต้หวัน โดยในอนาคต ทั้งสองฝ่ายจะร่วมปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้นานาประเทศในภูมิภาค ร่วมรักษาสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตยด้วยสันติวิธี

การประชุมด้านสิทธิมนุษยชนประจำปีในครั้งนี้ บังเกิดผลสัมฤทธิ์ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังเป็นการยืนยันให้เห็นว่าไต้หวัน – EU ยึดมั่นในแนวคิดที่คล้ายคลึงกันในหลายด้าน อีกทั้งยังร่วมยึดมั่นในค่านิยมสากลว่าด้วยการเคารพสิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และหลักนิติธรรม โดยเฉพาะในประเด็นสิทธิมนุษยชนที่ได้ร่วมหารือระหว่างกันในการประชุมครั้งนี้

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading