[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] เพื่อคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในไต้หวัน หากแรงงานข้ามชาติได้ออกแรงทำงาน นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน ห้ามมิอาจหักหรือเลี่ยงไม่จ่ายค่าจ้าง หากฝ่าฝืนจะถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน มาตรา 57 วรรค 9 และมาตรา 67 วรรค 1 กำหนดว่าจะต้องปรับตั้งแต่ 60,000 ดอลลาร์ไต้หวัน แต่ไม่เกิน 300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โรงเรียนแรงงานข้ามชาติไทเปเปิดตัวอย่างเป็นทางการ "ความรู้เรื่องการคุมกำเนิด" จะรวมอยู่ในหลักสูตรเวชศาสตร์ครอบครัวด้วย!
หากแรงงานข้ามชาติ "โดนหักเงินเดือน" นายจ้างจะถูกปรับไม่เกิน 300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
เฉินซิ่นอวี๋ (陳信瑜) ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานเมืองไทเป กล่าวว่า ตาม “พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว” นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานข้ามชาติตามสัญญาจ้างงานและควรแนบเอกสารการจ่ายเงินเดือนที่พิมพ์เป็นภาษาจีน พร้อมใส่ชื่อแรงงานข้ามชาติที่เป็นภาษาประเทศบ้านเกิดของพวกเขาด้วย ในเอกสารควรมีรายละเอียดบันทึกค่าจ้างจริง รายการคำนวณค่าจ้าง ค่าจ้างรวม วิธีการจ่ายค่าจ้าง ฯลฯ นอกจากนี้ ตามระเบียบกระทรวงแรงงาน ระบุ หาก “แรงงานต่างด้าวที่ขาดการติดต่อ” ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ นายจ้างควรจ่ายค่าจ้างตามสัญญาจ้างงานเช่นเดิม อีกทั้งยังมิให้ “หักค่าจ้าง”หรือหักเป็นค่าเงินมัดจำ
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 ค่าแรงขั้นต่ำจะเพิ่มขึ้น 1,250 "แรงงานข้ามชาติได้รับประโยชน์สูงสุด" จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนี้
สำนักงานแรงงานเมืองไทเปเตือนนายจ้างว่า หากจ้างแรงงานข้ามชาติที่ขาดการติดต่อ นายจ้างยังคงจ่ายค่าจ้างตามเดิม ที่ ภาพจาก/รัฐบาลเมืองไทเป
สำนักงานแรงงานเมืองไทเป เรียกร้องให้ ค่าจ้างเป็นค่าตอบแทนที่แรงงานควรจะได้รับ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติ ห้ามมิให้หักค่าจ้างของแรงงานข้ามชาติไว้เป็นเงินค่ามัดจำหรือหักไว้เป็นเงินชดเชยจากการทำงานผิดผลาด หากฝ่าฝืนจะถือว่ากระทำผิดพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน มาตรา 57 วรรค 9 และมาตรา 67 วรรค 1 กำหนดว่าจะต้องปรับตั้งแต่ 60,000 ดอลลาร์ไต้หวัน แต่ไม่เกิน 300,000 ดอลลาร์ไต้หวัน หากพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ไม่เหมาะสมของแรงงานข้ามชาติก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกาย บุคลิกภาพ ทรัพย์สิน และสิทธิอื่นๆ ของนายจ้างหรือผู้ดูแล นายจ้างควรยื่นฟ้องผ่านช่องทางทางกฎหมาย ห้ามมิให้หักเงินจากเงินเดือนของแรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตเด็ดขาด มิฉะนั้นนายจ้างจะถูกปรับหนัก