[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] เมื่อเร็ว ๆ นี้ กระทรวงแรงงานได้ประกาศเกี่ยวกับ “ข้อควรระวังสำหรับบริษัทที่จัดให้แรงงานทำงานกะ (กลางคืน)” (ต่อไปนี้จะเรียกว่า “ข้อควรระวัง”) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ถ้านายจ้างให้แรงงานทำงานกะ (กลางคืน) จะนับเป็น “ชั่วโมงทำโอที” และชั่วโมงที่เกินมาจากชั่วโมงของการทำงานปกติจะต้องมีค่าโอที หรือค่าทำงานล่วงเวลาด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม: โรคระบาดเริ่มชะลอตัว ท่องเที่ยวได้อย่างสบายใจ ฤดูดอกซากุระบานของอุทยานฟาร์มอู่หลิง กลายเป็นตัวเลือกแรกของใครหลายคน
กระทรวงแรงงานกำหนดว่า หากแรงงานทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าโอที ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิแรงงาน กระทรวงแรงงานจึงได้มีการแก้ไขข้อควรระวังใหม่ในวันที่ 11 มีนาคม 2562 โดยเพิ่มค่าเบี้ยเลี้ยงการทำงานกะ (กลางคืน) ซึ่งไม่ควรต่ำกว่าเงินเดือนพื้นฐานหารด้วย 240 แล้วคูณด้วยจำนวนชั่วโมงการทำงานกะ (กลางคืน) นอกจากนี้ ได้มีการแก้ไขต้นฉบับเดิมที่กำหนด “ไม่อนุญาตให้แรงงานผู้หญิงทำงานกะกลางคืน” เพื่อส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมทางเพศในด้านการทำงาน ปัจจุบันได้อนุญาตให้แรงงานผู้หญิงทำงานกะกลางคืนได้แล้ว แต่นายจ้างควรจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยและสุขาภิบาลที่จำเป็นให้แก่แรงงานด้วย อย่างไรก็ตาม หากแรงงานอยู่ในระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรยังคงห้ามทำงานกะกลางคืน
อ่านข่าวเพิ่มเติม: กระทรวงแรงงานประกาศ 5 มาตรการ “อนุญาตให้แรงงานข้ามชาติเดินทางเข้าประเทศ” เตือนนายจ้างให้ช่วยแรงงานทำ “ประกันสุขภาพ”
หากนายจ้างโทรศัพท์หานอกเหนือจากเวลาทำงานปกตินับว่าเป็นการ “ทำงานล่วงเวลา” ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
กระทรวงแรงงานเตือนว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2565 การทำงานกะ (กลางคืน) จะอยู่ในข้อกำหนดของ “กฎหมายมาตรฐานแรงงาน” เกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน นอกเหนือจากชั่วโมงทำงานปกติ หากแรงงานทำงานล่วงเวลา หรือมีการทำโอที บริษัทจะต้องมีการจ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลาหรือค่าโอที อีกทั้งควรมีการจัดแผนกำลังคนไว้ก่อนล่วงหน้า นอกจากนี้ หากแรงงานทำงานเกิน 8 ชั่วโมง สำหรับชั่วโมงที่เกินมาจะต้องคำนวณเป็นค่าโอที ตามกฎหมายมาตรฐานแรงงาน แรงงานจะไม่ทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกิน 11 ชั่วโมง และใน 1 สัปดาห์จะต้องมีวันหยุด 1 วัน หากนายจ้างฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับไม่ปฏิบัติตามจะถูกปรับ 20,000 ถึง 1 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน