ผลสำรวจของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme, UNDP) แสดงให้เห็นว่า ดัชนีความไม่เสมอภาคทางเพศ (Gender Inequality Index, GII) ปี 2021 ของไต้หวัน อยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก ซึ่งถือเป็นอันดับที่สูงที่สุดในภูมิภาคเอเชีย แซงหน้าประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
อ่านข่าวเพิ่มเติม : สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองไถตง จัดหลักสูตรคู่สมรส กระชับความสัมพันธ์ของคู่สมรสผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่
ความเสมอภาคทางเพศไต้หวันติดอันดับ 7 ของโลก ครองอันดับ 1 ในเอเชีย ภาพ/จากกระทรวงเศรษฐกิจ
กระทรวงเศรษฐกิจชี้ให้เห็นว่า ดัชนีความไม่เท่าเทียมกันทางเพศ (GII) โดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งดำเนินการสำรวจโดยพิจารณาจาก 5 ดัชนีย่อย ในเกณฑ์การประเมินทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ การเสริมสร้างศักยภาพ และตลาดแรงงาน (คะแนน GII ยิ่งเข้าใกล้ 0 มากเท่าใด ยิ่งหมายความว่ามีความเสมอภาคทางเพศมากเท่านั้น) ผลสำรวจปรากฏว่า ไต้หวันอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก โดยมีคะแนน GII อยู่ที่ 0.036 แซงสิงคโปร์ (8) เกาหลีใต้ (16) ญี่ปุ่น (23) และสหรัฐอเมริกา (45) สำหรับประเทศที่มีความเสมอภาคทางเพศมากที่สุด ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ตามลำดับ
กระทรวงเศรษฐกิจยังระบุอีกว่า ในปี 2021 สัดส่วนเจ้าของธุรกิจที่เป็นผู้หญิงของไต้หวันอยู่ที่ร้อยละ 37 ซึ่งสูงกว่าเกาหลีใต้ที่อยู่ที่ร้อยละ 36.8
โดยผู้ประกอบการรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นผู้หญิง มีสัดส่วนร้อยละ 37.2 สูงกว่าผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 17.4 และแซงหน้าญี่ปุ่นที่ร้อยละ 17.4
อัตราส่วนการจ้างงานระหว่างเพศชายและหญิงของประเทศในแทบเอเชีย มีการยกระดับขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างเช่นที่ไต้หวัน ผู้หญิงไต้หวันมีเจตจำนงเข้าร่วมในสายงานต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เป็นผลจากการได้รับการศึกษาที่สูงขึ้น และโครงสร้างอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป โดยในปี 2565 อัตราส่วนในการจ้างพนักงานเพศหญิงอยู่ที่ร้อยละ 44.7 น้อยกว่าพนักงานเพศชายเพียง 10.6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น