:::

ในฐานะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ฉันก็เหมือนกับทุกคน – บนเส้นทางสู่ตัวตนที่แท้จริงของฉันไม่ได้เดินคนเดียว

Jessica Chuang (ขวา 1) ถ่ายภาพกับครอบครัว (ภาพ/จาก Jessica Chuang)
Jessica Chuang (ขวา 1) ถ่ายภาพกับครอบครัว (ภาพ/จาก Jessica Chuang)
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ร่วมมือกับ [Listener 聽你說] เปิดตัวเรื่องราวเกี่ยวกับตัวตนหรือครอบครัวที่เขียนโดยผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 อาศัยการพิจารณาตกตะกอนตนเองของพวกเขา ทำให้บทสนทนาระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างมีความลึกซึ้งและครอบคลุมมากขึ้น【Listener 聽你說】เป็นแพลตฟอร์มองค์กรพัฒนาเอกชน NGO ที่คอยให้คำปรึกษาด้านกฎหมายและสาธารณสุขสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่และผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2

บทความนี้ “ในฐานะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ฉันก็เหมือนกับทุกคน – บนเส้นทางสู่ตัวตนที่แท้จริงของฉันไม่ได้เดินคนเดียว” เขียนโดยผู้เขียน Jessica Chuang หรือ จวงอวี้หลง (莊寓羢) และ [เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ได้นำเนื้อหาของบทความนี้มาแปลเป็น 5 ภาษา ได้แก่ จีน อังกฤษ เวียดนาม ไทย และอินโดฯ

ในฐานะผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 ฉันก็เหมือนกับทุกคน – บนเส้นทางสู่ตัวตนที่แท้จริงของฉันไม่ได้เดินคนเดียว

ผู้เขียนบทความนี้ : Jessica Chuang หรือ จวงอวี้หลง (莊寓羢)

|ครั้งหนึ่งฉันเคยไม่กล้าที่จะบอกว่าตัวเองเป็นบุตรของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่

ในวัยเด็ก ฉันไม่กล้าที่จะบอกว่าตัวเองเป็นลูกครึ่ง เพราะกลัวโดนคนอื่นมองด้วยสายตาแปลก ๆ ฉันยังจำได้ ตอนที่ฉันเรียนอยู่ม.ต้น เพื่อนของฉันมักเรียกพี่น้องแรงงานต่างชาติว่า “阿勞” อ่านว่า ‘อาหลาว’ โดยเฉพาะผู้ที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และฉันยังมักจะได้ยินเพื่อน ๆ พูดถึงพี่น้องผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ต่าง ๆ นานาว่า กลิ่นน้ำหอมแรง พูดเสียงดัง ผิวคล้ำ ฯลฯ บางครั้งเวลาฉันไปเที่ยวกับเพื่อนชาวฟิลิปปินส์ของแม่ คนอื่นมักมอง เพราะพวกเราไม่ได้พูดภาษาเดียวกันกับคนอื่นเขา หรือเพราะหน้าตาไม่เหมือนชาวไต้หวัน ถึงแม้ผู้คนจะไม่ได้มองด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตร แต่ฉันยังคงรู้สึกไม่เป็นตัวของตัวเองเหมือนเดิม 

ฉันยังพบว่าหลายคนรวมทั้งตัวฉันเอง ค่อนข้างชอบและสนับสนุนในวัฒนธรรมของชาวยุโรปและอเมริกามาก เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว รู้สึกเหมือนพวกเขาเหนือกว่า ในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ ฉันอดไม่ได้ที่จะเกิดความลังเลว่า ฉันควรปิดบังสถานนะที่เป็นลูกครึ่งของตนเองหรือไม่ เพราะไม่อยากให้ตนเองเป็นจุกโฟกัสของคนอื่น

 

Jessica Chuang (กลาง) พาญาติชาวฟิลิปปินส์ไปเที่ยวต้านสุ่ย (ภาพ/จาก Jessica Chuang)

|กลับไปที่ HOMETOWN เรื่องราวที่เราไม่เคยรู้

นึกย้อนไปถึงครั้งล่าสุดที่ฉันกลับไปฟิลิปปินส์เมื่อ 6 ปีที่แล้ว หลังเรียนจบชั้นมัธยมต้น ได้เดินทางกลับไปประเทศบ้านเกิดกับแม่ เมื่อฉันเห็นญาติ ๆ ที่นั่น ฉันรู้สึกว่าตัวเองเป็นมนุษย์ต่างด้าว ไม่เข้าใจภาษาหรือวัฒนธรรมของพวกเขา ดูเหมือนฉันจะไม่เข้าพวก

หลังกลับจากฟิลิปปินส์ ฉันพบว่าคนที่นั่นค่อนข้างมองโลกในแง่ดี รู้สึกพอใจในสิ่งที่ตนมีได้ง่ายมาก ซึ่งแตกต่างจาก “ภาพจำที่คิดว่าพวกเขาเป็นคนน่ากลัว” ที่ทุกคนคิดกัน สิ่งที่ทำให้ฉันประทับใจที่สุดคือ ก่อนที่แม่จะกลับฟิลิปปินส์ เธอได้ส่งของใช้ประจำวันกล่องใหญ่ไปให้คนที่นั่น ในตอนเช้าเมื่อพัสดุถูกจัดส่งไปถึงมือญาติ ๆ ทุกคนมารวมตัวกันแกะกล่องของขวัญชิ้นใหญ่นั้นแบ่งกันอย่างมีความสุข แม้แต่เสื้อยืดที่ฉันคิดว่ามันธรรมดามาก ๆ แต่มันสามารถทำให้พวกเขายิ้มได้อย่างแฮปปี้

 

Jessica Chuang (ซ้าย 1) เมื่อญาติและเพื่อนชาวฟิลิปปินส์ของเธอกำลังจะเดินทางกลับไต้หวัน เธอตื่นแต่เช้าไปรอรับที่สนามบิน (ภาพ/จาก Jessica Chuang)

|ตัวตน

ทุกครั้งที่มีคนถามว่า “เธอพูดภาษาฟิลิปปินส์ได้ไหม” ฉันมักจะส่ายหน้าด้วยความรู้สึกผิด เพราะไม่ค่อยรู้อะไรเกี่ยวกับวัฒนธรรมของฟิลิปปินส์เลย รู้เพียงเรื่องที่แม่ทำในชีวิตประจำวันเท่านั้น แม้ว่าจะเคยพยายามเรียน tagalog (เป็นภาษากลางและภาษาทางการของประเทศฟิลิปปินส์) อยู่หลายครั้ง แต่ก็หยุดกลางคันทุกครั้ง ย้อนนึกดูแล้วมันก็น่าเสียดายอยู่เหมือนกัน

ฉะนั้น ฉันคอยบอกตัวเองอยุ่เสมอว่า “การที่ได้เกิดเป็นลูกครึ่งนั้นมันช่างพิเศษมาก ๆ น่าจะมีความมั่นใจมากว่านี้สิ” ด้วยความที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ได้รู้จักคนที่มีสถานะเป็นบุตรธิดาผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่รุ่นที่ 2 เหมือนกันกับฉันตั้งหลายคน จึงได้ค่อย ๆ สร้างความเป็นตัวตนขึ้น

|ใช้ประโยชน์จากความโดดเด่นที่คุณมี

หลังจากเข้าศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ได้เรียนรู้ในหลาย ๆ หลักสูตร และทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ทำให้ฉันตระหนักถึงความโดดเด่นที่ตนเองมีมากขึ้น และฉันยังรู้อีกว่า หลายคนอาศัยบทความตามนิตยสารหรือตามข่าวต่าง ๆ รู้จักกับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ แต่ช่องทางและข้อมูลเหล่านี้เป็นเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น บางทีอาจสร้างทัศนคติเชิงลบด้วยซ้ำ ดังนั้นฉันหวังว่าด้วยการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ เริ่มจากเพื่อน ๆ รอบตัวฉันจะสามารถสร้างความสนใจกับประเด็นปัญหาของผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่ได้มากขึ้น

ช่วงนี้ฉันก็กำลังเร่งศึกษาภาษา Tagalog อย่างแข็งขัน อีกทั้งต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมและอาหารฟิลิปปินส์เพิ่มเติมอีกด้วย หลังจากเรียนภาษาฟิลิปปินส์ ฉันได้ลองใช้คุยกับแม่ แม่รู้สึกแปลกใจเป็นอย่างมากที่ฉันคิดที่จะเริ่มเรียนภาษาฟิลิปปินส์ ดังนั้นเธอจึงเริ่มที่จะแบ่งปันวัฒนธรรมที่แตกต่างกับฉันมากขึ้น หลังจากที่ได้เริ่มลงมือทำและทำสิ่งนี้อย่างต่อเนื่อง นอกจากความสามารถด้านภาษาต่างประเทศของฉันจะพัฒนาแล้ว ฉันยังเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างฉันกับแม่มากขึ้นด้วย

ผู้แต่ง : Jessica Chuang

ปีเกิด : 2002

การศึกษา : มหาวิทยาลัยจงเจิ้ง (National Chung Cheng University) สาขาวิชาการเงิน (ปี 3)

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

:::
ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading