[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] เมื่อช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานายไล่ชิงเต๋อ รองประธานาธิบดี สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เดินทางไปเข้าร่วม “พิธีเปิดการประชุมด้านการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2021 (4th Global Corporate Sustainability Forum) และพิธีมอบรางวัล GCSA และ TCSA” พร้อมนี้ รองปธน.ไล่ฯ ยังได้ให้การยกย่องเหล่าผู้ประกอบการที่ร่วมสร้างคุณประโยชน์ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน พร้อมคาดหวังที่จะเห็นทุกคนร่วมมือกัน ในการส่งเสริมให้ไต้หวันก้าวสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอย่างราบรื่น เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ขยายเวลามาตรการป้องกันโรคระดับ 2 ออกไปถึงวันที่ 29 พ.ย. ดูที่เดียวจบ
รองปธน.ไล่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า ประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “ก้าวสู่อนาคตแห่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” โดยในระหว่างการประชุม ยังได้มีการจัดพิธีประกาศมอบ 2 รางวัลพิเศษควบคู่ไปด้วย ได้แก่ “รางวัลการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจทั่วโลก” (GCSA) และ “รางวัลการพัฒนาอย่างยั่งยืนของธุรกิจไต้หวัน” (TCSA) เพื่อยกย่องผู้ประกอบการที่นอกจากจะเน้นการทำกำไรต่อหุ้น (Earnings Per Share: EPS) แล้ว ยังคำนึงถึงการใช้แนวคิดการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน (Environmental, Social, Governance: ESG) เพื่อคืนกำไรให้แก่สังคม และดำเนินการตามแนวคิดหลักบรรษัทภิบาลด้วย จึงหวังว่าภาครัฐบาล ภาคธุรกิจและภาควิชาการ ประสานความร่วมมือกันในการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2050 ต่อไป
รองปธน.ไล่ฯ กล่าวขณะปราศรัยว่า ประเด็นหลักของการประชุมในครั้งนี้คือ “ก้าวสู่อนาคตแห่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” ภาพจาก/ทำเนียบประธานาธิบดี
หลายวันมานี้ การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (UNFCCC COP 26)ได้ปิดฉากลงแล้ว หลังจากที่จัดขึ้นเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ในระหว่างการประชุม นอกจากจะมีการระบุถึงการลดการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแล้ว ยังได้มีการเรียกร้องให้นานาประเทศเสริมสร้างแผนปฏิบัติการเพื่อมุ่งสู่ “เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2030” ภายในปลายปี 2022
ตามรายงานการประเมินความเสี่ยงทั่วโลกประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum, WEF) ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับแรกติดต่อกันหลายปี จึงจะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วโลก
อ่านข่าวเพิ่มเติม: ข่าวดี! แรงงานต่างชาติเดินทางเข้าประเทศได้แล้ว อนุญาตให้แรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซียเข้าก่อน
รองปธน.ไล่ฯ กล่าวว่า เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2050 ทั่วโลกต้องร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียว ซึ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีไช่อิงเหวิน เข้ารับตำแหน่งผู้นำสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในปี 2016 เป็นต้นมา รัฐบาลไต้หวันได้เร่งผลักดันการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศ ตามหลักการพัฒนาพลังงานสีเขียว เพิ่มโอโซน ลดเชื้อเพลิงถ่านหิน และปลอดนิวเคลียร์
ในตอนท้าย ได้มีการชี้แจงถึงกำหนดการที่ไต้หวันจะจัดให้มีการออกเสียงประชามติในประเด็น Taoyuan Algae Reefs รองปธน.ไล่ฯ กล่าวว่า การจัดให้มีการเสียงประชามติในประเด็นนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะคุ้มครองพืชสาหร่ายที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ แต่ในความเป็นจริงคือการระงับไม่ให้ดำเนินการจัดตั้งสถานีกักเก็บและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ (LNG) แห่งที่ 3 ในเขตต้าถัน นครเถาหยวน ทั้งนี้ทั้งนั้น วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานีกักเก็บ LNG ก็เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าของครัวเรือนในพื้นที่ทางภาคเหนือ ตลอดจนบรรเทาความไม่สะดวกในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากพื้นที่ภาคกลางและใต้ขึ้นสู่พื้นที่ทางภาคเหนือ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหามลภาวะทางอากาศในพื้นที่ทางภาคกลางอีกด้วย