:::

รัฐบาลไต้หวันปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไต้หวัน คุณหงเซินฮั่น ส.ส. จากพรรคดีพีพี เป็นตัวแทนช่วยแรงงานต่างชาติส่งเสียง

รัฐบาลไต้หวันปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไต้หวัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
รัฐบาลไต้หวันปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในไต้หวัน ภาพจาก/คลังภาพ Pixabay
เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่】ผู้เรียบเรียงและแปล/นงค์รักษ์ เหล่ากอคำ (李慧毓)

[เว็บไซต์ข่าวรอบโลกสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐานใหม่] ตามรายงานข่าวของ “4-Way Voice” ตั้งแต่ไต้หวันเริ่มนำเข้าแรงงานต่างชาติในปี ค.ศ. 1989 ปัจจุบันไต้หวันมีแรงงานมากกว่า 7 แสนคนที่ทำงานในระบบดูแลระยะยาวและภาคการผลิต แต่ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สิทธิมากมายของแรงงานต่างชาติยังคงไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายไต้หวัน ประกอบกับอุปสรรคด้านภาษาและความแตกต่างทางวัฒนธรรม ทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะถูกบริษัทจัดหางานไร้จรรยาบรรณหลอก ถูกเอารัดเอาเปรียบ กลายเป็นกลุ่มเปราะบางในสังคม คุณหงเซินฮั่น (洪申翰) ส.ส. จากพรรคดีพีพี เขาได้แสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับมุมมองและทิศทางของนโยบายแรงงานต่างชาติ รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจาก “ค่าซื้อตำแหน่งงาน” และวิธีแก้ปัญหา

หงเซินฮั่นมีโอกาสสัมผัสกับปัญหาสิทธิมนุษยชนและแรงงานต่างชาติเมื่อตอนที่เขายังเป็นนักศึกษา ในตอนนั้น เขามีความสนใจสิทธิของแรงงานต่างชาติเป็นอย่างมาก ด้วยประสบการณ์ในวัยเด็กของเขา ที่บ้านมีผู้อนุบาลต่างชาติ ทำให้เขาเข้าใจถึงความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นระหว่างแรงงานต่างชาติและนายจ้างได้ง่ายขึ้น เขากล่าวว่า แรงงานต่างชาติเสียเปรียบในนโยบายแรงงานโดยรวมของไต้หวัน ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากกว่าแรงงานไต้หวัน ประกอบกับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและระบบ ทำให้เป็นเรื่องที่ยากมากต่อการที่พวกเขาจะเรียกร้องสิทธิของตนเอง  ภายใต้บริบทนี้ หลังจากที่หงเซินฮั่นได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของพรรคดีพีพี จึงมีความมุ่งมั่นในการช่วยแก้ปัญหาแรงงานต่างชาติ หวังว่าจะสามารถใช้สถานะ ส.ส. เป็นตัวแทนช่วยแรงงานต่างชาติส่งเสียง เติมเต็มข้อบกพร่องที่มีมายาวนานของนโยบายแรงงานต่างชาติไต้หวัน

หงเซินฮั่น(洪申翰) ส.ส. จากพรรคดีพีพี ผู้ซึ่งคลุกคลีประเด็นสิทธิมนุษยชนและแรงงานมาเป็นเวลานาน มีความกังวลต่อสถานการณ์ของแรงงานต่างชาติในไต้หวัน (ภาพจาก/ ผู้สื่อข่าวเฉินหย่งเฉียง)

หงเซินฮั่น(洪申翰) ส.ส. จากพรรคดีพีพี ผู้ซึ่งคลุกคลีประเด็นสิทธิมนุษยชนและแรงงานมาเป็นเวลานาน มีความกังวลต่อสถานการณ์ของแรงงานต่างชาติในไต้หวัน (ภาพจาก/ ผู้สื่อข่าวเฉินหย่งเฉียง)

อ่านข่าวเพิ่มเติม: ศูนย์บริการสังคม Rerum Novarum Center ที่ให้บริการดูแลลูกเรือประมงต่างชาติ จัดทำโครงการ “ส่งความอบอุ่น ส่งเสื้อผ้ากันหนาวร่วมห่วงใยลูกเรือประมง ปี 2021”

หงเซินฮั่นกล่าวว่า ช่วงนี้ปัญหาแรงงานต่างชาติได้รับความสนใจในสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ  ประเด็นล่าสุดที่ได้รับความสนใจจากทุกฝ่าย ตั้งแต่นายจ้าง แรงงานต่างชาติ ไปจนถึงบริษัทจัดหางาน ก็คือ “ค่าซื้อตำแหน่งงาน”  เขาเชื่อว่าคงมีคนจำนวนไม่น้อยในสังคมไต้หวันที่เคยมีประสบการณ์โดยตรงกับค่าซื้อตำแหน่งงาน ในใจคงมีความคับอกคับใจและความไม่พอใจต่างๆมากมาย

ตามระเบียบกระทรวงแรงงาน เมื่อแรงงานต่างชาติต่อสัญญาหลังจากครบสัญญาจ้างหรือเปลี่ยนย้ายงานใหม่หลังจากครบสัญญา หากมอบหมายให้บริษัทจัดหาการช่วยดำเนินการที่เกี่ยวข้อง บริษัทจัดหางานจะเรียกเก็บค่าบริการจากแรงงานต่างชาติ ค่าบริการห้ามเกิน 1500 เหรียญต่อเดือน แต่ทั้งนี้ กลับมีบริษัทจัดหางานเรียกเก็บค่าซื้อตำแหน่งงาน อย่างไรก็ตาม การเรียกเก็บค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่เพียงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ยังก่อให้เกิดปัญหาเอารัดเอาเปรียบอีกด้วย วิกฤตโควิดขาดแคลนแรงงาน ยิ่งทำให้ค่าซื้อตำแหน่งงานแพงขึ้น นายจ้างและแรงงานต่างได้รับความเดือดร้อน

คุณหงเซินฮั่น (洪申翰) ส.ส. จากพรรคดีพีพี เป็นตัวแทนช่วยแรงงานต่างชาติส่งเสียง ภาพจาก/เฟสบุ๊ค หงเซินฮั่น (洪申翰)

คุณหงเซินฮั่น (洪申翰) ส.ส. จากพรรคดีพีพี เป็นตัวแทนช่วยแรงงานต่างชาติส่งเสียง ภาพจาก/เฟสบุ๊ค หงเซินฮั่น (洪申翰)

ผู้เดือดร้อนในช่วงแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างชาติ ต้องจ่ายเงินค่าซื้อตำแหน่งงานราคาแพงจึงจะสามารถมาทำงานในไต้หวัน แต่ในปัจจุบัน เมื่อโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนจากตลาดของผู้ซื้อเป็นตลาดของผู้ขาย นายจ้างในไต้หวันจำนวนมากต้องการผู้อนุบาลในครัวเรือน บริษัทจัดหางานไร้จรรยาบรรณจึงใช้โอกาสนี้เรียกเก็บ “ค่าซื้อตำแหน่งงาน” จึงจะให้นายจ้างมีโอกาสเลือกแรงงานต่างชาติ

ในทางกลับกัน บริษัทจัดหางานบางรายใช้วิธีอื่น อย่างเช่นเก็บเอกสารอนุญาตทำงาน เอกสารการเปลี่ยนงานของแรงงานต่างชาติไว้ แล้วขอให้นายจ้างคนต่อไปจ่ายค่าซื้อตำแหน่งงาน  จึงจะมอบเอกสารเหล่านั้นเพื่อให้สามารถว่าจ้างแรงงานต่างชาติได้อย่างราบรื่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม: “นโยบายการป้องกันการแพร่ระบาดสำหรับแรงงานข้ามชาติ” ปัจจุบันมีบริษัทประกันสุขภาพให้บริการ 6 บริษัททั่วประเทศ วงเงินสูงสุดถึง 500,000 เหรียญไต้หวัน

หงเซินฮั่นเน้นย้ำว่า การเรียกเก็บค่าซื้อตำแหน่งงานเป็นการกระทำที่ผิดหมาย บางครั้งยังส่งผลกระทบต่อของบริษัทจัดหางานที่ถูกกฎหมาย หากบริษัทจัดหางานที่นายจ้างคนเก่าใช้บริการ ไม่ส่งมอบเอกสารของแรงงานต่างชาติ บริษัทจัดหางานที่รับเรื่องก็ต้องจ่ายค่าตำแหน่งงานเช่นกัน จะมีวิธีแก้ปัญหาผิดปกติเช่นนี้อย่างไร

หากพบเจอเหตุการณ์ “เรียกเก็บค่าซื้อตำแหน่งงาน” โทรแจ้ง 1955 ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน

หากพบเจอเหตุการณ์ “เรียกเก็บค่าซื้อตำแหน่งงาน” โทรแจ้ง 1955 ภาพจาก/กระทรวงแรงงาน

หงเซินฮั่นชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของระบบไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการสอบสวนเพียงอย่างเดียว “วันนี้หากแรงงานต่างชาติหรือนายจ้างสามารถขอเอกสารแสดงสิทธิที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ หรืออาจใช้วิธียืนยันข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ แล้วเปิดให้ดาวน์โหลดเอกสาร ก็คงไม่มีปัญหาการถูกเก็บเอกสารเอาไว้ คงไม่มีปัญหาการเก็บเอกสารเหล่านั้นไว้แล้วมาเรียกเก็บค่าซื้อตำแหน่งงานจากนายจ้างหรือแรงงานต่างชาติ” เขากล่าวว่า ปัญหาไม่ได้อยู่ที่บางฝ่ายมีความโลภอยากได้ผลกำไรที่ได้มาแบบไม่ยุติธรรม แต่เป็นเป็นระบบที่สร้างโอกาศให้กลุ่มคนผิดกฎหมายเหล่านี้มีช่องทางเรียกเก็บเงิน เขาเรียกร้องให้ สวี่หมิงชุนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  จัดตั้งระบบออนไลน์หลายภาษาโดยเร็วที่สุด เพื่อให้แรงงานต่างชาติหรือนายจ้างสามารถขอเอกสารแสดงสิทธิได้โดยตรงและง่ายดายยิ่งขึ้น ลดโอกาสการเกิดสถานการณ์ดังกล่าว

หงเซินฮั่นให้คำมั่นสัญญาว่า จะติดตามกลไกของกระทรวงแรงงานอย่างรอบคอบ รวมถึงแพลตฟอร์มข้อมูลและการออกแบบระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าแรงงานต่างชาติและนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าซื้อตำแหน่งงานอีกต่อไป

อ่านข่าวเพิ่มเติม

มาเป็นคนแรกที่แสดงความคิดเห็น

ข่าวเด่นประเด็นร้อน

ข่าวล่าสุด 最新消息icon
回到頁首icon
Loading